วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 5



บทที่ 5 แนวทางการเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี คนเก่ง ที่มีความสุข

นอกเหนือจากการพัฒนาลูกในช่วงเวลาทองในระยะ 3 ปีแรกของชีวิตลูกแล้ว พ่อแม่จะต้องเข้าใจแนวทางการเลี้ยงดูลูกที่จะทำ ให้ลูกเติบโตเป็นคนดี คนเก่ง ที่มีความสุข สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 หรืออนาคตข้างหน้าได้ (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)

แล้วถ้าถามว่าลูกของเราในวันข้างหน้าควรจะเป็นอย่างไร ก็คงตอบได้ว่าเด็กในศตวรรษใหม่นี้ไม่ควรมีความสามารถเฉพาะความรู้ทางวิชาการเท่านั้น ลูกควรจะต้องมีความรู้ความสามารถในด้านอื่นๆ ด้วย รวมทั้งจะต้องมีคุณลักษณะที่ทำ ให้สามารถมีชีวิตอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีความสุข

ถ้าเรานึกย้อนไปสมัยเมื่อเราเรียนหนังสือไม่ว่าชั้นมัธยมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย จะเห็นได้ว่าเพื่อนบางคนที่เรียนเก่งมาก สอบได้ที่หนึ่งของรุ่น เป็นหนอนหนังสือ ไม่เอาเพื่อน ไม่ทำ กิจกรรมทางสังคมเลย คนคนนี้เมื่อจบออกมาแล้วจะไม่ประสบความสำ เร็จเท่าที่ควร เมื่อเทียบกับเพื่อนคนอื่นที่เรียนปานกลาง แต่เป็นคนที่มีบุคลิกอัธยาศัยดี มีเพื่อนมาก มีความรู้รอบตัวทั้งสังคมและสิ่งต่างๆนอกจากการเรียน ไม่ได้เรียนรู้เฉพาะวิชาการอย่างเดียว คนคนนั้นจะประสบความสำ เร็จมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ ข้าราชการ หรือนักธุรกิจ เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่คนที่มีอัธยาศัยดีจะประสบความสำเร็จ

อีคิว (EQ)


มีทฤษฎีค่อนข้างใหม่เป็นที่ตื่นเต้นมากในวงการการศึกษาและผู้ที่อยู่ในวงการการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเด็ก คือทฤษฎีของอีคิว (Emotional Intelligence หรือ Emotional Quotient - EQ) หรือความสามารถในการพัฒนาอารมณ์ ปัจจุบันเชื่อว่า ไอคิว เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำ ให้คนเราประสบความสำ เร็จ แต่ อีคิว เป็นปัจจัยสำ คัญที่ช่วยให้คนเราประสบความสำ เร็จ และถ้าจะให้ดีก็ต้องมีความสมดุลกันทั้งไอคิวและอีคิว

เรื่องของอารมณ์เป็นความรู้สึกที่ทุกคนจะต้องมี ซึ่งจะแสดงออกทางสีหน้าท่าทางให้เห็นว่ากำลังเศร้า ดีใจ เสียใจ โกรธ หรือตื่นเต้น โดยไม่ต้องพูด โดยทั่วๆ ไป อารมณ์มีหลายอย่าง อารมณ์โกรธ อารมณ์เศร้า ความกลัว ความสนุกสนาน ความรัก ความประหลาดใจ ความรู้สึกรังเกียจและความรู้สึกอาย อารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางร่างกายตอบสนองด้วย เช่น เวลาเราโกรธเลือดจะไหลไปที่มือ ร่างกายจะเกร็ง เวลาเราเศร้าร่างกายเหมือนกับไม่มีพลัง อ่อนล้า การเคลื่อนไหวของร่างกายจะช้าลง เวลากลัว เราจะตัวแข็ง ซึ่งเหมือนคำ พังเพยที่ว่ากลัวจนตัวแข็งนั่นเองเพราะเรากำ ลังเตรียมพร้อมที่จะวิ่งหนีหรือต่อสู้ หากเราสนุกสนาน ร่างกายก็จะผ่อนคลายเพราะไม่ต้องเตรียมตัวสู้หรือหนี เวลาคนที่อยู่ในอารมณ์รัก จะรู้สึกอ่อนโยน ผ่อนคลาย มีความสุข ถ้าเรารู้สึกรังเกียจ ไม่พอใจ เราก็จะแบะริมฝีปาก ทำ จมูกเชิด ถ้าเรารู้สึกอายก็จะหลบสายตา ไม่กล้าสู้หน้า

คนที่จะมีความสามารถในการพัฒนาทางอารมณ์ หรือ มีอีคิว ก็จะต้องมีการรู้เท่าทันในอารมณ์ต่างๆ เหล่านั้น การรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเองก็คือความสามารถในการรู้ตัว สามารถเข้าใจตัวเองว่ากำ ลังอยู่ในสภาวะอารมณ์อย่างไร รู้จักควบคุมอารมณ์ ควบคุมการแสดงออกให้แสดงออกอย่างพอเหมาะพอควร ไม่น่ารังเกียจ อย่างนี้เรียกว่าการรู้ตัว เช่น ถ้าโกรธก็ไม่แสดงอารมณ์ร้อนปึงปังใส่ผู้อื่น รู้จักข่มใจ ยับยั้งชั่งใจ รวมทั้งมีความเข้าใจความรู้สึกของคนอื่นด้วย เช่น รู้ว่าเขากำ ลังโกรธ ก็ไม่ไปเซ้าซี้กวนใจ การแสดงออกอย่างเหมาะสมทำ นองนี้ทำ ให้ไม่มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น

นอกจากนี้อีคิวยังรวมถึงคุณลักษณะอื่นๆ ที่จะทำ ให้คนเราประสบความสำ เร็จด้วย นอกจากการรู้ตัว เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นแล้ว ยังต้องมีความขยันหมั่นเพียร ไม่ล้มเลิกความตั้งใจง่ายๆไม่จับจด มีความกระตือรือร้นอยากจะทำ โน่นนี่ อยากประสบความสำ เร็จ แต่ก็ไม่ใช่เป็นคนที่ชอบแข่งขัน คือ รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ที่สำ คัญต้องมีระเบียบวินัยในตัวเอง รู้จักกำหนดขอบเขตให้ตัวเอง เป็นคนคล่อง มีทักษะหลายๆ อย่าง

คนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้จะเป็นที่ยอมรับในสังคม เมื่อไปทำ งานก็จะได้รับการยอมรับจากลูกน้อง หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน ทำ ให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ประสบความสำ เร็จ และมีความสุขในชีวิต เรามักพบว่าคนที่ไม่มีอีคิว มักจะมีปัญหากับคนอื่น มีปัญหาชีวิตครอบครัว เป็นผู้ปกครองพ่อแม่ที่ไม่มีคุณภาพ มีสุขภาพไม่ดี เป็นคนติดเหล้า ติดบุหรี่ โกรธคนอื่นหรือโทษคนอื่นตลอดเวลา เป็นคนไม่มีความสุขในชีวิต

เพราะฉะนั้นพ่อแม่ควรจะปลูกฝังลูกให้มี อีคิว เสียตั้งแต่เล็กๆ จึงจะเป็นผลดีที่สุด การปลูกฝังให้ลูกมีอีคิวนั้น สิ่งสำ คัญที่สุดจะต้องให้ลูกรู้จักอารมณ์ของตัวเอง พ่อแม่จะต้องยอมรับความรู้สึกของลูกก่อน ถ้าลูกโกรธก็อย่าพูดว่า "โกรธทำ ไม ไม่เห็นมีอะไรน่าโกรธ" แต่ต้องบอกว่า "มันน่าโกรธจริงๆ ด้วย แต่ทำ ไมลูกถึงโกรธล่ะ ใครทำ ให้ลูกโกรธ" ลูกก็จะกล้าเล่า หลังจากที่เรายอมรับและรับฟังความรู้สึกของลูก ลูกจึงจะค่อยๆ รู้จักจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง แต่หากเราไม่ยอมรับอารมณ์ของลูก ลูกก็จะไม่ยอมรับฟังเรา เราควรจะต้องมองในสิ่งที่ดีของลูก และชมให้ลูกรู้ว่าเขามีส่วนดีเพราะจะทำ ให้ลูกมีความเชื่อมั่นในตัวเอง ทำ ให้ลูกรู้ว่าตัวเขาเป็นที่รักและมีคุณค่า ลูกจะเกิดทัศนคติที่ดีต่อตัวเอง

จริงๆ แล้ว ถ้าพิจารณาลึกๆ จะพบว่า อีคิว ไม่ใช่เรื่องใหม่ ศาสนาพุทธเองก็สอนให้เราเป็นคนเอาใจเขามาใส่ใจเรา สุขุม ไม่ทำ ร้ายผู้อื่นทั้งกาย วาจา ใจ สอนให้มีจริยธรรม ประมาณตน ขยันหมั่นเพียร


ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น