วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 4-7


สิ่งที่ขัดขวางความฉลาดและการเรียนรู้ของเด็ก


หากสมองของลูกไม่ได้พิการมาแต่กำ เนิด หรือไม่ได้รับความกระทบกระเทือนจนสูญเสียความสามารถ ก็อาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำ ให้สมองลูกไม่อาจพัฒนาไปอย่างที่ควร ทำ ให้ด้อยความสามารถทางสติปัญญาและการเรียนรู้ ซึ่งหากพ่อแม่ได้ทราบสาเหตุก็จะได้แก้ไขหรือป้องกันได้ (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)

ความเครียดขัดขวางการเรียนรู้


ความเครียดและประสบการณ์ที่ไม่ดีเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างสมองและการเรียนรู้ ประสบการณ์ที่ไม่ดี การได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจในวัยเด็ก จะทำ ให้สมองเกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างไปในทางที่ไม่ดี

เด็กที่ได้รับประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ จะทำ ให้เด็กมีความหวาดกลัว เครียด สารเคมีที่ร่างกายปล่อยออกมาเมื่อกลัวหรือเครียดจะมีส่วนสำ คัญมากในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมอง และถ้าหากประสบการณ์นี้เกิดขึ้นซํ้าแล้วซํ้าเล่า ก็จะเปลี่ยนโครงสร้างของสมองไปโดยถาวร

ความกระทบกระเทือนนั้นจะทำ ให้เกิดการสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียดที่เรียกว่า คอร์ติโซล (Cortisol) จะทำ ลายสมองโดยเฉพาะสมองส่วนคอร์เท็กซ์หรือพื้นผิวสมอง ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับความคิด ความฉลาด กับสมองส่วนฮิปโปแคมปัสหรือสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความจำทำ ให้สมองส่วนนี้เล็กลงกว่าเด็กทั่วไปประมาณร้อยละ 20 - 30 และเมื่อผ่าสมองออกดู สมองนี้จะมีจุดเชื่อมต่อของเส้นใยสมองน้อยกว่าเด็กปกติที่ไม่ได้รับความกระทบกระเทือน

ความกระทบกระเทือนอาจเป็นแค่ความเครียดในจิตใจ ไม่จำ เป็นต้องเป็นความกระทบกระเทือนทางกายภาพ เช่น ถูกทุบศีรษะ ผู้ใหญ่ที่ตอนเด็กๆ ถูกทำ ร้ายบ่อยๆ ส่วนสมองที่เรียกว่าฮิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นสมองเกี่ยวกับความจำ ก็จะเล็กกว่าสมองผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ถูกทำ ร้ายตอนเป็นเด็ก เชื่อว่าเป็นผลมาจากพิษฮอร์โมนเครียดที่เรียกว่าคอร์ติโซลเช่นกัน

หากระดับฮอร์โมนเครียดหรือคอร์ติโซลสูงมากในช่วงของการเจริญเติบโตของสมอง คือช่วงที่ลูกอยู่ในวัยแรกเกิดถึง 3 ปี ก็จะไปเพิ่มการทำ งานของสมองส่วนที่ทำ หน้าที่เกี่ยวกับการตื่นตัวตลอดเวลา กับสมองที่เกี่ยวกับการระมัดระวังตัวตลอดเวลา ทำ ให้สมองเกิดการขยายเส้นใยสมองส่วนที่จะทำ ให้เป็นคนตื่นตัว ขี้กลัวอยู่ตลอดเวลา

สมองส่วนนี้จะถูกกระตุ้นหลังจากที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางร่างกายหรือจิตใจ และถ้าหากว่าเด็กฝันหรือคิดหรือได้รับความกระทบกระเทือนในเรื่องเดิมอีก อย่างเช่น ถ้าเด็กไปเห็นคนที่เคยทำ ร้ายเขามาก่อน ความเครียดแม้เพียงเล็กน้อยก็จะไปกระตุ้นสมองส่วนนี้ทันที ทำ ให้ฮอร์โมนเครียดเพิ่มระดับสูงขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคไฮเปอร์แอ็คทีฟ (Hyperactive)คือ เลิ่กลั่ก อยู่ไม่สุข เครียด และมีพฤติกรรมที่อดรนทนรออะไรไม่ได้

เด็กที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีความเครียดสูงจะมีปัญหาในการควบคุมสมาธิและการควบคุมตัวเอง การถูกทำ ร้ายไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ จะทำ ให้สารเคมีในสมองไปรบกวนเซลล์สมอง ทำ ให้เซลล์สมองบางตัวถูกกระตุ้น ในขณะที่เซลล์สมองบางตัวถูกยับยั้งการทำ งาน สารเคมีเหล่านี้เองเป็นสิ่งสำ คัญที่จะบอกว่าให้เซลล์สมองสร้างเส้นใยสมองไปในทิศทางใด ให้ไปเชื่อมต่อกับอะไร เด็กที่ได้รับความเครียดอยู่ตลอดเวลาหรือพบความเครียดที่ไม่สามารถจะคาดเดาได้ เช่น แฟนใหม่ของแม่อยู่ๆ ก็อารมณ์เสีย เสียงดัง ตบตีแม่ หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีลุงติดเหล้า ซึ่งวันหนึ่งอาจอารมณ์ดี อีกวันหนึ่งอารมณ์ร้าย เด็กจะขาดความสามารถที่จะเรียนรู้ ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะเด็กเกิดมาสมองเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้ แต่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ ความสามารถที่จะเรียนรู้ได้หายไปตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นสิ่งแวดล้อมจะต้องเอื้ออำ นวยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างสมบูรณ์ด้วย

อิทธิพลของโทรทัศน์


หากพ่อแม่ปล่อยให้ลูกได้ดูโทรทัศน์ หรือใช้โทรทัศน์เลี้ยงลูกเพราะสามารถสะกดลูกให้นั่งนิ่งๆ ได้นาน ลูกก็จะติดโทรทัศน์ได้อย่างรวดเร็ว แต่พ่อแม่อาจไม่ทราบว่าโทรทัศน์ได้ใส่อะไรในสมองของลูก และมีผลต่อการเรียนรู้ของลูกอย่างไรบ้าง

รายการโทรทัศน์มีอิทธิพลกับลูกมากโดยเฉพาะเด็กวัยประถม เนื่องจากเด็กวัยนี้ได้รับความกดดันจากเพื่อน เพื่อนมีอะไรก็ต้องมีบ้าง

ลักษณะการดูโทรทัศน์ของเด็กแต่ละวัยจะแตกต่างกัน โดยทั่วๆ ไปเด็กขวบปีแรกจะเดินผ่านมามองทีวีเพียงแวบเดียวแล้วผละออกไป จะใช้เวลาดูโทรทัศน์ไม่เกินร้อยละ 10 - 15 ของเวลาทั้งวันเพราะว่าเด็กเล็กๆ วัย 1 ขวบ จะไม่รู้ว่าภาพในโทรทัศน์คือสัญญาณภาพผ่านหลอดแก้ว จะไม่รู้ว่าภาพในโทรทัศน์ไม่ใช่ของจริง มีความรู้สึกว่าสิ่งต่างๆ ทั้งหลายในโทรทัศน์อาจจะหลุดออกมานอกโทรทัศน์ได้ อย่างเช่น สัตว์ประหลาดที่น่ากลัว เด็กจะเกิดความกลัวว่ามันอาจจะออกมาจากโทรทัศน์มาทำร้ายได้

เด็กที่ดูรายการโทรทัศน์ที่มีการต่อสู้ก้าวร้าวรุนแรง จะเป็นคนชอบต่อสู้ก้าวร้าวรุนแรง ในขณะที่เด็กที่ดูรายการโทรทัศน์ที่สร้างสรรค์จะเป็นคนสร้างสรรค์จะเล่นเกมแบบสร้างสรรค์

การดูโทรทัศน์จะมีผลต่อการเจริญเติบโตพัฒนาการของสมองโดยเฉพาะกระบวนการเรียนรู้เด็กที่ดูโทรทัศน์มากๆ จะไม่มีการเล่นแบบสมมุติซึ่งเป็นการเล่นที่สำ คัญต่อพัฒนาการของเด็ก

การดูโทรทัศน์ยังทำ ให้เด็กไม่ทำ อย่างอื่นที่ควรจะทำ ในช่วงเวลานั้นๆ เด็กที่ไม่ได้ดูโทรทัศน์มาก จะใช้เวลาที่เรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว สร้างโลกเล็กๆ ของตัวเองขึ้นมา เด็กกลุ่มนี้จะเป็นเด็กที่ให้ความร่วมมือดี เป็นผู้นำ ที่ดี และไม่ก้าวร้าว เด็กที่ดูโทรทัศน์มากเกินไปจะเป็นเด็กที่มีอารมณ์แปรปรวน ขี้โมโห ค่อนข้างเครียด ร้องไห้ง่าย เพราะฉะนั้นพ่อแม่จำ กัดเวลาลูกดูโทรทัศน์แค่ 1 - 2 ชั่วโมงต่อวัน และกำ หนดรายการโทรทัศน์ที่ลูกจะดูด้วย

สรุป

วิทยาการสมัยใหม่ให้ข้อสรุปว่า ปัจจัยที่ทำ ให้ลูกฉลาดหรือไม่อย่างไร มีอยู่ 2 อย่างด้วยกันคือกรรมพันธุ์หรือลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นสิ่งที่กำ หนดโครงสร้างและขั้นตอนการเจริญพัฒนาของสมองมาเรียบร้อยแล้วตั้งแต่แรกเกิด กับอีกปัจจัยหนึ่งคือสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดู ซึ่งสิ่งแวดล้อมมีผลต่อสมองลูกมาตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์ เช่น การที่แม่ได้รับยาบางชนิด ได้รับการฉายแสงเอ็กซเรย์ ได้รับความกระทบกระเทือน หรือขาดธาตุหรือสารอาหารบางชนิด ก็อาจส่งผลทำ ให้สมองลูกไม่สามารถเจริญเติบโตสมบูรณ์แบบได้ ทำ ให้ลูกเกิดมามีปัญหาสติปัญญาบกพร่อง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้

หลังคลอดสิ่งแวดล้อมที่สำ คัญคือการเลี้ยงดู โดยเฉพาะการเลี้ยงดูในช่วงแรกๆ ของชีวิต ที่แม่ลูกมีสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ลูกได้รับความรักความอบอุ่น การสนองตอบความต้องการอย่างถูกต้องเหมาะสม ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย สิ่งเหล่านี้ทำ ให้สมองลูกซึ่งโดยธรรมชาติแล้วจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วใน 3 ปีแรกของชีวิต ได้รับการกระตุ้นทำ ให้เกิดการขยายเครือข่ายเส้นใยสมอง มีการสร้างไขมันหุ้มล้อมรอบเส้นใยสมองอย่างมากมาย ยิ่งสมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองมากเท่าไร สมองลูกก็จะยิ่งพัฒนา ทำ ให้ลูกฉลาดมากขึ้นเท่านั้น

แม้ว่าลูกจะได้รับการกระตุ้น ส่งเสริมสมองให้พัฒนาดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่ในสิ่งแวดล้อมก็มีสิ่งที่ขัดขวางความฉลาดและการเรียนรู้ของเด็ก ที่สำ คัญคือ ความเครียด ซึ่งทำ ให้ร่างกายลูกหลั่งฮอร์โมนเครียด มีผลต่อสมองโดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับความจำ อีกสิ่งหนึ่งคือโทรทัศน์ ทำ ให้ลูกขาดโอกาสที่จะเรียนรู้จากการลงมือกระทำ ขาดการทำ กิจกรรมอื่นๆ ที่จะส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆพ่อแม่จึงต้องจำ กัดเวลาดูโทรทัศน์และเลือกรายการที่เหมาะสมให้ลูกด้วย

ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond



วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 4-6


นมแม่กับการเพิ่มไอคิว (IQ)


นมแม่เป็นอาหารธรรมชาติที่ประเสริฐที่สุดที่จะทำ ให้เด็กในช่วง 4เดือนแรกสามารถจะมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่จำ เป็นต้องมีอาหารเสริมหรือนมกระป๋อง และนมแม่โดยเฉพาะนมหยดแรกที่มีสารโคลอสตรัม ยังมีภูมิคุ้มกันที่สามารถต้านทานโรคต่างๆ เด็กที่กินนมแม่จะมีอาการหูอักเสบเป็นหวัด เป็นผื่น หรือเป็นภูมิแพ้ น้อยกว่าเด็กที่กินนมกระป๋องหรือนมวัวส่วนตัวแม่ที่ให้นมลูกก็จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมน้อยกว่าแม่ที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และจะลดนํ้าหนักหลังคลอดได้ดีกว่า ขณะเดียวกันการให้ลูกกินนมแม่ยังเป็นการคุมกำ เนิดแบบธรรมชาติได้ด้วย (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)

แต่มีการตั้งข้อสงสัยว่า นมแม่สามารถเพิ่มความฉลาดหรือไอคิวให้ลูกได้หรือไม่ ตรงนี้ยังมีข้อมูลไม่ชัดเจนนัก มีการวิจัยใหม่ๆ หลายการวิจัยบ่งชี้ว่าเด็กที่กินนมแม่จะมีไอคิวสูงกว่า เรียนหนังสือได้ดีกว่าเด็กที่กินนมกระป๋องหรือนมวัว โดยดูจากการทดสอบไอคิวและผลการเรียน

แม้จะยังไม่มีใครชี้ชัดว่าทำ ไมนมแม่ถึงดีกว่านมวัวหรือนมกระป๋อง แต่ที่สำ คัญคือเอนไซม์ต่างๆ ที่เป็นตัวย่อยอาหาร หรือกรดไขมัน หรือโปรตีนที่อยู่ในนมแม่ค่อนข้างที่จะสลับซับซ้อน และอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสมอง สารบางตัวจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของประสาทตา ทำ ให้เชื่อว่าเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่มีความสามารถในการเห็นดีกว่าเด็กที่เลี้ยงด้วยนมวัว

อย่างไรก็ตามมีคำ ค้านจากนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งว่าอาจไม่ใช่เพราะสารอาหารในนมแม่ที่วิเศษ แต่เนื่องจากแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเป็นแม่ที่รักเอาใจใส่ลูก เด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่จะได้รับการสัมผัสโอบอุ้มตลอดเวลา จึงมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคม ดีกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่

ของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการสมองและความฉลาด


พ่อแม่ส่วนใหญ่มักคิดว่าของเล่นที่ออกแบบอย่างซับซ้อน ราคาแพง จะสามารถพัฒนาลูกให้ฉลาดได้

ปัจจุบันมีการวิจัยว่าโมบายล์สีขาวดำ ช่วยพัฒนาการมองเห็นของลูกแรกเกิดได้ดี หรือเพลงคลาสสิคของโมซาร์ตจะช่วยพัฒนาสมองและพัฒนาการของลูก แล้วสิ่งเหล่านี้สามารถพัฒนาลูกให้ฉลาดได้จริงหรือไม่ เราสามารถจะกระตุ้นเด็กให้เป็นไอน์สไตน์อีกคนหนึ่งได้หรือไม่

จริงๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นใดๆ ก็ตาม ที่สำ คัญที่สุดคือ ต้องกระตุ้นอย่างเหมาะสมไม่มากไม่น้อยเกินไป หรือผิดวิธี และต้องเป็นไปตามช่วงวัยของลูก ผู้เชี่ยวชาญหลายๆ คนแนะนำ ให้พ่อแม่อย่าตื่นเต้นที่จะกระตุ้นลูกให้มากนัก เพราะจริงๆ แล้ว ของเล่นที่วิลิศมาหราหรือข้าวของเครื่องใช้ที่หรูหราไม่สำ คัญเท่าการพูดคุยกับเด็ก ให้เวลาคุณภาพกับเด็ก ข้าวของเครื่องใช้ที่มีรอบตัวภายในบ้านก็ใช้เป็นของเล่นได้ดี เช่น หม้อข้าว จาน ช้อน ฯลฯ

นักวิชาการบางคนมีความเห็นเกี่ยวกับการกระตุ้นสมองลูกว่า สมองเด็กเจริญเติบโตอยู่แล้วตามธรรมชาติ การช่วยกระตุ้นเป็นเพียงการเสริมสร้างเท่านั้น และนักวิชาการอื่นๆ ก็สนับสนุนว่าการกระตุ้นเด็กที่ดีที่เหมาะสม คือ การเลี้ยงเด็กแบบสมัยโบราณนั่นเอง ด้วยการพูดคุย เล่นกับเด็ก โดยเฉพาะการพูดด้วยเสียงสูงๆ ของแม่ เมื่อเวลาหยอกล้อกับลูก จะกระตุ้นสมองที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาได้ดี

นักวิจัยกล่าวว่า ของเล่นง่ายๆ อย่างเช่น บล็อกไม้สี่เหลี่ยม ลูกปัดการเล่นจ๊ะเอ๋ ที่พ่อแม่ในสมัยโบราณใช้เลี้ยงดูลูกเป็นสิ่งวิเศษที่สุดในการเพิ่มพัฒนาการของกล้ามเนื้อ ภาษา และความฉลาด

และทางที่ดีที่สุดควรป้องกันสมองลูกไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน ซึ่งจะป้องกันการสูญเสียเซลล์สมองหรือการมีพัฒนาการที่ผิดปกติ

สิ่งอื่น ๆ ที่ช่วยพัฒนาสมองลูก


สิ่งอื่นๆ ที่จะช่วยสร้างเส้นใยสมองให้ลูกหรือทำ ให้ลูกฉลาด คือเสียงดนตรี มีการวิจัยพบว่าดนตรีสามารถเพิ่มความคิดอย่างมีเหตุผลได้

การนึกคิด จินตนาการที่เป็นเหตุเป็นผลนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในเรื่องของเลขคณิต วิศวกรรมและการเล่นหมากรุก

มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าดนตรีสามารถทำ ให้เด็กมีความคิดเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น จากการทดสอบเด็กที่เรียนเปียโนอย่างขะมักเขม้น พบว่ามีคะแนนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนเปียโน แต่ผลที่พัฒนาขึ้นนี้ไม่พบในเด็กที่เรียนคอมพิวเตอร์ หรือใช้คีย์บอร์ด หรือใช้เมาส์ หรือไปเรียนร้องเพลง

นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า การเรียนเปียโนทำ ให้เราเห็นภาพการทำ งานในช่วงเวลานั้นๆยกตัวอย่างเช่น การที่นิ้วมือขยับไปและการที่คีย์หรือรูปแบบของโน้ตดนตรีทำ ให้เกิดเสียงดนตรีนั้นจะทำ ให้สมองสร้างเส้นใยสมองขึ้นมาเพื่อคิดเชื่อมโยงระหว่างตำ แหน่งของคีย์เปียโนกับเสียงที่เกิดขึ้น ซึ่งการใช้ดนตรีนี้เองจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระยะยาวของเส้นใยสมอง แต่ที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ คือ ผลของการเรียนหรือเล่นดนตรีในช่วงเด็กเล็กๆ นี้ จะทำ ให้เด็กเติบโตเป็นอัจฉริยะในช่วงมัธยมปลายหรือไม่

ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond



วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 4-5



บทที่ 4-5 สิ่งที่สร้างเสริมและบั่นทอนความฉลาดของลูก

สิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่มีผลต่อสมองลูก

อาหารบำรุงสมอง


เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าอาหารที่ถูกสัดส่วนมีความจำ เป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกส่วนของร่างกายลูก ซึ่งรวมถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมองด้วย ผลกระทบที่สำ คัญสำ หรับเด็กเล็กที่ขาดสารอาหาร คือ จะมีผลต่อพัฒนาการกล้ามเนื้อ ส่วนในเด็กโตพบว่ามีผลต่อการเรียนรู้ ซึ่งได้รับผลแตกต่างกันไปแล้วแต่จะขาดสารอาหารมากน้อยเพียงไร (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)

ถ้าลูกได้รับสารอาหารที่ดี ก็จะมีความสามารถในการอ่าน คิดเลข และมีสติปัญญาดีกว่ากลุ่มเด็กที่ขาดสารอาหาร และยังพบอีกว่าเด็กที่ขาดสารอาหารอาจมีปัญหาสมาธิสั้นร่วมด้วย มีการทดลองในสัตว์ทดลองพบว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของสมองเมื่อขาดสารอาหาร และถ้าหากได้รับการดูแลรักษา โครงสร้างส่วนใหญ่ก็จะกลับคืนเป็นปกติ อย่างไรก็ตามโครงสร้างอื่นๆ เช่นปริมาณไขมันสมองที่หุ้มล้อมรอบเส้นใยสมอง หรือสัดส่วนของจุดเชื่อมต่อของเซลล์สมองจะไม่คืนสู่สภาพปกติ

จากข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จึงมีสมมุติฐานว่า ผลกระทบของการขาดสารอาหารต่อสมองเด็กจะมีผลต่อกระบวนการคิดและการแก้ปัญหา และมีรายงานการศึกษาในเด็กอายุ 11 เดือนที่ขาดสารอาหารจนตัวและศีรษะเล็ก เมื่อถ่ายภาพสมองจะพบว่าสมองฝ่อ แต่เมื่อได้รับการรักษา ให้สารอาหารทดแทนและจัดให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนเลี้ยงกับเด็ก พบว่าเด็กนั้นสามารถกลับมามีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเป็นปกติได้ เมื่อถ่ายภาพสมองอีกครั้ง พบว่าสมองที่ฝ่อก็ดีขึ้นด้วย

สารอาหารทุกชนิดมีประโยชน์และมีความสำ คัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมองทั้งสิ้น การรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ก็จะเป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตามมีสารอาหารบางชนิดที่มีความสำ คัญเป็นพิเศษมีผลต่อการเจริญเติบโตต่อสมอง ซึ่งมีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง ได้แก่

  • ธาตุเหล็ก

    ธาตุเหล็กเป็นส่วนสำ คัญของเอ็นไซม์ที่มีบทบาทต่อการสร้างไขมันสมองและสารเคมีในสมอง ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการทำ งานของสมอง ในสัตว์ทดลองพบว่า หนูที่ขาดธาตุเหล็กอาจจะก่อให้เกิดปัญหาสมาธิสั้นได้ และถ้าได้รับการรักษาก็จะดีขึ้น นอกจากนี้การขาดธาตุเหล็กยังทำ ให้เด็กมีความบกพร่องในการใช้ทักษะทางกล้ามเนื้อด้วย

    จากการวิจัยพบว่าหญิงมีครรภ์ที่มีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก เด็กที่คลอดออกมามักมีนํ้าหนักตัวน้อยหรือคลอดก่อนกำ หนด นอกจากนี้ยังพบอีกว่าเด็กเล็กอายุตํ่ากว่า 2 ขวบที่ขาดธาตุเหล็ก จะมีระดับพัฒนาการที่ตํ่ากว่าเด็กที่มีธาตุเหล็กปกติ เด็กกลุ่มนี้ยังเป็นคนขี้กลัว เหนื่อยง่ายงอแงง่าย และหากให้ธาตุเหล็กเด็กก็จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น อาการต่างๆ จะดีขึ้น ส่วนเด็กในวัยเรียนพบว่า ระดับของธาตุเหล็กจะมีผลต่อระดับสติปัญญาและการเรียน หากให้การรักษาก็จะดีขึ้นได้เช่นกัน
  • ไอโอดีนและไทรอยด์ฮอร์โมน

    การทดลองในสัตว์ทดลองพบว่า ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนจะทำ ให้สมองมีขนาดเล็กลงจำนวนเซลล์สมองทั้งในสมองใหญ่และสมองเล็กก็เล็กลง ในมนุษย์ก็เช่นกัน พบว่า สมองมีขนาดเล็กลง จำ นวนเซลล์สมองที่พื้นผิวสมองลดลง รวมทั้งอาจจะเกิดการเสื่อมสลายของเซลล์สมองที่มีอยู่แล้วด้วย

    ธาตุไอโอดีนเป็นส่วนประกอบที่สำ คัญของไทรอยด์ฮอร์โมน การขาดไอโอดีนก็จะมีผลต่อระดับสติปัญญา และยังมีผลต่อภาวะของกล้ามเนื้อซึ่งอาจจะเกิดการเกร็งตัว หูหนวกจากประสาทหูพิการได้ด้วย ตัวอ่อนในครรภ์สามารถสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนได้เมื่อเจริญเติบโตเข้าไตรมาสที่สอง ในไตรมาสแรกทารกจึงต้องอาศัยไทรอยด์ฮอร์โมนจากแม่ ถ้าแม่ขาดไอโอดีนทารกก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการสมองและสติปัญญา

    ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าว แม่ควรจะได้รับไอโอดีนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์หรือระยะแรกเริ่มของการตั้งครรภ์ ไม่เช่นนั้นจะสายเกินไป และถึงแม้จะให้ไอโอดีนกับแม่ในช่วงตั้งครรภ์และตลอดตั้งครรภ์ เด็กที่คลอดออกมาก็จะต้องได้รับการตรวจสมํ่าเสมอ เพราะถ้าเด็กอยู่ในพื้นที่หรือจังหวัดที่ขาดธาตุไอโอดีนมากๆ มีโอกาสเกิดภาวะขาดไอโอดีนหลังคลอดได้อีก จึงต้องได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสมอง ที่สำ คัญควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
  • กรดไขมัน

    จะเห็นว่าในระยะหลังๆ มีการโฆษณาขายอาหารเสริมกันมาก อาหารเสริมที่โฆษณากันมากคือนํ้ามันปลา ซึ่งพบว่ามีกรดไขมันที่จะมีผลดีต่อพัฒนาการของสมอง กรดไขมันที่ได้รับการกล่าวถึงมากคือ อะราชิโดนิก แอซิด (Arachidonic Acid) ซึ่งสร้างจากไลโนลีอิก แอซิด (Linoleic Acid) และโดโคซาเฮกซาโนอิก แอซิด (Docosahexaenoic Acid หรือ DHA) ซึ่งกรดไขมันทั้งสองตัวนี้มีการสะสมอย่างมากในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์และในช่วง 18 เดือนแรกหลังคลอด เพื่อจเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ของระบบประสาท

    ในนมแม่จะมีสาร DHA ซึ่งพบว่าเด็กที่ดื่มนมแม่จะมีปริมาณของกรดไขมันนี้มากกว่าเด็กที่ดื่มนมขวดซึ่งไม่มี DHA ผลการทดลองเบื้องต้นพบว่า สาร DHA นี้มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตพัฒนาการของสมอง ที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น แต่ผลสรุปคงจะต้องรอการศึกษาคนไข้จำนวนมากขึ้น
  • กรดโฟลิก

    สารที่มีความสำ คัญอย่างมากอีกชนิดหนึ่งต่อการเจริญเติบโตของสมอง คือ กรดโฟลิก ซึ่ง
    เป็นสารอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ในไข่แดง ผักใบเขียว ถั่วบางชนิด แม่ที่ขาดกรดโฟลิกในช่วงตั้งครรภ์ 1 - 2 เดือนแรก ก็จะมีความเสี่ยงต่อการให้กำ เนิดลูกที่มีความพิการทางสมอง อาจจะเป็นแบบรุนแรง คือคลอดออกมามีแต่ใบหน้า แต่ไม่มีสมองใหญ่และกะโหลกศีรษะซึ่งไม่สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้ หรือในกรณีที่มีความรุนแรงน้อยกว่า สมองเจริญเติบโตปกติแต่มีความผิดปกติของการเจริญเติบโตของไขสันหลัง โดยที่กระดูกที่ไขสันหลังไม่ปิด ไม่มีผิวหนังปกคลุม เนื้อของไขสันหลังออกมาอยู่นอกผิวหนัง เด็กกลุ่มนี้จะมีชีวิตอยู่รอดได้ แต่จะมีความพิการของขา ระบบกระเพาะปัสสาวะ ระบบขับถ่าย และหากเป็นที่ไขสันหลังระดับคอก็จะมีความพิการที่แขนด้วย เด็กที่คลอดออกมามีความพิการเช่นนี้ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดเป็นปกติได้ อาจจะได้รับการผ่าตัดป้องกันการติดเชื้อ แต่ความพิการยังคงเป็นอยู่ตลอดชีวิต

  • หญิงที่ตั้งครรภ์ควรได้รับกรดโฟลิกหรือรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิกในช่วงแรกเริ่มตั้ง
    ครรภ์หรือก่อนตั้งครรภ์ ก็จะช่วยป้องกันความพิการทางสมองเช่นนี้ได้
ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond


วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 4-4



บทที่ 4-4 สิ่งที่สร้างเสริมและบั่นทอนความฉลาดของลูก


สายสัมพันธ์แม่ลูก..พื้นฐานชีวิต


สิ่งกระตุ้นที่สำ คัญที่สุดสำ หรับลูกแรกเกิดคือประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากความรักที่แม่มีต่อลูก จากการที่ลูกมองจ้องตาหรือดูสีหน้าอารมณ์ของแม่ หรือได้ยินเสียงคุย เสียงร้องเพลง เสียงที่อ่านหนังสือ หรือสัมผัส โอบกอด เห่กล่อม แม้กระทั่งการเลียผิวหนังของเด็กหรือของแม่ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าเล็กๆ ขึ้นในเซลล์สมอง ส่งข้อมูลไปตามเครือข่ายเส้นใยสมอง และทำ ให้ประจุไฟฟ้าครบวงจร เซลล์สมองเกิดการเชื่อมโยงกันเพื่อทำ หน้าที่ต่างๆ เช่น การเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การแสดงออกทางอารมณ์ เพราะฉะนั้นการอุ้มการสัมผัสอย่างอ่อนโยนนอกจากเป็นสิ่งเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกแล้ว ที่สำ คัญกว่านั้นยังกระตุ้นสมองเด็กให้สร้างฮอร์โมนที่สำคัญออกมา ฮอร์โมนเหล่านี้จะทำ ให้เด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการทางสมองอย่างมาก (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)

เด็กที่มีสัมพันธภาพที่ดีมีความผูกพันกับแม่ จะเป็นเด็กที่สามารถปรับตัวได้กับความเครียดในชีวิตประจำวันทั้งในปัจจุบันและอนาคต เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีความรักและความอบอุ่น จะสามารถควบคุมสถานการณ์เมื่อเกิดความเครียดได้ ความเครียดจะก่อให้เกิดฮอร์โมนคอร์ติโซล(Cortisol) ซึ่งมีผลต่อภูมิคุ้มกันและสมอง เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่อบอุ่นจะมีฮอร์โมนตัวนี้น้อย ทำ ให้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เพราะถ้าระดับฮอร์โมนคอร์ติโซลสูงจะมีผลทำ ลายเซลล์สมองและลดจำนวนเครือข่ายเส้นใยสมองด้วย

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนยังเชื่อว่าเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่และได้รับการสัมผัสตั้งแต่แรกคลอดจะฉลาด มีไอคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับนมแม่หรือขาดการกระตุ้นหรือขาดการสัมผัสตอนแรกคลอด การเลี้ยงลูกและให้นมลูกยังเป็นการเว้นระยะทิ้งช่วงห่างขึ้นของการมีลูกคนต่อไป ซึ่งเป็นผลดีเพราะจะได้มีเวลาดูแลลูกและกระตุ้นให้ลูกมีพัฒนาการที่สมบูรณ์และฉลาดมากที่สุด

เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าการที่แม่กระตุ้นประสาทสัมผัสต่างๆ ของลูก ทั้งทางด้านการสัมผัสโอบกอดการมองจ้องตา การพูดคุยกับลูก ล้วนมีส่วนกระตุ้นกลุ่มเซลล์สมองและทำ ให้สมองเกิดการขยายเครือข่ายเส้นใยสมอง สมองเกิดการทำ งาน ทำ ให้ลูกพัฒนาความฉลาด ขณะเดียวกันลูกก็จะไม่เกิดปัญหาหรือมีความเครียดจากการต้องแยกจากแม่อันเป็นผลเสียต่อพัฒนาการ ฉะนั้นความรักความผูกพันระหว่างแม่ลูกในวัย แรกเริ่มจึงเป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิตลูก

ประสบการณ์ซํ้าๆ สร้างไขมันล้อมรอบเส้นใยสมอง


หากประสบการณ์ต่างๆ เข้ามาในสมองลูกซํ้าแล้วซํ้าเล่า ไม่ว่าจะเป็นการอุ้ม การสัมผัสการโอบกอด ก็จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างไขมันล้อมรอบเส้นใยสมองด้วย ทุกครั้งที่ลูกได้ยินเสียงแม่ จะมีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อที่จะใช้พูด ยิ่งได้ยินเสียงบ่อยเท่าไรก็จะยิ่งมีการสร้างไขมันสมองมากขึ้นเท่านั้น ไขมันสมองที่ล้อมรอบเส้นใยสมองนี้ จะทำ ให้การเคลื่อนไหวของกระแสไฟฟ้าในเส้นใยสมองเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำ ให้ลูกฉลาดมากขึ้นนั่นเอง

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการที่เราหมั่นฝึกฝนอยู่เสมอ ทบทวนบ่อยๆ จะทำ ให้เกิดการสร้างไขมันล้อมรอบเส้นใยสมองที่อยู่คงนาน และเครือข่ายเส้นใยสมองที่ถูกใช้งานบ่อยๆ ก็จะอยู่ตลอดไป

ส่งเสริมตามช่วงวัยที่เหมาะสม


โครงสร้างที่สลับซับซ้อนของเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อเหล่านี้ซึ่งทำ ให้สมองเกิดการทำงาน ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างพร้อมเพรียงในเวลาเดียวกัน สมองแต่ละส่วนจะมีพัฒนาการสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองที่ทำ ให้เกิดความสามารถในด้านต่างๆ ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน

นาทีทองหรือช่วงจังหวะในการเกิดพัฒนาการด้านต่างๆ เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังคลอด บางช่วงอาจจะเกิดขึ้นภายในเวลาสั้นๆ บางช่วงอาจจะยาวนาน อย่างเช่น ถ้าสมองไม่ได้รับประสบการณ์จากการเห็น คือไม่ได้เห็นเลยในช่วงขวบปีแรก ลูกก็จะไม่สามารถมองเห็นได้เลยเนื่องจากสมองส่วนการเห็นไม่ได้พัฒนา หรือนาทีทองสำ หรับการเรียนรู้เรื่องภาษาอาจจะอยู่ในช่วง 10 ปีแรกของชีวิต ดังที่เราเห็นว่าเด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามเมื่อเราพูดถึงนาทีทองหรือช่วงจังหวะสำ คัญจะต้องนึกไว้เสมอว่า ไม่มีคำ ว่าสายเกินไปที่จะช่วยให้เด็กเรียนรู้และพัฒนา เพียงแต่ถ้าช่วยเหลือเด็กช้าไป อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงมากและใช้เวลานานมากเมื่อเทียบกับการช่วยเหลือในช่วงเริ่มแรกของชีวิต

ปฏิกิริยาระหว่างประสบการณ์ที่เด็กได้รับในช่วงวัยแรกเริ่มของชีวิตนี้เองกับกรรมพันธุ์ที่เด็กได้รับจากพ่อแม่ ทำ ให้คนเราฉลาดหรือไม่ฉลาด รู้สึกมีความสุขหรือสิ้นหวัง ทำ ให้เราตอบสนองผู้อื่นด้วยความรักหรือด้วยความโกรธเกลียดชัง ทำ ให้เราใช้เหตุผลหรือไม่ใช้เหตุผล

ตอบสนองลูกอย่างถูกต้องเหมาะสม


ลูกเล็กๆต้องการเวลาต้องการความสนใจจากผู้ใหญ่ต้องการการดูแลเอาใจใส่โดยไม่จำเป็นต้องมีของเล่นที่แพงๆ หรือข้าวของเครื่องใช้ที่ดีเลิศหรูหรา ธรรมชาติการเลี้ยงดู การสัมผัส ความอบอุ่นเป็นสิ่งสำ คัญที่สุด

พ่อแม่ควรถือโอกาสนี้ใช้ความอยากรู้อยากเห็นของเด็กให้เป็นประโยชน์ เพราะเด็กก็เหมือนเครื่องจักรที่ต้องการเรียนรู้ตลอดเวลา มีความสนใจทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นเงาตามถนนเสียงสุนัขเห่า เสียงโทรศัพท์ เพราะฉะนั้นถ้าเราร่วมเรียนรู้ไปกับลูก ลูกจะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ เพราะลูกจะรู้ว่าตอนเล็กๆ มีคนฟังเขา สนใจเขา เมื่อโตขึ้นเขาก็ทำ แบบเดียวกัน

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างให้เห็นว่า การเลี้ยงดู การตอบสนองของพ่อแม่ หรือประสบการณ์ในวัยแรกเริ่ม มีผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการทางอารมณ์ของลูกอย่างไร

ตัวอย่างแรก แม่ซึ่งมีลูกอายุ 5 สัปดาห์ ตื่นขึ้นกลางดึกเพราะได้ยินเสียงลูกร้อง แม่รู้ว่าถึงเวลาให้นมแล้ว ลูกคงหิวแล้ว จึงเดินไปเปิดไฟ ลูกเมื่อรู้ว่าไฟเปิด ได้รับการสัมผัสโอบอุ้มของแม่ ถึงแม้จะหิวแต่ก็ค่อยๆ สงบลง เพราะรู้ว่าความหิวกำ ลังจะสิ้นสุดลงแล้ว ระหว่างที่แม่ป้อนนมลูกอยู่ครึ่งชั่วโมง แม่มองตาลูก พูดคุยด้วยเสียงเบาๆ ไปเรื่อยๆ ลูกก็ยิ้มจ้องมองตอบ "ว่าไงจ๊ะคนสวยของแม่ หิวใช่มั้ย เอาอีกมั้ยจ๊ะ เดี๋ยวเรอซะก่อนนะ แม่รักหนูจังเลย" เมื่อป้อนนมจนลูกอิ่มนอนหลับ แม่อุ้มลูกกลับไปนอนที่เตียงลูก จูบเบาๆ ห่มผ้าให้ กระซิบเบาๆ ว่า "ฝันดีนะลูกนะ"

กิจกรรมและความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกที่เกิดขึ้นเป็นกิจวัตรประจำ วันเช่นนี้ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาๆ ไม่มีความหมายอะไร แต่จริงๆ แล้วสิ่งเหล่านี้วิเศษเกินธรรมดา เพราะเป็นสิ่งที่ทำ ให้ลูกน้อยรู้ว่าเมื่อมีคนมาป้อนนมก็จะได้รับสัมผัสที่อ่อนโยน ได้เรียนรู้ว่าการร้องจะได้รับการตอบสนองที่ตรงกับความต้องการ จะเริ่มรู้สึกถึงสัมผัส มีการแลกเปลี่ยนความรู้สึกกับแม่ เรียนรู้ว่าตัวเองนั้นมีค่า มีคนตอบสนอง เห็นความสำ คัญ เกิดความไว้ใจในสิ่งแวดล้อมว่าอย่างน้อยมีคนที่เด็กจะเชื่อใจได้มีคนคอยช่วยเหลือเมื่อเกิดความไม่สบายกายใจ

ตรงข้ามกับอีกตัวอย่างหนึ่ง แม่ซึ่งเพิ่งทะเลาะกับสามีและหลับไปได้ไม่นาน ตื่นขึ้นด้วยความโมโหเมื่อได้ยินเสียงลูกวัย 5 สัปดาห์ร้องกลางดึก ลูกยิ่งร้องแม่ยิ่งโกรธ แม่ตะโกนใส่ลูกว่า "หุบปากซะที ทนไม่ไหวแล้ว" ลูกยิ่งร้องดังขึ้น เพื่อนบ้านก็ตะโกนแทรกขึ้นมา "ให้เด็กหุบปากซะที หนวกหูชาวบ้าน" แม่โกรธจัด ทุบกำ แพงตะโกนด่ากลับไปว่า "หุบปากตัวเองสิ" ในขณะเดียวกันกระโดดจากเตียงไปที่เตียงลูกพลางตะโกนใส่ลูก "มาแล้ว มาแล้ว หุบปากซะที" แม่จับลูกขึ้นมาดูและตะคอกใส่ "นึกว่าร้องแล้วจะได้ทุกอย่างที่ต้องการรึไง เอ้า..หิวก็จะให้กิน" ขณะที่ป้อนนมลูก แม่ยังไม่หายโกรธ ตาจ้องไปที่ผนัง นึกถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งทะเลาะกับสามี ยิ่งเกิดอารมณ์เครียดมากขึ้น อ้อมแขนที่อุ้มลูกอยู่เกร็งโดยไม่รู้ตัว ทำ ให้ลูกรู้สึกไม่สบาย เริ่มร้องอีก ไม่ยอมดูดนม แม่ก็ไม่เข้าใจ ตะโกนใส่ลูก "ไม่อยากกินก็ไม่ต้องกิน" แล้วอุ้มลูกกลับไปนอนที่เตียง เดินออกจากห้องไปที่ครัว เปิดเพลงเสียงดังลั่นกลบเสียงลูกลูกก็ร้องจนเหนื่อยหลับไปเอง

สำหรับตัวอย่างนี้เด็กก็ได้เรียนรู้ แต่เป็นการเรียนรู้ว่า การอุ้มการกอดเป็นสิ่งที่ไม่สบาย ไม่น่าพอใจ การร้องของเขาได้รับการตอบสนองด้วยเสียงแหลมๆ ที่แสดงอารมณ์โกรธของแม่ และเรียนรู้อีกว่าความต้องการของเขาไม่สำ คัญ และในโลกนี้ไม่มีใครเลยที่เขาจะเชื่อใจไว้ใจได้

จริงๆ แล้วอาจมีเด็กบางคนที่ร้องไม่หยุดแม้จะได้รับการกอด การป้อนนมอย่างอ่อนโยน แต่จากการวิจัยและข้อมูลการศึกษา พบว่าส่วนใหญ่เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรัก ให้การตอบสนองที่ถูกต้อง จะร้องน้อยกว่า กลางคืนจะหลับดีกว่า

เด็กทั้งสองตัวอย่างนี้ถ้าได้รับประสบการณ์แบบเดียวกันซํ้าแล้วซํ้าเล่าจะมีผลต่อการเจริญเติบโตพัฒนาการของสมองโดยเฉพาะทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกต่อตัวเอง ต่อโลกรอบข้างในลักษณะที่แตกต่างตรงกันข้าม ตัวอย่างหนูน้อยคนที่สองจะเรียนรู้ว่าความต้องการของเขาไม่สำ คัญไม่สามารถไว้เนื้อเชื่อใจใครได้เลย

เพราะฉะนั้นปฏิกิริยาและการตอบสนองอย่างถูกต้องของพ่อแม่พี่เลี้ยงที่มีต่อเด็กในชีวิตประจำ วันจึงมีความสำ คัญอย่างยิ่งในการทำ ให้เครือข่ายวงจรเส้นใยสมองของลูกอยู่คงทนและแข็งแรง เครือข่ายเส้นใยสมองและประสบการณ์เหล่านี้จะมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง ตลอดจนบุคลิกภาพ พฤติกรรม และการเรียนรู้ของเด็กในเวลาต่อมา

สำหรับพ่อแม่ที่ทำ งานนอกบ้าน คงมีปัญหาว่าทำ อย่างไรจึงจะมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของสมองลูก โดยธรรมชาติพัฒนาการของสมองเป็นไปโดยไม่หยุดยั้ง เป็นไปตลอดเวลาไม่ว่าในช่วงเวลาที่ลูกอยู่กับพ่อแม่หรือเวลาที่พ่อแม่ออกไปทำ งาน ดังนั้นสำ หรับพ่อแม่ที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านหรือมีความจำ เป็นไม่สามารถเลี้ยงลูกเองได้ ผู้ที่มีบทบาทสำ คัญแทนพ่อแม่ คือคนเลี้ยงดูเด็ก ไม่ว่าจะเป็นญาติ เพื่อนบ้าน หรือพี่เลี้ยงที่จ้างมาก็ตาม บุคคลเหล่านี้จะต้องมีประสิทธิภาพสูงและเข้าใจวิธีเลี้ยงดูเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องรู้จักการให้สิ่งกระตุ้นที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของสมองเด็ก

ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond


วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 4-3

บทที่ 4-3 สิ่งที่สร้างเสริมและบั่นทอนความฉลาดของลูก


สิ่งแวดล้อมในช่วงแรกเริ่มชีวิตลูก


เมื่อลูกคลอดออกมาจากครรภ์แม่แล้ว สิ่งแวดล้อมยิ่งมีบทบาทมากขึ้น เพราะช่วงหลังคลอดนี้ สมองลูกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรกของชีวิต (เสื้อผ้าเด็ก macaroonies™)

จากแรกเกิด สมองของลูกซึ่งมีเซลล์สมองอยู่ 1 แสนล้านเซลล์ แต่เซลล์สมองเหล่านี้ยังไม่มีการเชื่อมโยงกัน สมองของลูกแรกเกิดจึงเหมือนกับห้องว่างๆ ที่ยังไม่ได้ตกแต่ง ยังไม่มีเฟอร์นิเจอร์ส่วนของสมองที่ดูแลเกี่ยวกับความคิด ความจำ อารมณ์ และพฤติกรรมทางสังคมก็ยังไม่พัฒนา ต่อเมื่อลูกได้รับสิ่งกระตุ้นจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ จากสิ่งแวดล้อม สมองลูกก็จะสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองตอบสนองและเกิดการทำ งานขึ้น

สมองของลูกแรกเกิดทำ งานมากกว่าที่เราคิดมากนัก มีการเรียนรู้มากกว่าที่พ่อแม่เรียนรู้ลูกเป็นพันๆ เท่า ตั้งแต่การอุ้ม การโอบกอด เสียงเพลงที่พ่อแม่กล่อมให้นอน เสียงหัวเราะ หยอกเย้า เสียงที่พ่อแม่พูดคุยด้วย ล้วนเป็นข้อมูลที่พ่อแม่ป้อนให้ลูก ซึ่งจะไปกระตุ้นสมองลูก ทำ ให้เกิดเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อต่างๆ อย่างมากมายและรวดเร็วในช่วง 3 ปีแรกหลังคลอด

เมื่อลูกอายุ 3 ปี สมองจะมีจำ นวนเครือข่ายเส้นใยสมองนับล้านล้านเครือข่าย ล้านล้านล้านจุดเชื่อมต่อมากกว่าสมองผู้ใหญ่ 2 เท่า การสร้างจุดเชื่อมต่อและเครือข่ายเส้นใยสมองเหล่านี้จะมีต่อไปจนลูกอายุ 10 ปี หลังจากนั้นสมองจะเริ่มกำ จัดเครือข่ายเส้นใยสมองที่ไม่ได้ใช้ทิ้งไป เพื่อให้ส่วนที่เหลือมีความสามารถและมีประสิทธิภาพการทำ งานสูงสุด

จุดเชื่อมต่อและเครือข่ายเส้นใยสมองที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมากมายในช่วงต้นของชีวิตนี้หากได้รับการกระตุ้นหรือกลุ่มเซลล์สมองได้ทำ งานอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นในทางบวกหรือลบก็ตาม จะทำ ให้เซลล์สมองและเส้นใยสมองกลุ่มนี้คงทนอยู่ได้นาน ยิ่งถูกใช้งานซํ้าแล้วซํ้าเล่า ก็จะอยู่มั่นคงตลอดไป ถ้าไม่ถูกใช้เลยหรือใช้ไม่มากพอหรือไม่ได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสม ลูกจะขาดพัฒนาการด้านต่างๆ ทำ ให้เครือข่ายเส้นใยสมองที่สมควรจะมีก็ไม่เกิดขึ้น เช่น เด็กที่ไม่มีใครพูดคุยด้วย ไม่มีใครอ่านหนังสือให้ฟัง เด็กจะเสียความสามารถทางด้านภาษา หรือเด็กที่ไม่ได้รับการกระตุ้นด้วยการเล่น ด้วยการเข้ากลุ่มกับเด็กคนอื่น ก็จะเสียความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมเมื่อโตขึ้น เป็นต้น ผลระยะยาวของการขาดการกระตุ้น ขาดการเอาใจใส่ มีผลทำ ให้สมองไม่พัฒนา เช่น เด็กกำ พร้าที่ถูกทิ้งไว้ในสถานเลี้ยงเด็กกำ พร้าโดยที่ไม่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการสมองบางส่วนที่มีความสำ คัญต่อพัฒนาการก็จะไม่พัฒนา

ในทางตรงข้าม เด็กที่ได้รับความเอาใจใส่จากพ่อแม่และได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสมอยู่เสมอ ก็จะเติบโตเป็นเด็กที่มีความสามารถด้านต่างๆ เช่น อาจจะเป็นจิตรกร หรือนักกีฬาที่มีชื่อเสียง เช่น ไทเกอร์ วูด (Tiger Wood) นักกอล์ฟชื่อก้องโลก

การเลี้ยงดูที่ส่งเสริมให้ลูกฉลาด


การเลี้ยงดูที่ส่งเสริมให้ลูกฉลาดไม่ได้มีเคล็ดลับอะไรเลย เพียงด้วยความรักและความผูกพันที่พ่อแม่ลูกมีต่อกัน ก็สามารถกระตุ้นให้สมองลูกเกิดการสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองมาเชื่อมโยงเซลล์สมอง ทำให้สมองของลูกพัฒนาทำ งานได้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ

ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่แม่ป้อนนมลูก แม่จ้องมองตาลูกด้วยความรัก ในขณะที่พ่อเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกก็พูดคุยกับลูกน้อยด้วยเสียงที่อ่อนโยน นุ่มนวล ในขณะที่พี่เลี้ยงกล่อมเด็กให้นอนก็ร้องเพลงให้ฟัง เหล่านี้ดูเหมือนเป็นสิ่งปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นทุกวี่วันวันละหลายครั้ง แต่จริงๆ แล้วสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำ เป็นและมีความสำ คัญมากต่อการหล่อเลี้ยงสมองลูก เช่นเดียวกับร่างกายต้องการสารอาหารเพื่อการเจริญเติบโต

วิทยาการสมัยใหม่และข้อมูลใหม่ๆ ค้นพบแล้วว่า อารมณ์ที่มีความสุข สัมผัสที่นุ่มนวลอ่อนโยน และประสบการณ์ที่ลูกได้รับในช่วงแรกเกิดนี้สำ คัญมากต่อการที่จะช่วยให้สมองเด็กพัฒนาและมีผลต่อไปถึงอนาคตของลูก

ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond



สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 4-2


บทที่ 4-2 สิ่งที่สร้างเสริมและบั่นทอนความฉลาดของลูก

สิ่งแวดล้อมมีผลต่อความฉลาดของลูก


ในเรื่องนี้วิทยาการใหม่ๆ เป็นข้อพิสูจน์ให้ความเชื่อของคนเราเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเฉพาะในเรื่องปัจจัยที่ทำ ให้ลูกมีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาดแต่เดิมเราเชื่อว่าสมองพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่มีสิ่งอื่นมากำ หนดได้ แต่ปัจจุบันเรามีข้อพิสูจน์แล้วว่า สมองพัฒนาไปโดยเป็นผลมาจากธรรมชาติหรือกรรมพันธุ์ ผสมกับสิ่งแวดล้อมหรือการเลี้ยงดู (เสื้อผ้าเด็ก macaroonies™)

พบว่า ประสบการณ์ในช่วงแรกของชีวิตลูกจะมีส่วนสำ คัญมากในการสร้างโครงสร้างของสมอง และมีผลต่อพัฒนาการของสมองต่อไปจนลูกโตเป็นผู้ใหญ่ สัมพันธภาพที่ดีระหว่างพ่อแม่กับลูก จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการและการเรียนรู้ที่ดี มีผลโดยตรงให้สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองด้วย

หรือแต่เดิมเราเชื่อว่าสมองพัฒนาเป็นเส้นตรง ความสามารถในการเรียนรู้ของคนเราตั้งแต่วัยเด็กเล็กจนโตเป็นผู้ใหญ่จะพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นเส้นตรง แต่ปัจจุบันพบว่าพัฒนาการและการเจริญเติบโตของสมองไม่ได้เป็นเส้นตรง แต่จะมีช่วงเวลาช่วงวัยของลูกที่เหมาะจะรับความรู้และทักษะแต่ละอย่างได้

หรือความคิดที่กล่าวว่า สมองของเด็กเล็กๆ ไม่ตื่นตัวเท่าเด็กมหาวิทยาลัย แต่ปัจจุบันนี้เราพบว่า เมื่อเด็กอายุ 3 ปี สมองจะตื่นตัวมากกว่าสมองผู้ใหญ่ถึง 2 เท่า และความตื่นตัวของสมองจะค่อยๆ ลดลงเมื่อถึงวัยรุ่น

การวิจัยค้นคว้าในเรื่องสมองทำ นองนี้ในช่วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ทำ ให้เราพบว่าสิ่งแวดล้อมมีส่วนทำ ให้สิ่งมีชีวิตมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน โดยเน้นการศึกษาถึงสิ่งแวดล้อมที่ทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสมอง โดยเฉพาะการเปลี่ยนโครงสร้างของสมอง เปลี่ยนสารเคมีในสมองและเปลี่ยนการทำ งานของสมอง

เช่น การวิจัยในหนูทดลอง 2 แบบ แบบแรก เอาหนูทดลองกลุ่มที่ 1 ไปเลี้ยงในกรงที่มีสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสิ่งกระตุ้น มีของเล่นที่จะกระตุ้นการเห็น กล้ามเนื้อ ความฉลาด กลุ่มที่ 2 เลี้ยงในกรงมาตรฐานทั่วไป และกลุ่มที่ 3 ค่อนข้างจะแยกออกมาอยู่ในกรงเล็กๆ ไม่มีสิ่งกระตุ้นการเห็นเท่าที่ควร กับการวิจัยแบบที่สอง แบ่งหนูทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นหนูที่ได้รับการฝึก อีกกลุ่มไม่ได้รับการฝึกเลย แล้วมาดูโครงสร้างของสมอง

พบว่า ในกลุ่มที่ได้รับการกระตุ้น นํ้าหนักของสมองจะมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการกระตุ้นเพราะมีการสร้างโปรตีนเพิ่มขึ้น กลุ่มที่ได้รับสิ่งกระตุ้นมาก สมองส่วนที่ใหญ่ขึ้นคือสมองส่วนที่เรียกว่า คอร์เท็กซ์ หรือพื้นผิวสมอง ซึ่งเป็นส่วนดูแลเกี่ยวกับการเรียนรู้และความฉลาด จะเพิ่มมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการกระตุ้น และพบอีกว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ได้รับการกระตุ้นแสดงว่าระยะเวลาหรือหน้าต่างเวลาในการให้การกระตุ้นเป็นสิ่งสำ คัญมากที่จะกระตุ้นสมองได้

หนูที่ได้รับการเลี้ยงดูในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสิ่งกระตุ้น สมองจะมีการสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองมากขึ้น และขนาดของเซลล์สมองก็ใหญ่ขึ้นด้วยประมาณร้อยละ 20 นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์พยุงหรือเกลียลเซลล์ด้วย

ที่น่าตื่นเต้นและสำ คัญกว่านั้นคือ หนูที่ได้รับการเลี้ยงดูในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสิ่งกระตุ้นโดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ของชีวิต จะมีเส้นใยสมองที่ยาวมากและมีจำ นวนมากขึ้นด้วย และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมสามารถที่จะกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงของจุดเชื่อมต่อของเส้นใยสมองได้ ซึ่งจะมีผลต่อพฤติกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเรียนรู้

การทดลองในสัตว์ทดลองที่เป็นฝาแฝดเหมือนยิ่งยืนยันถึงอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่มีผลต่อการพัฒนาสมอง เพราะฝาแฝดเหมือนจะมียีนหรือลักษณะทางพันธุกรรมที่เหมือนกันมาก เมื่อทดลองนำ สัตว์ทดลองที่เป็นฝาแฝดเหมือนไปแยกเลี้ยงดูในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันปรากฏว่าสิ่งแวดล้อมสามารถกระตุ้นให้สัตว์ทดลองฉลาดและสามารถเปลี่ยนโครงสร้างของสมองได้

นอกจากนี้ยังพบอีกว่า สมองของคนที่ถูกกระทบกระเทือนเมื่อตอนเป็นเด็กเล็ก ถ้าได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมมากๆ สมองส่วนที่ถูกกระทบกระเทือนก็มีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงและดีขึ้นได้อย่างเช่น การทดลองในหนูทดลองที่มีสมองส่วนคอร์เท็กซ์หรือพื้นผิวสมองที่ค่อนข้างบางซึ่งเป็นผลมาจากการได้รับความกระทบกระเทือนตอนแรกคลอด จะหนาขึ้นได้เมื่อเอาไปเลี้ยงในสิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งกระตุ้นมากๆ

หรือในเรื่องการสร้างบุคลิกภาพของลูก ก็มีตัวอย่างเช่น เด็กที่มีแนวโน้มจะเป็นคนขี้อายพบว่าหากเด็กได้รับการกอดบ่อยๆ พ่อแม่แสดงความรักบ่อยๆ จะโตขึ้นเป็นเด็กที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองและมองโลกในแง่ดี ทำให้มีความกล้ามากขึ้น

สิ่งแวดล้อมกับสมองลูกน้อยในครรภ์


มีการทดลองและการวิจัยหลายอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ลูกน้อยในครรภ์สามารถเรียนรู้ รับรู้หรือสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมรอบข้างได้แล้ว ยกตัวอย่างการได้ยิน มีการทดลองพบว่าในเด็กแรกเกิดสามารถแยกเสียงของแม่ออกจากเสียงคนอื่นได้ โดยสังเกตการดูดนมของเด็กทารกอายุ 4 วัน เด็กจะดูดนมค่อนข้างแรงถ้าหากว่าได้ยินเสียงพูดที่เป็นภาษาฝรั่งเศสซึ่งเป็นภาษาแม่ของเด็ก ต่างจากเวลาได้ยินเสียงภาษารัสเซีย เด็กจะดูดนมเบาลง แสดงว่าเด็กได้ยินเสียงแม่ตัวเองตั้งแต่อยู่ในครรภ์และจำได้

ในทางตรงข้าม อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีก็จะส่งผลถึงลูกในครรภ์ด้วย อาจจะทำ ลายหรือขัดขวางการเจริญเติบโตของสมองลูกได้ เพราะฉะนั้นแม่ตั้งครรภ์จึงต้องดูแลตัวเองให้ดี เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของสมองลูกให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ ดังนี้

1. รับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ ให้สารอาหารที่แม่ตั้งครรภ์ต้องการเป็นพิเศษ เช่น แคลเซียม ซึ่งต้องรับประทานให้มากโดยเฉพาะในช่วงท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ เหล็ก วิตามิน เกลือแร่ และที่สำ คัญคือสารอาหารที่เรียกว่า กรดโฟลิก (Folic Acid) ซึ่งมีความสำ คัญต่อการพัฒนาสมองลูกในช่วงปฏิสนธิและ 2 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ สามารถลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความพิการทางสมองของทารกในครรภ์ได้
2. ออกกำลังกายสมํ่าเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ
3. ฝากครรภ์และพบแพทย์เพื่อตรวจครรภ์ตามที่แพทย์นัดสมํ่าเสมอ
4. งดสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำ ให้คลอดก่อนกำ หนด เด็กที่คลอดออกมานํ้าหนักน้อยกว่าปกติ
5. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด ผลของแอลกอฮอล์และยาเสพย์ติดจะทำ ให้โครงสร้างและการทำงานของสมองผิดปกติ เด็กเกิดมามีสติปัญญาบกพร่องหรือบางครั้งรูปร่างของโครงสร้างสมองจะแหว่งๆ ขาดหายไปหรือผิดปกติ เพราะเซลล์ที่ทำ หน้าที่พยุงเซลล์สมองหรือเกลียลเซลล์จะถูกทำลาย โดยเฉพาะโปรตีนที่มีอยู่ในเกลียลเซลล์เหล่านี้จะผิดปกติ ผลคือสมองทำ งานผิดปกติ
6. ห้ามซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะยาบางชนิดมีผลต่อการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ และสมองทารกในครรภ์
7. ห้ามรับการฉายเอ็กซเรย์ เพราะจะมีผลต่อสมองและการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆของทารกในครรภ์
8. หลีกเลี่ยงความเครียด ถ้ามีปัญหาสุขภาพจิตโดยเฉพาะมีอารมณ์ซึมเศร้าและเครียดระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด จะมีผลต่อการเลี้ยงดูลูก ทำให้สัมพันธภาพระหว่างแม่และลูกไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการเจริญเติบโตของสมองลูก

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการดูแลสุขภาพทั้งกายและใจของแม่ตั้งครรภ์มีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองเด็กไปตลอดชีวิต ซึ่งพ่อเป็นผู้มีบทบาทและส่วนสำ คัญในการดูแลสุขภาพกายใจของแม่มากทีเดียว พ่อควรดูแลเอาใจใส่และให้กำ ลังใจแม่ เช่น ร่วมไปเป็นกำ ลังใจเมื่อแม่ไปตรวจครรภ์หรือมีหัตถกรรมต่างๆ เช่น เจาะตรวจนํ้าครํ่า อัลตร้าซาวนด์ คลอด (ควรเข้าไปอยู่ในห้องคลอดด้วย) หลังคลอดพ่อยังช่วยได้มากโดยช่วยแบ่งเบาภาระในการดูแลลูก เช่น ช่วยเปลี่ยนผ้าอ้อม ป้อนนม และอื่นๆ ทำ ให้ความสัมพันธ์พ่อแม่ลูกผูกพันกันแน่นแฟ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อพัฒนาการและความฉลาดของลูกด้วย

ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond



วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 4-1


บทที่ สิ่งที่สร้างเสริมและบั่นทอนความฉลาดของลูก


คนเรามักเข้าใจกันว่าลูกฉลาดเพราะพ่อแม่ฉลาด นั่นเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว กรรมพันธุ์ที่ลูกได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ทาํ ใหล้ กู ฉลาด แต่ความจริงต้องอาศยั อกีปจั จัยหนงึ่ คอื สิ่งแวดลอ้ มและการเลี้ยงดูเขา้ มามีสว่ นรว่ มในการสรา้ งความฉลาดใหกั้บลูก (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)

ลักษณะทางกรรมพันธุ์ซึ่งเป็นเรื่องของธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมกับการเลี้ยงดูจะต้องเอื้ออำนวยซึ่งกันและกัน จึงจะทำ ให้สมองของลูกเจริญเติบโตเป็นปกติ คนเราเกิดมาในโลกนี้เหมือนกับต้นไม้ที่มีเมล็ดพันธุ์อยู่แล้ว แต่จะต้องอาศัยการรดนํ้าใส่ปุ๋ยเพื่อจะทำ ให้เมล็ดพืชเติบโตขึ้นมาเป็นต้นไม้ใหญ่ที่แข็งแรงสมบูรณ์ เปรียบเสมือนสมองของเราที่ธรรมชาติให้มา แต่จะต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ส่งเสริมให้สมองนี้เป็นสมองที่ฉลาดและมีประสิทธิภาพที่สุด จึงกล่าวได้ว่าไม่มีความสามารถหรือความฉลาดใดที่จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยปราศจากสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

กรรมพันธุ์เกี่ยวข้องกับความฉลาดของลูก


เรามาดูกันว่ากรรมพันธุ์จากพ่อแม่บรรพบุรุษที่ถ่ายทอดให้ลูก เกี่ยวข้องกับสติปัญญาและความฉลาดของลูกได้หรือไม่อย่างไร

ลักษณะทางกรรมพันธุ์ที่ลูกได้รับจากพ่อและแม่จะเป็นไปตามกลไกธรรมชาตินับตั้งแต่เริ่มแรกปฏิสนธิ และเป็นตัวกำ หนดให้สมองลูกก่อตัวเป็นรูปเป็นร่าง เจริญเติบโตจนพร้อมที่จะถือกำ เนิด

ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์กรรมพันธุ์จะเป็นตัวกำ หนดว่าสมองลูกจะเจริญเติบโตอย่างไร มีโครงสร้างอย่างไร ถ้าไม่มีผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม สมองของลูกก็จะเจริญเติบโตไปตามที่ลักษณะทางกรรมพันธุ์กำหนด

สิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสมองลูกในครรภ์ เช่น หากแม่ตั้งครรภ์รับประทานยาบางชนิดซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของสมอง จะทำ ให้เซลล์สมองบางส่วนไม่เจริญเติบโต สมองมีความผิดปกติ ลูกอาจมีความบกพร่องทางสติปัญญา เช่น ปัญญาอ่อน หรือเป็นอัมพาต หรือเป็นโรคชัก ฯลฯ นอกจากยาแล้ว การติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์โดยเฉพาะเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น หัดเยอรมัน ก็มีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองด้วย เนื่องจากเชื้อตัวนี้จะไปทำ ให้เกิดการอักเสบและทำ ลายเนื้อเยื่อสมองบางส่วน ทำ ให้ลูกมีสมองพิการ

จากการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์พบว่า กรรมพันธุ์หรือที่เราได้ยินนักวิทยาศาสตร์พูดกันถึงDNA หรือ ยีน ที่เป็นหน่วยทางพันธุกรรม ว่าคนเรามียีนทั้งหมดราว 1 แสนยีน และมียีนถึง 50,000ยีน ที่เป็นตัวกำ หนดโครงสร้างและคุณลักษณะของสมองและระบบประสาท

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบความสำ คัญของยีนต่อสมองมากมายหลายอย่างด้วยกัน เช่นในระยะที่สมองกำ ลังก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างอยู่ในครรภ์แม่ จะมียีนเป็นตัวกำ หนดให้เซลล์สมองเดินทางจากใจกลางเนื้อสมองไปยังพื้นผิวสมองในตำ แหน่งที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อทำ หน้าที่ต่างๆ ทำให้สมองและระบบประสาทต่างๆ ทำ งานเป็นปกติ

หรือมียีนเป็นตัวกำ หนดความเข้มข้นของโปรตีนในเซลล์สมอง และกำ หนดคุณลักษณะของเซลล์สมอง อยา่ งเชน่ เซลลส์ มองที่มีโปรตนี จากยนี ในปรมิ าณสูงกจ็ ะทาํ หนา้ ท่เี ปน็ เซลล์สมองเคลื่อนไหว คือเซลล์สมองส่วนที่ควบคุมการทำ งานของกล้ามเนื้อ ส่วนเซลล์สมองที่มีโปรตีนจากยีนในปริมาณน้อยๆ กจะเป็นเซลล์สมองเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองแต่ละตัว

หรือการค้นพบยีนที่สร้างโปรตีนซึ่งมีส่วนสำ คัญทำ ให้เซลล์สมองเคลื่อนไหวจากจุดหนึ่งไปยังตำ แหน่งที่ถูกต้องในสมอง อย่างเช่น เซลล์สมองที่เกี่ยวกับตาก็จะเดินทางไปอยู่ที่สมองส่วนหลังถ้าเซลล์สมองเดินทางไปยังตำ แหน่งที่ไม่ถูกต้อง ก็จะทำ ให้เกิดความผิดปกติ เช่น อาจจะทำ ให้เกิดเนื้องอกในสมอง หรือความบกพร่องในการเรียนรู้ (Learning Disability) หรือโรคจิตบางประเภท หรือโรคสมองเสื่อม เป็นต้น

หรือมียีนเป็นตัวกำ หนดเส้นทางการแผ่กิ่งก้านของเส้นใยสมอง เช่น ในสมองส่วนที่ทำ หน้าที่เกี่ยวกับการเห็นของคนเรา เส้นใยสมองของเซลล์สมองที่เกี่ยวกับการเห็นจะเรียงตัวเองเป็นชั้น เป็นแท่ง อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย และแบ่งว่าชั้นไหนหรือแท่งไหนที่มาจากตาซ้าย ชั้นไหนแท่งไหนมาจากตาขวา

หรือมียีนที่ชื่อว่าเคร็บยีน เป็นตัวกำ หนดถึงการเชื่อมโยงระหว่างพัฒนาการของสมองทารกในครรภ์ไปจนกระทั่งพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมองหลังคลอด โดยเฉพาะในเรื่องความจำ และการเรียนรู้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและในมนุษย  นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ความจาํ และการเรยี นรตู้ อ้ งอาศยั เครบ็ ยนี ซึง่ เขาทา ํ การทดลองโดยยบั ย้งั หรือหยดุ การทา ํ งานของยนี ตัวน้ใี นหอยทาก พบว่าเกิด กาเปลี่ยนแปลงในสมองของหอยทาก ทำ ให้หอยทากเรียนรู้ได้ในเวลาอันสั้น ไม่สามารถจะมีความจำ ระยะยาวได้ ดังนั้นถ้าหากว่าไม่มีความจำ ระยะยาว เราก็ไม่สามารถเรียนรู้อะไรได้มากกว่าทักษะง่ายๆ

นอกจากนั้นยังมียีนที่มีส่วนกำ หนดพฤติกรรมมนุษย์ เช่น ยีนที่ทำ ให้เกิดความสุข ยีนนี้จะเกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมองที่ชื่อว่าโดปามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำ ให้คนรู้สึกมีความสุข ถ้หากว่ายีนหรือหน่วยทางพันธุกรรมตัวนี้มีความผิดปกติขึ้น ก็จะทำ ให้การทำ งานของโดปามีนลดลงหรือทำ ให้บุคคลนั้นชอบดื่มเหล้า ติดยา หรือมีพฤติกรรมที่จะเพิ่มโดปามีนในสมอง คนที่มียีนตัวนี้ผิดปกติ ก็จะทำ ให้มีโอกาสที่จะเป็นคนติดบุหรี่ ติดเหล้า ติดการพนัน หรือติดยาเสพย์ติดได้ง่าย มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง

และยังมียีนอีกหลายต่อหลายตัวที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของสมอง การเรียนรู้และความจำ ซึ่งล้วนมีผลต่อสติปัญญา ความฉลาด และพฤติกรรมของคนเรา

ทั้งนี้ทั้งนั้น นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการทั้งหลายได้สรุปว่า การเจริญเติบโตพัฒนาการของสมองไม่ได้ขึ้นอยู่กับยีนหรือกรรมพันธุ์เพียงสิ่งเดียว แต่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ คือกรรมพันธุ์ และสิ่งแวดล้อมต้องเอื้ออำ นวยซึ่งกันและกัน

เพราะแม้ในขณะที่ลูกเป็นทารกอยู่ในครรภ์ ซึ่งเราเห็นว่าส่วนใหญ่จะมียีนหรือกรรมพันธุ์เป็นตัวกำ หนดโครงสร้างและคุณลักษณะของสมองดังได้กล่าวไปแล้วก็ตาม แต่กระนั้นสิ่งแวดล้อมก็มีผลต่อสมองลูกอยู่เหมือนกัน อย่างเช่น หากหญิงมีครรภ์ได้รับยาบางชนิด หรือดื่มเหล้า เสพยาเสพย์ติดได้รับการฉายรังสี ก็จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองลูก หรือเกิดความผิดปกติกับการเดินทางของเซลล์สมองในขณะที่สมองกำ ลังเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์ ทำ ให้ลูกเกิดมาอาจมีความบกพร่องทางสมองหรือปัญญาอ่อนได้

เช่น ในการวิจัยปัญหาดิสเล็กเซีย หรือมีปัญหาในการอ่าน โดยใช้หนูทดลอง พบว่า เซลล์สมองอยู่ในตำ แหน่งที่ไม่ถูกต้องประมาณร้อยละ 40 - 50 ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ขณะเป็นทารกอยู่ในครรภ์แม่ คือเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เซลล์สมองกำ ลังเดินทางไปยังตำ แหน่งต่างๆ ของสมอง แต่อาจจะเกิดเหตุการณบ์ างอยา่ งทำ ให้เซลล์สมองเหล่านี้ไม่สามารถเดินทางไปสู่จุดหมายได ้ หนูที่เกิดความผดิ ปกตเิ ชน่นีจ้ ะไมมี่ความสามารถในการเรียนรบู้ างอยา่ ง แตห่ ลังจากนาํ ไปเลยี้ งในสงิ่ แวดล้อมที่มีสิ่งกระตุ้นมากๆ ก็สามารทำ ให้การทำ งานของสมองหรือการเรียนรู้ของหนูตัวนี้ดีขึ้นมาเท่าหนูที่ปกติ

สำหรับคนที่เป็นโรคแอลดี (LD - Learning Disabilities) คือมีปัญหาในการเรียนรู้ เช่น ดิสเล็กเซียหรือมีปัญหาการอ่าน พบว่าคนไข้เหล่านี้มีความผิดปกติในสมองโดยเฉพาะส่วนคอร์เท็กซ์ คือเซลล์สมองที่ควรจะต้องไปอยู่ที่พื้นผิวสมองกลับไปอยู่ตามส่วนอื่นๆ ของสมองในตำ แหน่งที่ไม่ควรจะเป็น คนที่เป็นโรคเช่นนี้จะอ่านหรือเรียนรู้ได้ดีขึ้นหากได้รับการสอน การกระตุ้นที่เหมาะสม

สรุปแล้วกรรมพันธุ์จะเป็นเหมือนวัตถุดิบที่หล่อหลอมมนุษย์ขึ้นมาเป็นตัวเป็นตน แต่ประสบการณ์การเลี้ยงดูเป็นเหมือนเบ้าหลอมความรู้สึกนึกคิด จิตวิญญาณ โดยเฉพาะประสบการณ์ในวัยแรกเริ่มของชีวิตจะเป็นตัวกำ หนดโครงสร้างของสมอง ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ความคิด และพฤติกรรมของคนแต่ละคนไปตลอดชีวิต

ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond



วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 3-2


บทที่ 3-2 ลูกฉลาดเพราะความสามารถของสมอง


ลูกมีความจำ


คนเรามีความจำ ก็เพราะการทำ งานของสมองส่วนเทมโพราลโลบ ปัจจุบันพบว่าความจำของคนเรายังมีอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ความจำ ระยะสั้น (Working Memory) ที่เมื่อได้รับข้อมูลมาแล้วก็จะเอาข้อมูลนี้มาใช้ในการทำ งานหรือส่งไปเก็บไว้ในสมอง (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)

สมองส่วนที่เก็บความจำ ระยะสั้น หรือเก็บข้อมูลใหม่ที่ยังไม่เคยรู้มาก่อน จะอยู่ในสมองด้านหน้าทางขวาและทางซ้าย อยู่ลึกเข้าไป 1 นิ้วจากหน้าผาก มีขนาดเท่าแสตมป์หรือมีขนาดไม่เกิน 1นิ้ว ทำ หน้าที่เป็นสมุดทดชั่วคราวในสมอง ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพ เสียง กลิ่น ข้อมูลทุกอย่างจะถูกส่งมาที่สมองส่วนนี้ก่อน หลังจากนั้นถ้าหากข้อมูลไม่ถูกใช้ก็จะถูกลบทิ้งไป หรือถ้าหากจะต้องเก็บไว้เป็นความจำ ระยะยาว ก็จะส่งต่อไปยังสมองส่วนลึกลงไป คือ ฮิปโปแคมปัส ที่ทำ หน้าที่เก็บความจำ ระยะยาว

ถ้าเราต้องการจะนึกเบอร์โทรศัพท์ หรือเมื่อเห็นหน้าคนคนหนึ่งแล้วพยายามจะนึกว่าคนนี้คือใคร หรอื แมแ้ ตก่ ารคดิ เลขหรือต้องการเขียนหนังสือเป็นประโยคก็ต้องใช้สมองส่วนที่เก็บความจำ ระยะสั้เหมือนกัน แล้วลงไปที่สมองส่วนลึกเพื่อค้นหาข้อมูล เพราะฉะนั้นสมองส่วนนี้จึงเรียกว่า ความจำระยะสั้น หรือเป็นสมุดทดของสมอง

มีการตั้งข้อสังเกตว่า ในเด็กสมาธิสั้นจะพบว่าสมองส่วนที่เป็นสมุดทดหรือความจำ ระยะสั้นจะไม่มีการตอบสนอง เด็กพวกนี้จะมีปัญหาในการจดงานในห้องเรียน หรือไม่สามารถจำ สิ่งที่อ่านได้เพราะว่าสมองส่วนนี้ไม่ทำงานเลย

สมองส่วนที่ทำหน้าที่เป็นสมุดทดนี้จะเก็บข้อมูลได้จำ กัด ถ้าหากว่ามีข้อมูลใหม่เข้ามาโดยที่ข้อมูลตรงนี้ยังไม่ได้ไปเก็บที่ความจำ ระยะยาว ข้อมูลเดิมจะถูกลบทิ้งไป อย่างเช่น ถ้าเราบอกให้คุณจำ ตัวเลข 7 ตัว 7969285 พูดทวนอีกครั้ง แล้วนับเลขถอยหลังทีละ 2 ตัว จาก 99 - 89 เช่น 99 - 97 -95 ไปเรื่อยๆ หลังจากที่นับจบแล้วถามกลับไปว่า จำ ได้ไหมว่าตัวเลข 7 ตัวที่บอกให้จำ คืออะไร จะพบว่าคุณไม่สามารถจะจำ ได้ เนื่องจากว่าข้อมูลนั้นถูกลบทิ้งไปเพราะมีข้อมูลใหม่เข้ามา

นอกจากนี้สมองส่วนสมุดทดยังสามารถเก็บข้อมูลเป็นกลุ่มก้อนได้ อย่างเช่น เบอร์โทรศัพท์แต่ละเขตจะมีกลุ่มหมายเลขขึ้นต้น 3 ตัว ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นเบอร์โทรศัพท์ในเขตไหน เช่น 587 สมองส่วนนี้ก็จะนับเอาตัวเลข 587 เป็นกลุ่มข้อมูล 1 กลุ่มก้อนเท่านั้น ไม่ใช่ตัวเลข 3 ตัวแยกกัน เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าเราอาจเปรียบเทียบสมองเราเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แต่มีความคล้ายคลึงกันมากคอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลทุกอย่างที่เราอยากเก็บไว้ได้ ในขณะที่คนเรามีความจำ ระยะสั้นที่จะถูกลบหายไป กับความจำ ระยะยาวที่เราจะเก็บไว้ จริงๆแล้วเราอยากจะเก็บข้อมูลทุกอย่างแต่ไม่สามารถจะเก็บได้หมดแต่ถ้าหากเราได้รับข้อมูลเดิมซํ้าๆ กลุ่มเซลล์สมองเดิมจะถูกกระตุ้นซํ้าๆ ทำ ให้เรามีความจำ ระยะยาวได้ แต่ถ้าหากว่าเราได้รับข้อมูลเข้าไปเพียงครั้งเดียวและเราไม่ได้ใช้อีกเลย ข้อมูลก็จะถูกลบเลือนหายไป

การท่องจำ ซํ้าๆ จะทำ ให้เราสามารถเก็บข้อมูลที่ได้รับเข้ามาให้เป็นความจำ ระยะยาวได้ แต่การตัดสินว่าจะเก็บข้อมูลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสมองส่วนฮิปโปแคมปัสหรือสมองที่มีหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ สมองส่วนนีทำหน้าที่เหมือนคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ที่เราจะเปิดปิดสวิทช์ว่าเราจะเก็บหรือไม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ปัจจัยด้วยกัน

ปัจจัยแรก คือ ข้อมูลนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับอารมณ์หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นชื่อไดโนเสาร์พันธุ์ต่างๆลูกจะจำได้เพราะข้อมูลผุดขึ้นมามาในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส เพราะเรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์มีความตื่นเต้นเร้าใจ เด็กจะจำ ได้ดีกว่าชื่อยุคสมัยต่างๆ ในหนังสือเรียนวิชาประวัติศาสตร์

ปัจจัยที่สอง คือ ข้อมูลที่เข้ามาใหม่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่รู้แล้วหรือไม่ ตรงนี้ต่างจากคอมพิวเตอร์ คือ ถ้าหากว่าเราเก็บข้อมูลใหม่ ไม่ว่าจะมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือไม่คอมพิวเตอร์ก็จะเก็บบันทึกไว้หมด แต่ในสมองเรามีความแตกต่าง อย่างเช่น ถ้าหากเด็กคนหนึ่งมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์มาก ในสมองจะมีเครือข่ายเส้นใยสมองที่มีข้อมูลตรงนี้อยู่มาก ถ้าเอ่ยชื่อยุคสมัยในประวัติศาสตร์ เด็กคนนี้จะสนใจ สมองส่วนฮิปโปแคมปัสของเขาก็สั่งให้เก็บข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลระยะยาว

การที่เราเลือกเก็บข้อมูลเฉพาะที่ตัวสนใจเป็นสิ่งที่ดี เพราะสมองของเราไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ทุกอย่าง ถ้าเราเก็บทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในสมอง เราจะไม่สามารถมุ่งความสนใจหรือมีความตั้งใจกับเรื่องใดได้เลย มีการผ่าตัดสมองของคนที่มีอาการชักอย่างรุนแรง เอาสมองส่วนฮิปโปแคมปัสออกปรากฏว่าคนคนนี้ยังสามารถมีความทรงจำ เก่าๆ ได้ แต่ไม่สามารถจะเก็บความจำ ใหม่หรือเหตุการณ์ปัจจุบันเข้าไปได้ อย่างเช่น ไม่สามารถบอกว่าเมื่อเช้ากินอะไร ไม่สามารถบอกว่าวันนี้เป็นวันอะไรหรือตัวเองอยู่ที่ไหน

ความจำ ของคนเราจะค่อยๆ ลดประสิทธิภาพลงเมื่ออายุมากขึ้น เพราะสมองส่วนนี้จะค่อยๆฝ่อไป ลดการทำ งานลง ดังนั้นเด็กๆ จึงมีความจำ ดีกว่าคนแก่

ลูกสามารถเรียนรู้ภาษา


ภาษาเป็นสิ่งที่ทำ ให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ กล้ามเนื้อของเรามีการเคลื่อนไหวตอบสนองต่อเสียงแบบอัตโนมัติที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทารกในครรภ์อายุประมาณ 7 เดือน และหลังคลอดสมองก็พร้อมที่จะทำ งานได้ทันที เพราะเส้นใยสมองและระบบประสาททั้งหลายมีพร้อมอยู่แล้ว ต้องการเพียงแค่สิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมเท่านั้นก็จะเกิดการเรียนรู้ภาษาขึ้น

การเรียนรู้ภาษาครั้งแรกของลูก เป็นการเรียนรู้วิธีพูด กว่าลูกจะพูดได้คำ แรกสมองของลูกจะต้องทำ งานล่วงหน้ามาก่อนแล้วทั้งสมองส่วนการได้ยินและการเห็น โดยเฉพาะการได้ยิน ถ้าลูกเกิดมาหูหนวกเสียแล้ว ก็จะทำ ให้ลูกเป็นใบ้ด้วย เพราะเกิดมาในโลกที่ไม่ได้ยินเสียง จึงไม่รู้ว่าเสียงที่คนเราพูดกันเป็นอย่างไร และการมองเห็นก็ทำ ให้ลูกสามารถเลียนแบบวิธีพูดจากแม่หรือคนรอบข้างรวมทั้งเกิดความเข้าใจว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นเรียกว่าอะไร

การพูดของคนเราเกิดจากการทำ งานของกลุ่มเซลล์สมองที่ติดต่อถึงกันหลายกลุ่ม เพราะคำแต่ละคำ มีความเกี่ยวเนื่องกับคำ อื่นๆ ด้วย แล้วในกลุ่มเซลล์สมองที่สร้างคำ พูดเป็นประโยคก็ยังแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ที่ใช้เรียกคำ แต่ละคำ เช่น นํ้า ดอกไม้ ข้าว ฯลฯ ด้วยการทำ งานติดต่อกันของกลุ่มเซลล์สมองทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อยแบบนี้จึงทำ ให้ลูกเกิดการเรียนรู้ภาษาขึ้น

ถ้าสมองเกิดได้รับอันตราย ทำ ให้กลุ่มเซลล์สมองเกี่ยวกับการพูดเสียหาย เช่น คนที่เป็นโรคสมองอักเสบ ก็จะทำ ให้คนนั้นสูญเสียความสามารถทางภาษาบางส่วนไป เช่น ไม่สามารถพูดคำ บางคำได้

การที่ลูกสามารถพูดได้ เรียกชื่อสิ่งต่างๆ ได้ ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่พ่อแม่คนรอบข้างป้อนเข้าไปถ้าเราสอนให้ลูกรู้ว่าสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรียกว่าอะไร โดยการชี้เรียกชื่อสิ่งนั้นให้ลูกฟังบ่อยๆ หรือพูดคุยกับลูกบ่อยๆ ก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้จะเข้าไปอยู่ในกลุ่มเส้นใยสมอง ทำ ให้ลูกจำ ได้ และค่อยๆ เรียนรู้จักคำต่างๆ

ยิ่งกว่านั้นถ้าผู้ใหญ่จะแสดงความรู้สึกต่อสิ่งนั้นด้วย ก็จะยิ่งทำ ให้ลูกเกิดความเข้าใจภาษาหรือความหมายของคำ ที่พูด เช่น ถ้าพ่อแม่สอนให้ลูกรู้จักว่า "นี่คือดอกไม้" พร้อมกับก้มลงดมดอกไม้ ยิ้มพอใจ ลูกก็จะเรียนรู้ว่าดอกไม้เป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจ ข้อมูลนี้ก็จะถูกเก็บเข้าไปในสมองเช่นกัน หรือถ้าลูกถามว่านี่อะไรแล้วชี้ไปที่สุนัขตัวใหญ่ ตัวสกปรก น่ากลัว พ่อแม่ทำ หน้าตาว่าน่ากลัวแล้วก็บอกว่า "อย่าเข้าไปใกล้นะ น่ากลัว อันตรายเดี๋ยวมันกัดเอา" ใส่ความรู้สึกน่ากลัวเข้าไปด้วยเด็กก็จะรับข้อมูลทั้งหลายนี้เข้าไปเก็บไว้ในสมองเช่นกัน

หลังจากนั้นเมื่อเราเอ่ยถึงสิ่งที่สอนลูกให้รู้จัก ลูกจะนึกถึงสิ่งนั้น พยายามมองหาสิ่งนั้น การที่เราพูดคุยหรือสอนให้ลูกรู้จักสิ่งต่างๆ บ่อยๆ เป็นการกระตุ้นเครือข่ายเซลล์สมองของลูก ทำ ให้เกิดการค้นหาข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในสมองตั้งแต่แรก หรือเรียกง่ายๆ ว่า ความจำ นั่นเอง

การเรียนรู้ภาษาของลูกในระยะเริ่มต้นนี้ยังเป็นในลักษณะรูปธรรม ลูกจะรับรู้ได้เฉพาะสิ่งที่จับต้องมองเห็นได้ ยังไม่เข้าใจภาษาในลักษณะนามธรรม เช่น คำ ศัพท์ที่มองไม่เห็นหรือจับต้องไม่ได้หรือรู้จักแต่คำ ง่ายๆ นั่นเอง เช่น ถ้าพูดกับเด็ก 2 ขวบว่า "มือ" เด็กจะยกมือขึ้นด้วย

การเรียนรู้ภาษานี้แม้จะเป็นการทำ งานของสมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์ก็จริง แต่ก็ต้องอาศัยสมองอาร์เบรนเป็นพื้นฐานด้วย และเมื่อลูกโตขึ้นสมองส่วนที่เกี่ยวกับทางอารมณ์ก็จะช่วยเสริมให้ลูกเรียนรู้ภาษาได้ดียิ่งขึ้น เข้าใจและรู้จักใช้ภาษาอย่างสลับซับซ้อนมากขึ้นด้วย

ลูกจะใช้ภาษาที่เป็นรูปธรรมไปจนถึงวัย 7 ปี หลังจากนั้นจึงจะรู้จักภาษาที่เป็นนามธรรมสามารถจะเอาคำ และสิ่งต่างๆ มาสัมพันธ์กัน ถือเป็นพัฒนาการทางภาษาอีกขั้นตอนหนึ่ง

เมื่ออายุประมาณ 11 - 12 ปี ลูกจะเข้าใจภาษาที่มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ต้องเกี่ยวข้องกับการใช้ความคิด สติปัญญา จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ด้วย เป็นการใช้สมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์ แต่ลูกจะมีพัฒนาการทางภาษาเป็นไปด้วยดีตามขั้นตอนนี้หรือไม่ สิ่งสำ คัญขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก พบว่าเด็กที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแม่มักจะมีพัฒนาการและทักษะทางภาษาที่ดี เพราะแม่มักจะพูดคุยกับลูกตลอดเวลา และหากแม่พ่อคนรอบข้างเป็นคนพูดเก่งด้วยยิ่งดีเพราะจะคอยกระตุ้นหรือมีข้อมูลส่งป้อนให้สมองส่วนที่เกี่ยวกับภาษาทำ งานบ่อยๆ ทำ ให้ลูกพูดเก่งไปด้วย รู้ภาษาได้เร็ว และฉลาด เพราะมีข้อมูลป้อนอยู่ตลอดเวลา ถ้าลูกมีคนพูดคุยด้วยตั้งแต่เล็กๆตลอดเวลา ก็จะพูดได้คล่องเมื่ออายุ 3 ขวบ


เด็กแต่ละคนอาจจะมีพัฒนาการทางภาษาเร็วช้าแตกต่างกัน แต่ก็พอมีข้อสังเกตได้ว่าพัฒนาการทางภาษาอาจจะไม่เป็นไปตามปกติ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางสมอง ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อทำ การรักษา หาสาเหตุของความผิดปกติและให้ความช่วยเหลืออย่างเช่นด้วยการฝึกพูดหรือวิธีอื่นๆ เป็นต้น

ต่อไปนี้เป็นอาการเตือนว่าเด็กมีพัฒนาการในการเรียนรู้ภาษาผิดปกติ


ในการเรียนรู้ภาษา ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาบอกว่าไม่จำ เป็นต้องใช้อุปกรณ์อะไรมากมาย ขอให้เป็นเด็กเท่านั้นก็จะเรียนรู้ได้ดี

สมองสร้างบุคลิกภาพให้ลูก


บุคลิกภาพของคนเราเป็นลักษณะประจำ ตัวที่ทำ ให้คนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน นับตั้งแต่ลักษณะนิสัย ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติมุมมองต่อสิ่งต่างๆ

บุคลิกภาพมีความสำ คัญต่อชีวิตเราอย่างยิ่ง ถ้าเรารู้ว่าเรามีบุคลิกหรือเป็นคนอย่างไร เราก็จะสามารถปรับตัวดำ เนินชีวิตได้อย่างมีความสุข มีจุดมุ่งหมาย และประสบความสำ เร็จในชีวิตได้เพราะฉะนั้นสิ่งสำ คัญที่สุดเราจะต้องค้นพบตัวเอง แล้วเป็นตัวของตัวเอง

การค้นพบตัวเอง การรู้ตัวเอง เป็นความฉลาดอย่างหนึ่ง และที่เราจะรู้ตัวเองหรือรู้พฤติกรรมของเราเองได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับเรามองตัวเราอย่างไรเมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมในโลกนี้ และเราจะสามารถควบคุมพฤติกรรมของเราได้อย่างไร ซึ่งความสามารถที่จะจัดการและควบคุมชีวิตเรานี้ เป็นความสามารถที่เรียกว่า ประสิทธิภาพส่วนบุคคล

คนที่มีประสิทธิภาพส่วนบุคคลสูง ก็จะมีความมั่นใจในการมีพฤติกรรมโต้ตอบที่ถูกต้อง แต่คนที่มีประสิทธิภาพในตัวเองตํ่าจะไม่มั่นใจในตัวเอง มีความวิตกกังวลเมื่อจะต้องมีการโต้ตอบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจจะอยู่นอกเหนือการควบคุมของคนคนนั้น

แล้วบุคลิกภาพเกิดจากอะไร มาจากไหน นักวิชาการบางคนบอกว่ารอยหยักบนพื้นผิวสมองนั่นเองเป็นตัวกำ หนดบุคลิกภาพของเรา เพราะสมองส่วนนี้ทำ ให้เราตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม มีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของเรา

ถ้าถามว่าบุคลิกภาพของลูกเราจะเป็นอย่างไร ก็คงจะขึ้นอยู่กับรอยหยักในสมองซึ่งถูกกำ หนดมาเรียบร้อยแล้วโดยกรรมพันธุ์ บวกกับการเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิดช่วยกันหล่อหลอมบุคลิกภาพประจำ ตัวลูก

จึงเป็นเรื่องจำ เป็นที่คนเป็นพ่อแม่จะต้องเลี้ยงดูลูกให้เป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่ดี เป็นคนมองโลกในแง่ดี รู้จักปรับตัว คิดวิเคราะห์แก้ปัญหา เพราะคนที่มีบุคลิกภาพที่ดีจะสามารถเอาข้อมูลที่มีอยู่มาชว่ ยในการตดั สินใจและชว่ ยใหแ้ สดงออกไดเ้ หมาะสม สามารถปรบั ตวั และทนตอ่ สิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีได้

สรุป


สมองมีโครงสร้างและการทำ งานที่ซับซ้อนละเอียดอ่อนมาก ควบคุมระบบการทำ งานของร่างกายที่สำ คัญๆ และระบบประสาททุกส่วน ซึ่งส่งผลต่อความสามารถด้านต่างๆ ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรม รวมถึงสติปัญญาและความฉลาดของคนเรา

ความรู้เรื่องโครงสร้างและการทำ งานของสมองนี่เอง จะทำ ให้พ่อแม่สามารถมองเห็นที่มาที่ไปของความรู้สึกคิด การเรียนรู้เรื่องต่างๆ และการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมของลูก เพื่อเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมพัฒนาทักษะและความสามารถของลูกได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป


ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond






วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 3-1

บทที่ 3-1 ลูกฉลาดเพราะความสามารถของสมอง

ตอนนี้คงเห็นภาพแล้วว่าสมองของลูกมีการเจริญเติบโตอย่างไรตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์แม่จนถึงหลังคลอดและยังต้องมีการเจริญเติบโตต่อไปอีก พอเกิดมาสมองของลูกก็มีโครงสร้างมาครบถ้วนและมีการทำ งานแล้วด้วย ถึงจะยังไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็เพียงพอที่จะทำ ให้ลูกแรกเกิดมีชีวิตอยู่ได้ มีความสามารถบางอย่าง เช่น ลูกสามารถมองเห็นในระยะใกล้ๆ ลูกสามารถได้ยินเสียง ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมได้ เช่น ถ้าร้อน หนาว เปียกแฉะ มดกัด ลูกก็จะร้องไห้ เป็นต้น

พ่อแม่จะเห็นว่าความสามารถของลูกจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นทีละน้อยตามวัย จนในที่สุดลูกจะเติบโตมีความสามารถมากมาย แต่ถ้ามองให้ลึกลงไป ความสามารถเหล่านี้เกิดจากการทำ งานของสมองทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นถ้าจะกล่าวว่าสติปัญญาและความฉลาดของลูกเกิดขึ้นได้เพราะความสามารถของสมองก็คงไม่ผิด

สมองทำให้ลูกมีความสามารถ

ดังได้กล่าวมาแล้วว่าสมองของลูกน้อยมีความมหัศจรรย์ มีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนและมีหน้าที่การทำ งานต่างๆ วิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำ ให้เราเข้าใจได้ว่าสมองที่สลับซับซ้อนของลูกมีความสามารถได้อย่างไร คราวนี้มาดูกันว่าสมองทำ ให้ลูกมีความสามารถต่างๆ ได้อย่างไร

ลูกเคลื่อนไหวได้

ได้พูดแล้วว่า กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของลูกแรกเกิดยังทำ งานแบบอัตโนมัติโดยไม่มีวัตถุประสงค์ ลูกวัย 1 - 2 เดือนจะยังไม่รู้จักไขว่คว้าของเล่น แต่ก็มีการเคลื่อนไหวแขน ขา มือ และเท้า ซึ่งเป็นการทำ งานขั้นพื้นฐานของสมองส่วนเซนซอรี่มอเตอร์คอรเ์ ท็กซ ์ ทาลามสั และเบซาลแกงเกลยี ซึ่งมีเส้นใยสมองและไขมันสมองค่อนข้างครบถ้วนแล้ว

วันเวลาผ่านไป ลูกเติบโตขึ้น สมองมีการเจริญเติบโต มีพัฒนาการมากขึ้น ก็จะทำงานอย่างมีวัตถุประสงค์มากขึ้น เช่น เด็ก 4 - 5 เดือนก็จะเริ่มรู้จักไขว่คว้าของเล่น ซึ่งต้องอาศัยการประสานงานของทั้งสมองที่ควบคุมการเห็นและการทำ งานของกล้ามเนื้อมือและแขน สมองข้างซ้ายจะควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อของร่างกายข้างขวา รวมถึงกล้ามเนื้อใบหน้า แขนขา ข้างขวา ส่วนสมองข้างขวาจะควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อของร่างกายข้างซ้าย รวมถึงกล้ามเนื้อใบหน้า การหลับตา การขยับปาก และแขนขาข้างซ้าย

การทำงานของกล้ามเนื้อในร่างกายลูก แบ่งออกเป็น การทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ตัวอย่างของการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การเดิน การยกมือ การขยับแขนขา การขึ้นลงบันได การถีบจักรยาน ในขณะที่การทำ งานของกล้ามเนื้อมัดเล็กจะเกี่ยวข้องกับการเขียนหนังสือ การติดกระดุม การผูกเชือก การวาดรูป การทำงานฝีมือ

การทำ งานของกล้ามเนื้อเหล่านี้แม้ว่าจะพัฒนาไปตามธรรมชาติ แต่หากขาดการฝึกฝนตั้งแต่เล็ก ลูกจะขาดทักษะและความชำ นาญในการใช้ร่างกายส่วนนั้นๆ ไป ยกตัวอย่างเช่น ถ้าขาดทักษะทางกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ลูกก็จะไม่คล่องแคล่วว่องไว ถ้าขาดทักษะทางกล้ามเนื้อมัดเล็ก ก็จะเขียนหนังสือได้ช้า หรือไม่มีความสามารถทำ งานที่ละเอียดประณีต

ลูกมองเห็นได้

ลูกมองเห็นได้ด้วยการทำ งานของประสาทตาหรือสมองส่วนที่ควบคุมการเห็น โดยอาศัยการมองเห็นภาพต่างๆ เข้าสู่สายตา ผ่านไปยังจอภาพข้างหลังตาซึ่งประกอบด้วยเซลล์สมอง ต่อจากนั้นเซลล์สมองก็จะส่งข้อมูลไปยังสมองที่เกี่ยวกับการเห็นหรือสมองส่วนออกซิปิทอลโลบโดยผ่านทางเส้นใยสมอง ผ่านจุดเชื่อมต่อ ทำ ให้เกิดปฏิกิริยาสร้างสารเคมีและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นหลังจากนั้นสมองส่วนของการมองเห็นจะแปลภาพที่เห็นออกมาให้มีความหมาย โดยอาศัยสมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์และสมองส่วนหน้า

นักวิจัยพบว่า ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสี รูปร่าง หรือการเคลื่อนไหวของวัตถุจะถูกป้อนไปยังสมองหลายส่วน ไม่ได้ป้อนข้อมูลไปที่เดียวกัน แต่สมองหลายๆ ส่วนก็สามารถเอาข้อมูลเหล่านี้มาประกอบกันออกมาเป็นรูปภาพ แต่ทำ ได้อย่างไรยังไม่มีใครทราบ

นักวิชาการบางคนเรียกการมองเห็นภาพว่าเป็นส่วนหนึ่งของความคิด เพราะแม้กระทั่งคนตาบอดแต่กำ เนิดก็สามารถจะคิด จินตนาการรูปภาพได้ การมองเห็นจึงขึ้นอยู่กับการทำ งานของสมอง ในขณะเดียวกันสมองก็ตอบสนองต่อการมองเห็นด้วย

การเห็นภาพต่างๆ ของคนเราเกิดจากตาเพียง 20 % ในขณะที่อีก 80 % เกิดจากการทำงานของสมองส่วนต่างๆ ที่ทำ หน้าที่เกี่ยวกับการเห็น ข้อมูลเกี่ยวกับการเห็นจะไปรวมกันที่ศูนย์กลางของการเห็นที่อยู่ตรงส่วนกลางของสมอง ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเห็น อย่างเช่น ในขณะที่เรามองหน้าคนคนหนึ่ง สมองของเราส่วนที่มองเห็นใบหน้าก็จะแปลภาพออกมาว่านี่คือใบหน้า และสมองส่วนอื่นจะแปลสีหน้าของคนคนนั้นว่าเป็นอย่างไร เช่น กำ ลังสุข หรือเศร้า หรือโกรธ ในขณะที่สมองอีกส่วนก็จะเชื่อมข้อมูลว่าคนหน้าตาแบบนี้คือใคร แล้วเอาข้อมูลต่างๆ มาผสมกันให้เรารับรู้ว่าคนหน้าตาอย่างนี้คือใคร ชื่ออะไร กำ ลังดีใจหรือเสียใจ หรือมีอารมณ์อย่างไร

การสร้างภาพหรือการมองเห็นภาพยังเกิดจากสมองส่วนใดส่วนหนึ่งทำ งานได้ด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามองภาพที่ต้องใช้ความคิด สมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์ก็จะทำ งาน แต่ถ้าภาพนั้นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา เป็นภาพเกี่ยวกับอารมณ์ ก็จะกระตุ้นให้สมองที่เกี่ยวกับอารมณ์หรือสมองลิมบิกทำงาน หรือถ้าเป็นภาพที่ค่อนข้างจะคงที่และสามารถส่งข้อมูลเข้าสายตาสู่ประสาทตาโดยตรงสมองส่วนอาร์เบรนก็จะทำ งาน

นอกจากนั้นสมองยังมีความสามารถที่จะจับจ้องหรือเลือกมองเห็นเฉพาะสิ่งที่สนใจเท่านั้นแม้ว่าสิ่งนั้นจะอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ก็ตาม

ลูกได้ยิน

เชื่อไหมว่าขณะที่แม่ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 4 เดือนครึ่ง อวัยวะที่เกี่ยวกับการได้ยินของลูกก็พัฒนาจนสมบูรณ์แบบแล้ว สมองส่วนเทมโพราลโลบซึ่งมีความสำ คัญที่สุดต่อการได้ยินได้พัฒนาขึ้นแล้ว และเมื่อแรกเกิด สมองส่วนนี้ของลูกก็มีไขมันห่อหุ้มเส้นใยสมองเรียบร้อยแล้ว ในขณะที่สมองส่วนอื่นยังเพิ่งเริ่มสร้างไขมันหรือมันสมองห่อหุ้มเส้นใยสมอง

นักวิทยาศาสตร์พบว่า ทารกในครรภ์ไม่ใช่เพียงได้ยินอย่างเดียว แต่สามารถที่จะพยายามเลียนเสียงหรือเรียนรู้เกี่ยวกับคำ พูด พยายามขยับกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการออกเสียงโดยเฉพาะในลักษณะของการร้องไห้ ซึ่งทำ ให้ลูกสามารถร้องไห้ได้ทันทีหลังคลอด

เสียงเต้นของหัวใจแม่เป็นสิ่งกระตุ้นที่สำ คัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการเกี่ยวกับการได้ยินของลูก เนื่องจากเป็นเสียงที่ใกล้ตัวลูก มีจังหวะค่อนข้างคงที่สมํ่าเสมอ และพบว่าทารกในครรภ์อายุ 7 เดือนมีการเคลื่อนไหวร่างกายตอบสนองต่อเสียงของแม่ เรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์บอกว่า เซลล์ผิวหนังทุกส่วนของร่างกายลูกมีส่วนเกี่ยวข้องกับการได้ยิน เนื่องจากเซลล์ผิวหนังสามารถรับคลื่นเสียงแล้วส่งต่อไปยังสมองได้

ในสมองที่ทำ หน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินยังมีการสร้างแผนที่สำ หรับเสียงต่างๆ ด้วย พบว่าเมื่อคนเราได้ยินเสียงที่มีความแตกต่างกัน เช่น เสียง “พ่อ” กับ เสียง “แม่” จะมีการทำ งานของเซลล์สมองเกิดขึ้นคนละที่ และถ้าได้ยินเสียงเดิมอีก เช่น เสียง "พ่อ" หรือ "แม่" สมองส่วนที่เคยได้รับเสียง "พ่อ" ก็จะทำงาน ถ้าเป็นเสียง "แม่ " สมองส่วนที่เคยได้รับเสียง "แม่" ก็จะทำ งาน ถ้าหากเสียงใกล้เคียงกันมาก เช่น เสียง "รา" กับ "ลา" สมองอาจจะไม่สามารถแยกได้ ทำให้เซลล์สมองที่รับผิดชอบสองเสียงนี้ทำงานขึ้นพร้อมๆ กัน เนื่องจากว่าเซลล์สมองระหว่างสองเสียงนี้จะอยู่ใกล้กันมาก ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้

พอลูกอายุประมาณ 1 ปี แผนที่การได้ยินในสมองจะมีโครงสร้างที่สมบูรณ์ เช่น เสียงนี้เซลล์สมองส่วนนี้รับผิดชอบ อีกเสียงหนึ่งเซลล์สมองอีกที่รับผิดชอบ เป็นต้น เมื่อเด็กโตขึ้นเขาจะไม่สามารถแยกเสียงที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนได้ เพราะไม่มีเซลล์สมองที่จะตอบสนองต่อเสียงนั้น เนื่องจากไม่เคยได้ยินมาก่อน เพราะฉะนั้นการที่เด็กยิ่งโต การเรียนรู้ภาษาก็จะเป็นได้ยากขึ้น เนื่องจากไม่มีเซลล์สมองที่ยังไม่ถูกจัดแผนที่เหลืออยู่ หรือไม่มีเซลล์สมองที่ยังไม่ถูกใช้งานเหลือไปใช้เรียนรู้ภาษาหรือคำใหม่ๆ ได้

การเรียนรู้คำ ศัพท์ก็เช่นกัน ถ้าลูกเล็กๆ มีแม่หรือคนรอบข้างเป็นคนพูดเก่ง ลูกจะรู้คำ ศัพท์
มากกว่าเด็กที่อยู่กับคนพูดไม่เก่ง

การทำงานของการได้ยินยังทำ งานควบคู่ไปกับการเห็น เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการอ่าน ที่เรียกว่า ดิสเล็กเซีย (Dyslexia) เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มของประสาทส่วนในของหูกับการเห็น คนไข้ที่อ่านหนังสือไม่ได้เหล่านี้จะไม่เห็นตัวหนังสือบนแผ่นกระดาษ แต่จะเห็นตัวหนังสือลอยละล่องไปมาอยู่บนกระดาษ บางครั้งเห็นตัวหนังสือกลับหัวกลับหางกลับข้าง ทำให้ไม่สามารถจะอ่านหนังสือได้ หมอชาวอังกฤษโบราณได้สังเกตว่าคนไข้เหล่านี้ถ้าหากว่าให้ยาแก้แพ้หรือยาแก้เมารถซึ่งมีผลต่อระบบประสาทที่เกี่ยวกับการทรงตัว คนไข้เหล่านี้อาการจะดีขึ้น แต่ในปัจจุบันยาแก้แพ้ไม่ใช่วิธีการรักษาคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องการอ่าน

การที่คนเราได้ยินเสียงต่างๆ นั้น เริ่มจากคลื่นเสียงจากภายนอกจะถูกส่งไปยังกลุ่มประสาทสัมผัสที่อยู่ด้านในสุดของหู คลื่นที่เข้าไปนี้จะปรับเปลี่ยนคลื่นเสียงที่มีอยู่ภายใน ทำ ให้เกิดเป็นคลื่นเสียงรูปลักษณ์ใหม่

คลื่นเสียงที่อยู่ภายในสังเกตได้ ถ้าหากเราอยู่ในที่เงียบๆ จะได้ยินเสียงเหมือนเสียงนกหวีดเบาๆ ซึ่งเป็นเสียงที่ค่อนข้างคงที่ และถ้าเรายิ่งตั้งใจฟัง เสียงนี้จะยิ่งดังขึ้น แต่พอเราได้ยินเสียงจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้ามา ก็จะเป็นคลื่นเสียงที่เข้าไปเปลี่ยนคลื่นเสียงภายใน ทำ ให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงของคลื่นเสียงที่เกิดขึ้นในตัวเรา แล้วจะถูกส่งไปยังกลุ่มเซลล์สมอง ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงเสียงเหล่านี้ให้เป็นกระแสไฟฟ้าและส่งไปที่สมองอาร์เบรน ก่อนจะถูกส่งต่อไปให้สมองทุกส่วน ทำ ให้เราสามารถเข้าใจเสียงที่ ได้ยินได้

อย่างเช่น เมื่อบีบแตรรถยนต์จะทำ ให้เกิดคลื่นเสียง คลื่นเสียงจะเข้าไปในประสาทหู เข้าไปในสมองทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้นในกลุ่มของเซลล์สมอง ประจุไฟฟ้าเหล่านี้จะเดินทางกลับไปที่หูส่วนในอีกครั้งหนึ่งเพื่อที่จะบอกว่าเสียงแตรนี้มาจากทิศไหน

จะเห็นว่าการได้ยินที่ทำ ให้เราเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ได้ เกิดจากการทำ งานของสมองหลายส่วนด้วยกัน นับตั้งแต่สมองส่วนลิมบิกที่จะตอบสนองต่อคลื่นต่างๆ ที่เข้ามาที่ตัวเราด้วยการอาศัยความช่วยเหลือจากสมองนีโอคอร์เท็กซ์แล้วแปลคลื่นออกมา ผลลัพท์ของการติดต่อของสมองส่วนต่างๆ ก็จะส่งไปที่ประสาทรับการได้ยินและการทรงตัวที่หูส่วนใน ซึ่งจะทำ ให้รู้ว่าเสียงต่างๆ เหล่านั้นมาจากที่ใด

นักวิจัยพบว่า ประสาทการได้ยินและประสาทสัมผัสมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดมาก โดยเฉพาะเสียงทุ้มหรือเสียงตํ่าจะใกล้ชิดกับประสาทสัมผัสมากกว่าเสียงแหลมสูง อย่างเช่น เด็กที่ขาดการสัมผัสมาตั้งแต่เล็กๆ จะชอบฟังเพลงที่ดังมากๆ ประเภทเพลงร็อกที่ดังสนั่น เพราะเสียงเพลงที่ดังมากๆ อย่างนี้ จะทำ ให้เกิดการสั่นสะเทือนที่ไปกระทบประสาทสัมผัส ซึ่งเด็กไม่ได้รับมาก่อนนั่นเอง

ลูกมีความฉลาดและความรู้สึกนึกคิด

เราไม่สามารถบอกได้ว่าสมองส่วนใดส่วนหนึ่งหรือจุดใดจุดหนึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับความฉลาดและความคิด แตเ่ ชอื่ กนั วา่ สมองนโี อคอรเ์ ทก็ ซม์ หี นา้ ทเี่ กยี่ วกบั ความฉลาดและความรสู้ กึ นกึ คดิ ของคนเรา

ความฉลาด เป็นความสามารถในการรู้สึกนึกคิด เรียนรู้ ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ถ้าสมองยิ่งสลับซับซ้อนมากและพัฒนาได้สมบูรณ์เท่าไร สมองจะมีความสามารถที่จะเรียนรู้และมีประสบการณ์มากขึ้น ขณะเดียวกันก็เก็บข้อมูลใส่กลับเข้าไปในสมอง ทำ ให้มีการเปลี่ยนแปลงภายในสมองตลอดเวลาทำให้พฤติกรรมการตอบสนองของเราต่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปตามประสบการณ์ที่เราได้รับมา

สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลกนี้ล้วนสามารถตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้ทั้งนั้น แม้กระทั่งไวรัสและแบคทีเรีย แต่เป็นการตอบสนองในรูปแบบง่ายๆ ขณะที่คนเรามีระบบประสาทที่สลับซับซ้อนที่ทำ ให้การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างสลับซับซ้อนมากกว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีปฏิกิริยาตอบสนองเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง ด้วยการใช้ความฉลาดเป็นตัวชี้นำ

สมองของเราเป็นสิ่งมหัศจรรย์มาก เซลล์สมองสามารถที่จะเก็บข้อมูล แปลข้อมูลที่เข้ามาเป็นคลื่นกระแสไฟฟ้าแล้วเก็บไว้เป็นประสบการณ์เข้าไปในสมอง เปรียบเสมือนคลื่นไฟฟ้าที่ทีวีรับมาแล้วแปลออกมาเป็นภาพบนจอให้เราเห็น คลื่นสมองหรือคลื่นไฟฟ้าที่เข้ามาในสมองจะเป็นตัวกำหนดธรรมชาติของสิ่งที่เรารับรู้ เช่น กายภาพ ความฉลาด อารมณ์ และความเป็นจริงเกี่ยวกับความคิด ความรู้สึกตัว และอื่นๆ

ความฉลาดหรือความสามารถเฉพาะด้าน อย่างเช่นภาษา เกิดจากวงจรของกระแสไฟฟ้าของเซลล์สมองในสมองของเรานั่นเอง เป็นพัฒนาการของสมองที่เอาข้อมูลจากสิ่งกระตุ้นและการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นเก็บเข้ามาเป็นโครงสร้างของความรู้ เหมือนเราเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเราสามารถจะเรียกขึ้นมาใช้เมื่อไรก็ได้ ธรรมชาติจะค่อยๆ ทำ ให้เรามีความสามารถหรือมีความฉลาดขึ้นเป็นลำ ดับตามช่วงเวลาของพัฒนาการหรือระยะเวลาที่เหมาะสม

ถ้าหากเราดูแลในเรื่องของสติปัญญาหรือความฉลาดของเด็กไม่เหมาะสม โดยเร่งมากเกินไปหรือปล่อยปละไม่สนใจให้เด็กได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสมตามวัย ก็จะทำ ให้มีปัญหาทางด้านสติปัญญาหรือความฉลาดได้ ยกตัวอย่างเช่น เนื้อสเต็กไม่เหมาะที่จะเป็นอาหารสำ หรับเด็ก เล็กที่ยังไม่มีฟัน หรือนมแม่ก็ไม่เหมาะสำ หรับเด็กวัยรุ่น เป็นต้น

สิ่งที่เด็กต้องการสำ หรับการพัฒนาสติปัญญาและความฉลาด คือ สิ่งแวดล้อมหรือการเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสม ผู้เลี้ยงดูเด็กควรมีความรู้ในการเลี้ยงดูเด็ก ให้โอกาสเด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลเข้าไปสร้างเป็นโครงสร้างความรู้ในสมอง แต่สิ่งสำ คัญก็คือจะต้องคำ นึงถึงความเหมาะสมกับวัยของเด็กด้วย

ถึงแม้เราจะไม่สามารถบอกได้ว่าความฉลาดอยู่ที่ส่วนใดของสมอง แต่สมองข้างซ้ายและสมองข้างขวาก็จะมีส่วนร่วมในการทำ งานที่เกี่ยวกับความฉลาดด้วย สมองข้างซ้ายและสมองข้างขวานอกจากจะควบคุมการทำ งานของกล้ามเนื้อและรับประสาทสัมผัสความรู้สึกจากร่างกายด้านตรงข้ามแล้ว ยังมีหน้าที่แตกต่างกันในเรื่องของการเรียนรู้ด้วย

สมองข้างซ้ายจะมีหน้าที่คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีสามัญสำ นึก การจัดระบบ การดูแลรายละเอียดและการทำ งานที่จะต้องทำ ทีละอย่าง การควบคุมเกี่ยวกับภาษา ตัวเลข สัญลักษณ์ต่างๆเป็นสมองส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับการแสดงออก (expression) การวิเคราะห์ การควบคุมเกี่ยวกับการพูด การเขียน

ขณะเดียวกันสมองข้างขวามีหน้าที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ สัญชาตญาณเป็นส่วนที่ค่อนข้างผ่อนคลาย เป็นสมองที่เป็นจิตใต้สำ นึกมากกว่า ในขณะที่สมองข้างซ้ายเป็นส่วนที่อยู่ในจิตสำ นึก สมองข้างขวาจะทำ หน้าที่สร้างกระบวนการต่างๆ อย่างรวดเร็ว สามารถทำ อะไรหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับสมองข้างซ้ายที่จะทำ ได้ทีละอย่าง สมองข้างขวาจะมองภาพแบบรวมๆ มากกว่าเจาะรายละเอียดเหมือนสมองข้างซ้าย สมองข้างขวามีหน้าที่เกี่ยวกับ
การรับรู้ความเข้าใจมากกว่าสมองข้างซ้ายที่จะทำ หน้าที่เกี่ยวกับการแสดงออก สมองข้างขวายังทำ
หน้าที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ ศิลปะ ดนตรี และเรื่องของมิติสัมพันธ์

ส่วนความฉลาดในลักษณะของการ "รู" การค้นพบสิ่งต่างๆ หรือหาคาํ ตอบใหก้ บั ปัญหาตา่ งๆไดอ้ ยา่ งมหศั จรรย ์ เชน่ การคน้ พบสาํ คญั ๆ ทเี่ กดิ ขนึ้ ในโลกไมว่ า่ จะเปน็ ในวงการวทิ ยาศาสตร์ ศิลปะหรืออื่นๆ ยังไม่สามารถชี้เฉพาะเจาะจงได้ว่าอยู่ที่สมองส่วนใด แต่มีขั้นตอนการ "รู้" ที่น่าสนใจอย่างมากคือ ขั้นตอนแรก เริ่มจากคนเรามีความคิดมุ่งหวังที่จะทำ โครงการอะไรสักอย่าง หลังจากนั้นจะต้องหาหนทางที่จะทำ ให้สำ เร็จ อาจจะประสบปัญหา ก็พยายามหาทางแก้ไขปัญหา บางครั้งอาจจะเหนื่อยล้าจนหมดกำ ลังใจถึงกับคิดจะวางมือ แต่จู่ๆ ในที่สุดคำ ตอบที่ดีและถูกต้องก็ผุดขึ้นมาเองโดยไม่คาดฝัน ขั้นตอนเหล่านี้อธิบายได้ว่าในสมองของเราขณะที่เราเบื่อหน่ายและอยากจะล้มเลิก จิตใต้สำ นึกของเราก็ค่อยๆ เอาชิ้นส่วนข้อมูลแต่ละอย่างมาประกอบกันเหมือนกับภาพต่อจิ๊กซอว์ แล้วในที่สุดก็ได้คำตอบออกมาเอง

ความคิดริเริ่มหรือความคิดสร้างสรรค์ของนักวิทยาศาสตร์หรือจิตรกรคล้ายกับความสามารถพิเศษของเด็กที่มีสติปัญญาบกพร่อง คือ อยู่ๆ ความคิดในลักษณะอัจฉริยะก็จะเกิดขึ้นเอง แต่มีความแตกต่างอยู่ที่ว่าความคิดสร้างสรรค์ของนักวิทยาศาสตร์จะสามารถนำ ไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ ในขณะที่เด็กที่มีสติปัญญาบกพร่องแต่มีความสามารถพิเศษเพียงแค่รู้คำ ตอบแต่ไม่สามารถนำ ความรู้ไปใช้อะไรได้มากไปกว่านั้น

ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond