วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 5-2



เทคนิคการเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข


เทคนิคการเลี้ยงลูกให้เติบโตเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขดังที่พ่อแม่หวังนั้น เริ่มแรกพ่อแม่จะต้องส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการขั้นพื้นฐานที่ดีเสียก่อน นั่นคือมีพัฒนาการดีทั้งด้านกาย ใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม(เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)

ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย


แน่นอนที่สุด สิ่งสำ คัญอย่างแรกที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ คือ สุขภาพที่ดีและความปลอดภัยของลูกลูกจะต้องได้รับประทานอาหารที่จำ เป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองดังที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะในช่วงแรกเริ่มของชีวิต ถ้าลูกได้กินนมแม่จะดีที่สุด เนื่องจากอาหารเป็นพลังงานของสมอง เพราะฉะนั้นควรรับประทานอาหารให้ถูกวิธี ให้ได้คุณค่าครบถ้วน และรับประทานให้หลากหลายชนิดทั้งอาหารประเภทแป้ง เนื้อสัตว ์ ไขมัน ผักและผลไม ้ อาหารประเภทถ่วั และธัญพชื ซงึ่ใหผ้ ลดตี อ่ สมองทั้งสิ้น โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งเนือ้ ปลา ไขมนั จากปลาจะดีที่สุดต่อจากนั้นลูกจะต้องปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ โดยให้ลูกได้รับการตรวจอย่างสมํ่าเสมอจากกุมารแพทย์ และได้รับวัคซีนครบตามกำ หนด ถ้าไม่สบายต้องพาไปพบแพทย์เพื่อทำ การรักษาโดยเร็ว

ที่สำคัญต้องดูแลลูกให้อยู่ในที่ที่ปลอดภัย ไม่เกิดอันตราย เช่น ตกเตียง ตกจากที่สูง หรือได้รับความกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ ฯลฯ นอกจากนี้ก็ต้องให้ลูกได้มีโอกาสออกกำ ลังกายสมํ่าเสมอด้วย จะมีผลให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายและสมองได้ดี การออกกำ ลังกายจะทำ ให้สมองได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ โดยทั่วไปแล้วสมองหนักแค่ร้อยละ 2 - 3 ของนํ้าหนักตัว แต่สมองใช้ออกซิเจนถึงร้อยละ 40 - 50 ของออกซิเจนที่เราหายใจเข้าไป และการออกกำ ลังกายยังช่วยคลายเครียดได้ด้วย

สมองที่จะตื่นตัวเต็มที่ในการที่จะมีความคิดสร้างสรรค์ ความจำ ดี ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วยเช่น การนอนหลับและพักผ่อนให้เพียงพอ ถ้าหากว่าไม่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ สมองก็จะพักผ่อนเองโดยอัตโนมัติ ทำ ให้ไม่มีสมาธิ หรืออาจจะเบลอ ความคิดไม่โลดแล่น ลดความสนใจในกิจกรรมตรงหน้า รวมทั้งเกิดความเครียดอาจถึงกับเสียสติก็ได้

ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และความฉลาด


อารมณ์ที่ดีและความฉลาดของลูกสามารถเกิดขึ้นได้จากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ตั้งแต่ในช่วง 3ปีแรกของชีวิตลูกหลังคลอด จากการโอบอุ้มของแม่ จากการมองสบตาขณะให้นมลูก ในช่วงเวลาเหล่านี้มีสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย สิ่งสำ คัญที่สุด พื้นฐานที่สุด คือ พ่อแม่จะต้องให้ความรัก พูดคุยกับลูก อ่านหนังสือให้ลูกฟัง ช่วงเวลา 3 ปีแรกนี้เราสามารถจะช่วยสร้างสมองที่ดีที่จะอยู่กับลูกไปตลอดชีวิต

จากการวิจัยพบว่า สมองของเด็กที่ถูกทอดทิ้งไม่ได้รับการเอาใจใส่ ซึ่งเป็นเด็กที่ไม่มีพัฒนาการทางอารมณ์ สมองส่วนที่ดูแลเกี่ยวกับอารมณ์จะไม่พัฒนา และมีขนาดเล็กกว่าปกติเพราะว่าเด็กกลุ่มนี้ไม่ได้รับการเลี้ยงดูที่อบอุ่น ไม่ได้รับความรัก ความเอาใจใส่ในระยะแรกของชีวิตจึงทำ ให้ไม่มีเครือข่ายเส้นใยสมองในส่วนที่จะทำ ให้เกิดพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดี

หรือเด็กเล็กๆ 2 - 3 ขวบที่ถูกทำ ร้าย เมื่อโตขึ้นก็มักเป็นคนที่ชอบทำ ร้ายคนอื่น ทำ ให้เพื่อนร้องไห้เสมอ เด็กกลุ่มนี้ซึ่งไม่ได้รับความสนใจจะเกิดความเครียดที่ยาวนานและเป็นคนโกรธง่ายโดยไม่มีสาเหตุ ผิดกับเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างอบอุ่น ได้รับการตอบสนองที่ถูกต้องเหมาะสม และมีความผูกพันใกล้ชิดกับพ่อแม่ จะมีความสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เป็นปัญหาได้ดีกว่าสามารถเข้ากับเด็กอื่นได้ดีกว่า และสามารถเรียนหนังสือได้ดีกว่าเด็กที่ไม่ได้รับความอบอุ่น

มีการวิจัยพบว่า เด็กวัย 3 เดือนที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างอบอุ่นสมํ่าเสมอ จะสร้างฮอร์โมนเครียดออกมาน้อย ถ้าเกิดอารมณ์โมโห โกรธ ก็จะหายโกรธเร็วกว่า แสดงว่าเด็กอายุเพียง 3 เดือนก็สามารถควบคุมความโกรธและความเครียดได้ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการเลี้ยงดู

นอกจากการเลี้ยงดูที่จะมีผลต่อพัฒนาการทางอารมณ์แล้ว การเล่นก็เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่สำ คัญมากอย่างหนึ่งซึ่งจะส่งเสริมความฉลาด พวกเราส่วนใหญ่คิดว่าการเรียน คือการที่เราได้รู้ข้อเท็จจริงหรือความจริง แต่ความจริงแล้วเด็กๆ เรียนผ่านการเล่น ถ้าหากว่าเราคอยเฝ้าดูเด็กเล็กๆ 2 - 3 คนเล่นกัน เราจะเห็นว่าเด็กได้เรียนรู้หลายๆ อย่างจากการเล่นนั้น

ต่อไปนี้เป็นแนวทางในการเลี้ยงดูลูกให้มีพัฒนาการทางอารมณ์และสติปัญญาที่ดี
1.ให้ความรักความอบอุ่นและการตอบสนองต่อความต้องการของลูกอย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น เมื่อลูกร้อง ต้องดูว่าหิวหรือเปียกหรือเจ็บไข้ไม่สบาย แล้วตอบสนองให้ถูกต้อง ไม่ใช่เวลาเด็กร้องแล้วเราเครียด ดุหรือตะโกนใส่ หรือจับเด็กแรงๆ ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2. ฝึกลูกให้รู้จักกิจวัตรประจำ วันที่สมํ่าเสมอ เช่น ตื่นเช้าต้องล้างหน้า อาบนํ้า แปรงฟัน แต่งตัว หรือดูแลให้กินให้นอนเป็นเวลา
3. มีเวลาพูดคุยกับลูกบ่อยๆ พยายามให้ลูกโต้ตอบ โดยถามคำ ถามที่สามารถจะตอบได้กว้างๆ เช่น "ละครสัตว์ที่ไปดูมาหนูชอบอะไรมากที่สุด" แทนที่จะถามว่า "ชอบละครสัตว์ไหม"
4. อ่านหนังสือและร้องเพลงให้ลูกฟัง จัดหาหนังสือให้ลูกแม้ว่าลูกยังไม่พร้อมจะอ่านก็ตามแต่เป็นการสร้างบรรยากาศให้ลูกคุ้นเคยกับการอ่านหนังสือ โดยพ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังบ้าง ชี้ให้ลูกดูภาพในหนังสือบ้าง
5. ส่งเสริมให้ลูกใฝ่รู้ ก่อนอื่นต้องให้โอกาสเด็กได้เรียนรู้ เสาะแสวงหาคำ ตอบต่างๆ ด้วยตัวเอง มีอิสรภาพในการเสาะแสวงหาความรู้ การเรียนรู้ด้วยตัวเองเป็นสิ่งสำ คัญมาก ทำ ให้เด็กมีโอกาสมีประสบการณ์ด้วยตัวเขาเอง ได้สัมผัส จับต้อง ลองทำ ทดลองสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง ให้โอกาสลูกได้เล่นซุกซนอย่างปลอดภัย
6. เลือกรายการโทรทัศน์ให้ลูกดูและไม่ให้ดูมากเกินไป
7. จะต้องฝึกลูกให้มีระเบียบวินัย มีขอบเขต ไม่ทำ ตามใจชอบไปเสียทุกอย่าง
8. ฝึกลูกให้มีทักษะในการแก้ปัญหา โดยการให้ลูกช่วยเหลือตัวเองบ้าง หรือได้ทำ อะไรด้วยตัวเองบ้าง เพราะถ้าหากพ่อแม่คอยแก้ปัญหาให้ลูกทุกอย่าง ก็เหมือนตัดโอกาสที่ลูกจะได้เรียนรู้ขั้นตอนการแก้ปัญหา เพราะฉะนั้นต้องให้โอกาสเด็กแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
9. ต้องจำ ไว้เสมอว่าเด็กทุกคนมีความเป็นตัวของตัวเองที่ไม่เหมือนกัน แต่ละคนมีความแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นเด็กจะมีความสนใจต่างกัน
10. คนเลี้ยงดูลูก จะต้องเป็นคนที่มีคุณภาพและเอาใจใส่เด็ก


ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น