วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 4-5



บทที่ 4-5 สิ่งที่สร้างเสริมและบั่นทอนความฉลาดของลูก

สิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่มีผลต่อสมองลูก

อาหารบำรุงสมอง


เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าอาหารที่ถูกสัดส่วนมีความจำ เป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกส่วนของร่างกายลูก ซึ่งรวมถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมองด้วย ผลกระทบที่สำ คัญสำ หรับเด็กเล็กที่ขาดสารอาหาร คือ จะมีผลต่อพัฒนาการกล้ามเนื้อ ส่วนในเด็กโตพบว่ามีผลต่อการเรียนรู้ ซึ่งได้รับผลแตกต่างกันไปแล้วแต่จะขาดสารอาหารมากน้อยเพียงไร (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)

ถ้าลูกได้รับสารอาหารที่ดี ก็จะมีความสามารถในการอ่าน คิดเลข และมีสติปัญญาดีกว่ากลุ่มเด็กที่ขาดสารอาหาร และยังพบอีกว่าเด็กที่ขาดสารอาหารอาจมีปัญหาสมาธิสั้นร่วมด้วย มีการทดลองในสัตว์ทดลองพบว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของสมองเมื่อขาดสารอาหาร และถ้าหากได้รับการดูแลรักษา โครงสร้างส่วนใหญ่ก็จะกลับคืนเป็นปกติ อย่างไรก็ตามโครงสร้างอื่นๆ เช่นปริมาณไขมันสมองที่หุ้มล้อมรอบเส้นใยสมอง หรือสัดส่วนของจุดเชื่อมต่อของเซลล์สมองจะไม่คืนสู่สภาพปกติ

จากข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จึงมีสมมุติฐานว่า ผลกระทบของการขาดสารอาหารต่อสมองเด็กจะมีผลต่อกระบวนการคิดและการแก้ปัญหา และมีรายงานการศึกษาในเด็กอายุ 11 เดือนที่ขาดสารอาหารจนตัวและศีรษะเล็ก เมื่อถ่ายภาพสมองจะพบว่าสมองฝ่อ แต่เมื่อได้รับการรักษา ให้สารอาหารทดแทนและจัดให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนเลี้ยงกับเด็ก พบว่าเด็กนั้นสามารถกลับมามีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเป็นปกติได้ เมื่อถ่ายภาพสมองอีกครั้ง พบว่าสมองที่ฝ่อก็ดีขึ้นด้วย

สารอาหารทุกชนิดมีประโยชน์และมีความสำ คัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมองทั้งสิ้น การรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ก็จะเป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตามมีสารอาหารบางชนิดที่มีความสำ คัญเป็นพิเศษมีผลต่อการเจริญเติบโตต่อสมอง ซึ่งมีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง ได้แก่

  • ธาตุเหล็ก

    ธาตุเหล็กเป็นส่วนสำ คัญของเอ็นไซม์ที่มีบทบาทต่อการสร้างไขมันสมองและสารเคมีในสมอง ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการทำ งานของสมอง ในสัตว์ทดลองพบว่า หนูที่ขาดธาตุเหล็กอาจจะก่อให้เกิดปัญหาสมาธิสั้นได้ และถ้าได้รับการรักษาก็จะดีขึ้น นอกจากนี้การขาดธาตุเหล็กยังทำ ให้เด็กมีความบกพร่องในการใช้ทักษะทางกล้ามเนื้อด้วย

    จากการวิจัยพบว่าหญิงมีครรภ์ที่มีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก เด็กที่คลอดออกมามักมีนํ้าหนักตัวน้อยหรือคลอดก่อนกำ หนด นอกจากนี้ยังพบอีกว่าเด็กเล็กอายุตํ่ากว่า 2 ขวบที่ขาดธาตุเหล็ก จะมีระดับพัฒนาการที่ตํ่ากว่าเด็กที่มีธาตุเหล็กปกติ เด็กกลุ่มนี้ยังเป็นคนขี้กลัว เหนื่อยง่ายงอแงง่าย และหากให้ธาตุเหล็กเด็กก็จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น อาการต่างๆ จะดีขึ้น ส่วนเด็กในวัยเรียนพบว่า ระดับของธาตุเหล็กจะมีผลต่อระดับสติปัญญาและการเรียน หากให้การรักษาก็จะดีขึ้นได้เช่นกัน
  • ไอโอดีนและไทรอยด์ฮอร์โมน

    การทดลองในสัตว์ทดลองพบว่า ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนจะทำ ให้สมองมีขนาดเล็กลงจำนวนเซลล์สมองทั้งในสมองใหญ่และสมองเล็กก็เล็กลง ในมนุษย์ก็เช่นกัน พบว่า สมองมีขนาดเล็กลง จำ นวนเซลล์สมองที่พื้นผิวสมองลดลง รวมทั้งอาจจะเกิดการเสื่อมสลายของเซลล์สมองที่มีอยู่แล้วด้วย

    ธาตุไอโอดีนเป็นส่วนประกอบที่สำ คัญของไทรอยด์ฮอร์โมน การขาดไอโอดีนก็จะมีผลต่อระดับสติปัญญา และยังมีผลต่อภาวะของกล้ามเนื้อซึ่งอาจจะเกิดการเกร็งตัว หูหนวกจากประสาทหูพิการได้ด้วย ตัวอ่อนในครรภ์สามารถสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนได้เมื่อเจริญเติบโตเข้าไตรมาสที่สอง ในไตรมาสแรกทารกจึงต้องอาศัยไทรอยด์ฮอร์โมนจากแม่ ถ้าแม่ขาดไอโอดีนทารกก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการสมองและสติปัญญา

    ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าว แม่ควรจะได้รับไอโอดีนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์หรือระยะแรกเริ่มของการตั้งครรภ์ ไม่เช่นนั้นจะสายเกินไป และถึงแม้จะให้ไอโอดีนกับแม่ในช่วงตั้งครรภ์และตลอดตั้งครรภ์ เด็กที่คลอดออกมาก็จะต้องได้รับการตรวจสมํ่าเสมอ เพราะถ้าเด็กอยู่ในพื้นที่หรือจังหวัดที่ขาดธาตุไอโอดีนมากๆ มีโอกาสเกิดภาวะขาดไอโอดีนหลังคลอดได้อีก จึงต้องได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสมอง ที่สำ คัญควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
  • กรดไขมัน

    จะเห็นว่าในระยะหลังๆ มีการโฆษณาขายอาหารเสริมกันมาก อาหารเสริมที่โฆษณากันมากคือนํ้ามันปลา ซึ่งพบว่ามีกรดไขมันที่จะมีผลดีต่อพัฒนาการของสมอง กรดไขมันที่ได้รับการกล่าวถึงมากคือ อะราชิโดนิก แอซิด (Arachidonic Acid) ซึ่งสร้างจากไลโนลีอิก แอซิด (Linoleic Acid) และโดโคซาเฮกซาโนอิก แอซิด (Docosahexaenoic Acid หรือ DHA) ซึ่งกรดไขมันทั้งสองตัวนี้มีการสะสมอย่างมากในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์และในช่วง 18 เดือนแรกหลังคลอด เพื่อจเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ของระบบประสาท

    ในนมแม่จะมีสาร DHA ซึ่งพบว่าเด็กที่ดื่มนมแม่จะมีปริมาณของกรดไขมันนี้มากกว่าเด็กที่ดื่มนมขวดซึ่งไม่มี DHA ผลการทดลองเบื้องต้นพบว่า สาร DHA นี้มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตพัฒนาการของสมอง ที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น แต่ผลสรุปคงจะต้องรอการศึกษาคนไข้จำนวนมากขึ้น
  • กรดโฟลิก

    สารที่มีความสำ คัญอย่างมากอีกชนิดหนึ่งต่อการเจริญเติบโตของสมอง คือ กรดโฟลิก ซึ่ง
    เป็นสารอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ในไข่แดง ผักใบเขียว ถั่วบางชนิด แม่ที่ขาดกรดโฟลิกในช่วงตั้งครรภ์ 1 - 2 เดือนแรก ก็จะมีความเสี่ยงต่อการให้กำ เนิดลูกที่มีความพิการทางสมอง อาจจะเป็นแบบรุนแรง คือคลอดออกมามีแต่ใบหน้า แต่ไม่มีสมองใหญ่และกะโหลกศีรษะซึ่งไม่สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้ หรือในกรณีที่มีความรุนแรงน้อยกว่า สมองเจริญเติบโตปกติแต่มีความผิดปกติของการเจริญเติบโตของไขสันหลัง โดยที่กระดูกที่ไขสันหลังไม่ปิด ไม่มีผิวหนังปกคลุม เนื้อของไขสันหลังออกมาอยู่นอกผิวหนัง เด็กกลุ่มนี้จะมีชีวิตอยู่รอดได้ แต่จะมีความพิการของขา ระบบกระเพาะปัสสาวะ ระบบขับถ่าย และหากเป็นที่ไขสันหลังระดับคอก็จะมีความพิการที่แขนด้วย เด็กที่คลอดออกมามีความพิการเช่นนี้ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดเป็นปกติได้ อาจจะได้รับการผ่าตัดป้องกันการติดเชื้อ แต่ความพิการยังคงเป็นอยู่ตลอดชีวิต

  • หญิงที่ตั้งครรภ์ควรได้รับกรดโฟลิกหรือรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิกในช่วงแรกเริ่มตั้ง
    ครรภ์หรือก่อนตั้งครรภ์ ก็จะช่วยป้องกันความพิการทางสมองเช่นนี้ได้
ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น