วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 2


บทที่ สมองลูกคือสิ่งมหัศจรรย์


เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนอยากเห็นลูกเติบโตเป็นคนเก่ง ฉลาดเฉลียว และประสบความสำ เร็จในชีวิต ปัจจุบันค้นพบแล้วว่าสิ่งสำ คัญที่จะบันดาลให้ลูกฉลาดเฉลียว เป็นคนเก่ง คนดีดังที่พ่อแม่ปรารถนา คือสมองที่มีคุณภาพ

สมองจัดเป็นอวัยวะสำ คัญที่สุดของร่างกายก็ว่าได้ ถ้าปราศจากสมองแล้วคนเราก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เพราะสมองควบคุมการทำ งานของอวัยวะสำ คัญของร่างกาย เช่น การทำ งานของหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน ฮอร์โมนต่างๆ รวมทั้งสติปัญญา ความคิด การเรียนรู้ ความฉลาด พฤติกรรม และบุคลิกภาพของคนเรา

ขณะนี้นานาประเทศได้ให้ความสำ คัญกับความรู้เกี่ยวกับสมองอย่างมาก มีงานวิจัยค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโครงสร้างและการทำ งานของสมองอย่างมากมาย เพื่อที่จะเข้าใจกลไกการทำ งานของสมอง อย่างเช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ในเวลานี้ได้กำ หนดให้เป็นทศวรรษของการศึกษาค้นคว้าวิจัยระบบสมองของมนุษย์ที่เรียกว่า Decade Of The Brain (ปี พ.ศ. 2533 - 2542)โดยรัฐบาลให้เงินสนับสนุนการวิจัยต่างๆ ทำ ให้ได้ข้อมูลใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์มากมาย มีการตีพิมพ์เผยแพร่ข่าวสารข้อมูลทางวิทยาการเกี่ยวกับสมองในวารสารต่างๆ อย่างเช่น นิตยสารไทม์สเมื่อราวต้นปี พ.ศ. 2539 ได้ตีพิมพ์เรื่องราวเกี่ยวกับสมองอย่างละเอียด และในนิตยสารนิวสวีคฉบับเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2541 ก็ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับความจำ ทำ ให้เราเข้าใจการทำ งานของสมอง และโครงสร้างของสมองมากขึ้น

ความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการวิจัยของประเทศที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลดังกล่าว ทำ ให้มนุษย์เราได้ค้นพบความลี้ลับ ความมหัศจรรย์ของสมอง ได้ทราบว่าแต่ละขั้นตอนของการเจริญเติบโตของสมองลูกเป็นไปอย่างไรตั้งแต่ลูกเริ่มปฏิสนธิในครรภ์แม่ ซึ่งหากพ่อแม่ได้มองเห็นภาพการเติบโต การทำ งานและพัฒนาการสมองลูกน้อยแล้ว ก็จะทำ ให้พ่อแม่เห็นความสำ คัญว่าสมองลูกคือสิ่งมหัศจรรย์ มีโครงสร้างอันวิจิตรมหัศจรรย์สามารถพัฒนาได้มากมาย และร่วมกันส่งเสริมสมองลูกให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น

สมองลูกน้อยพัฒนาตั้งแต่ในครรภ์

คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่ว่า ทันทีที่ไข่ของแม่กับสเปิร์มของพ่อปฎิสนธิขึ้นในครรภ์ สมองของลูกเริ่มต้นมีพัฒนาการตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป

18 วันหลังปฏิสนธิ
เซลล์ที่ปฏิสนธิแล้วจะมีการแบ่งตัวอย่างมากมาย ประมาณวันที่ 18 หลังจากปฏิสนธิเซลล์ส่วนหนึ่งที่ยีนกำหนดให้เจริญเติบโตเป็นสมอง เริ่มมีรูปร่างที่มองเห็นได้ว่าเป็นเนื้อเยื่อสมอง โดยแรกเริ่มปรากฏเป็นแผ่นบางๆ

1 เดือน
หลังจากนั้นประมาณในช่วง 1 เดือนแรกหลังจากปฏิสนธิ แผ่นบางๆ นี้จะเริ่มโค้งงอแล้วมาบรรจบกันตรงกลางเหมือนท่อหลอดกาแฟ

2 เดือน
พอกลางเดือนที่ 2 หลังจากปฏิสนธิ หลอดกาแฟนี้จะเริ่มโป่งพองเพื่อที่จะจัดโครงสร้างให้เป็นสมองส่วนหน้า สมองส่วนกลางและสมองส่วนหลัง (ดังภาพที่ 1)


ขณะเดียวกันในระยะนี้ เนื้อเยื่ออื่นๆ ของร่างกายก็จะเจริญพัฒนาไปด้วย เช่น เนื้อเยื่อที่เป็นหน้าตาของเด็กก็จะมีการเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงเป็นใบหน้าของเด็ก

ระยะเดือนที่ 2 ถึงเดือนที่ 4 ในระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังจากปฏิสนธิ เซลล์สมองหรือเซลล์ประสาทจะมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วมากประมาณ 250,000 เซลล์ต่อนาที ทุกๆ นาทีที่เซลล์สมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จะมีการตายของเซลล์สมองด้วยประมาณร้อยละ 30 - 50 ของเซลล์สมองที่แบ่งตัวขึ้นมา ซึ่งเป็นไปโดยอัตโนมัติตามธรรมชาติ

ขณะท่เี ซลลส์ มองมกี ารแบง่ ตัวอยา่ งรวดเร็วในชว่ งเดือนที่ 3 ของการตงั้ ครรภ์ เซลล์สมองเหล่านี้จะมีการเคลื่อนย้ายไปยังตำ แหน่งต่างๆ ของสมองเพื่อจะทำ หน้าที่ต่างๆ ทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรอยหยักที่พื้นผิวสมองที่เรียกว่า คอร์เท็กซ์ (Cortex) ซึ่งในช่วงประมาณเดือนที่ 5 ของการตั้งครรภ์ สมองของลูกยังมีพื้นผิวสมองเรียบอยู่ แต่พอเริ่มมีการเคลื่อนย้ายเซลล์สมองไปยังพื้นผิวสมองทำให้เกิดรอยหยักของสมองขึ้นจนเห็นได้ชัดเจนเมื่อแรกเกิด

รอยหยักนี้จะต้องมีจำนวนและปริมาณที่ถูกต้องพอเหมาะ ถ้ามีมากหรือน้อยเกินไปจะทำ ให้เด็กมีพัฒนาการที่ไม่ปกติ บางคนเข้าใจผิดคิดว่าสมองลูกยิ่งมีรอยหยักมากเท่าใดก็จะยิ่งทำ ให้ลูกฉลาดมากเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วจะต้องมีปริมาณที่พอเหมาะพอดี

หลงั จากนนั้ ประมาณเดอื นที่ 6 ของการตงั้ ครรภ ์ เซลลส์ มองจะเริม่ มีการจดั ระดับตวั เองเป็นชั้นๆ ตามโครงสร้างแต่ละส่วนของสมอง เพื่อจะทำ หน้าที่ต่างๆ ให้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และที่พื้นผิวสมองเซลล์สมองจะเรียงกันเป็นชั้น 6 ชั้น

นอกจากการจัดตัวเองเป็นชั้นๆ อย่างเป็นระเบียบของเซลล์สมองแล้ว ยังมีการสร้างเส้นใยสมองหรือเส้นใยประสาทขึ้นมาด้วย เพื่อให้เซลล์สมองนับแสนล้านเซลล์นี้ติดต่อสื่อสารส่งข้อมูลถึงกันโดยผ่านทางเส้นใยสมอง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เส้นใยสมองที่รับข้อมูลเข้า และเส้นใยสมองที่ส่งข้อมูลออก จุดเชื่อมต่อระหว่างเส้นใยสมองที่ส่งข้อมูลออกกับเส้นใยสมองที่รับข้อมูลเข้าเรียกว่า ซีนแนปส์ (Synapse) ซึ่งจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุของทารกในครรภ์ไปจนกระทั่งหลังคลอด (ดังภาพที่ 2)



นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ถ้าหากสมองลูกมีเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อมากเท่าไร ลูกก็จะยิ่งฉลาดและมีความสามารถสูงขึ้นเท่านั้น สิ่งที่ทำ ให้เส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อนี้มีปริมาณมากขึ้น ก็คือข้อมูลที่ลูกได้รับนั่นเอง ถ้าลูกได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสม สมองของลูกก็จะเพิ่มเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อที่ดี ในทางตรงข้ามหากลูกได้รับข้อมูลไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม ข้อมูลนี้ก็จะไปสร้างเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อที่ทำ ให้ลูกเติบโตเป็นผู้ทำ ลายมากกว่าสร้างสรรค์

สมองลูกพัฒนาอย่างรวดเร็วเมื่อหลังคลอด


เห็นได้ชัดเจนว่าสมองของลกู นอ้ ยพัฒนาตั้งแตใ่ นครรภ ์ และมกี ารเจรญิ เตบิ โตอยา่ งรวดเร็วมากในช่วง 2 - 3 ปีแรกหลังคลอด จึงเป็นช่วงเวลาทองที่จะส่งเสริมศักยภาพสมองลูก

เมื่อแม่ตั้งครรภ์ครบกำ หนดและคลอดลูกออกมา สมองของลูกจะหนักประมาณ 350 ถึง 500กรัม มีเซลล์สมองอยู่ประมาณ 1 แสนล้านเซลล์ ซึ่งจะไม่มีการสร้างเพิ่มเติมอีกหลังคลอด แม้ว่าเซลล์สมองบางส่วนอาจจะถูกทำ ลาย เช่น จากการขาดเลือดมาเลี้ยง หรือได้รับความกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ ก็จะไม่มีการสร้างเซลล์สมองขึ้นมาใหม่ แต่เซลล์สมองที่เหลืออยู่จะพยายามทำหน้าที่ทดแทนให้ แม้จะทดแทนไม่ได้ทั้งหมดก็ตาม

พอลูกอายุได้ 18 เดือน สมองของลูกจะหนักประมาณ 800 กรัมหรือ 8 ขีด หลังจากนั้นจะหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งลูกอายุได้ 3 ขวบ สมองลูกก็จะหนักประมาณ 1,100 กรัม ในขณะที่สมองผู้ใหญ่จะหนักประมาณ 1.3 ถึง 1.5 กิโลกรัม และด้วยวัยเพียง 3 ขวบ สมองของลูกจะมีขนาดเกือบเท่าสมองของผู้ใหญ่ คือ ประมาณ 80 % ของสมองผู้ใหญ่

นับว่าสมองของลูกในช่วง 3 ปีแรกหลังคลอดเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการสร้างเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อเพิ่มเติมอีกมากมาย และที่สำ คัญมีการสร้างไขมันหรือมันสมองหุ้มล้อมรอบเส้นใยสมองด้วย นอกจากนี้ยังมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วของเกลียลเซลล์หรือเซลล์พี่เลี้ยง ทำให้ขนาดและนํ้าหนักของสมองเพิ่มมากขึ้น

นักวิทยาศาสตร์พบว่า อัตราการเพิ่มปริมาณจุดเชื่อมต่อของเส้นใยสมองแต่ละส่วนมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ทำให้การทำ งานของสมองลูกแต่ละส่วนและความสามารถแต่ละอย่างของลูกไม่ได้พัฒนาขึ้นพร้อมๆ กัน อย่างเช่น ร่างกายส่วนต่างๆ ของลูกแรกเกิดยังทำ งานแบบปฏิกิริยาอัตโนมัติ คือ กล้ามเนื้อทำ งานโดยอัตโนมัติ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ เช่น ถ้ามีเสียงดังๆ ลูกจะสะดุ้ง แขนขากระตุก ไขว่คว้า หรือถ้าเราใช้นิ้วเขี่ยที่มุมปากด้านซ้ายของลูก ลูกจะหันหน้ามาทางด้านซ้าย ปฏิกิริยานี้จะหายไปเมื่อลูกอายุได้ 2 - 3 เดือนขึ้นไป และจะเริ่มมีปฏิกิริยาที่มีวัตถุประสงค์มากขึ้น เช่น พยายามไขว่คว้าของที่เห็นอยู่ตรงหน้า

เมื่อลูกอายุประมาณ 8 - 9 เดือน สมองส่วนที่ทำ งานเกี่ยวกับความจำ ที่เรียกว่า ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) จะมีการสร้างเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อเพิ่มมากขึ้น ทำ ให้สมองของลูกเริ่มเรียนรู้เริ่มมีความจำง่ายๆ เกิดขึ้น เช่น ลูกเริ่มจำ หน้าแม่ได้แล้ว

ปริมาณของจุดเชื่อมต่อมีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้นและลดลงอยู่เรื่อยๆ แต่จะอยู่ที่ 18,000 จุดเชื่อมต่อต่อเซลล์สมอง 1 ตัว จนกระทั่งลูกอายุประมาณ 10 - 11 ปี

การเปลี่ยนแปลงเพิ่มและลดของปริมาณจุดเชื่อมต่อในสมองนี้เป็นผลดี เพราะทำ ให้สมองสามารถยืดหยุ่นและทำ งานทดแทนสมองส่วนที่เสียไปหรือถูกทำลายไปได้

ตัวอย่างเช่น มีเด็กคนหนึ่งที่มีอาการชักอย่างรุนแรง ไม่สามารถจะควบคุมอาการได้ด้วยยาต้องผ่าตัด หมอได้ทำ การผ่าตัดเอาสมองข้างขวาออกไปทั้งหมดเมื่อเด็กคนนี้อายุได้ 6 ปี ทำ ให้เขาไม่สามารถใช้กล้ามเนื้อแขนขาข้างซ้ายได้ เนื่องจากสมองข้างขวาทำ หน้าที่ควบคุมการทำ งานของกล้ามเนื้อทางข้างซ้าย แต่ด้วยการกระตุ้นและการฝึกบำ บัดทั้งหลาย ทำ ให้เด็กคนนี้เรียนได้เหมือนเด็กปกติแถมยังรักทางด้านดนตรี คณิตศาสตร์ และศิลปะอย่างมาก ซึ่งทักษะบางอย่างส่วนใหญ่จะใช้สมองข้างขวา

ตัวอย่างดังกล่าวทำ ให้เห็นว่าทักษะบางอย่างโดยเฉพาะในด้านการเรียนรู้ที่เป็นการทำ งานของสมองส่วนที่ถูกทำ ลาย สามารถจะชดเชยขึ้นมาได้โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงของจุดเชื่อมต่อในสมองแม้จะไม่ถึงร้อยเปอร์เซนต์ก็ตาม

หลังจากลูกอายุประมาณ 10 - 11 ปีไปแล้ว จะมีการตบแต่งเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อทั้งหลาย ถ้าหากเส้นใยสมองไม่ได้รับการกระตุ้นจากข้อมูลภายนอก ก็จะไม่เกิดประจุไฟฟ้าขึ้นหรือไม่เกิดการทำ งานและจะถูกกำ จัดไป คงเหลือแต่เฉพาะเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อที่ทำ งานบ่อยๆ หรือทำงานอยู่เสมอ คือได้รับข้อมูลจากภายนอกบ่อยๆ

อย่างไรก็ดี ระหว่างที่ลูกเติบโต นอกจากมีการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีต่างๆ ในสมองด้วย ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 3 ปีแรกของชีวิตลูกเช่นกัน

ความซับซ้อนของสมอง


สมองของลูกมีความสามารถเสียยิ่งกว่าคอมพิวเตอร์ เป็นเพราะสมองมีความสลับซับซ้อนมากมายนั่นเอง วิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำ ให้เราสามารถดูโครงสร้างและการทำ งานของสมอง ทำ ให้เราเข้าใจได้ว่าสมองที่สลับซับซ้อนนั้นมีความสามารถได้อย่างไรถ้าเราจะดูภาพโครงสร้างสมองของลูกอย่างคร่าวๆ สมองลูกแบ่งเป็นส่วนใหญ่ๆ ได้ 3 ส่วนคือ สมองใหญ่ สมองเล็ก และสมองส่วนกลางหรือแกนสมองหรือก้านสมอง ซึ่งเชื่อมต่อไปจนถึงไขสันหลัง

สมองใหญ่ (Cerebrum)
สมองใหญ่ มีอยู่ประมาณ 70 % ของสมองทั้งหมด แบ่งเป็นสมองข้างซ้ายและสมองข้างขวาแต่ละข้างแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ 4 ส่วนใหญ่ๆ เหมือนกัน

: สมองส่วนหน้าสุด เรียกว่า ฟรอนทอลโลบ (Frontal Lobe) ส่วนใหญ่จะมีหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้ ความจำ ความฉลาด และคำ พูด ในขณะเดียวกันก็ควบคุมการทำ งานของกล้ามเนื้อ แขนขาและใบหน้าด้วย

: สมองส่วนข้าง เรียกว่า พารายทอลโลบ (Parietal Lobe) ทำ หน้าที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับประสาทสัมผัส

: สมองส่วนขมับ เรียกว่า เทมโพราลโลบ (Temporal Lobe) ทำ หน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน พฤติกรรม ความจำ และภาษา ทำ งานร่วมกับฟรอนทอลโลบเกี่ยวกับการได้กลิ่น และด้านในของเทมโพราลโลบทั้งซ้ายและขวาจะเป็นบริเวณที่เรียกว่า ฮิปโปแคมปัส มีหน้าที่เกี่ยวกับความจำระยะยาว การเรียนรู้ และอารมณ์

: สมองส่วนท้ายทอย เรียกว่า ออกซิปิทอลโลบ (Occipital Lobe) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเห็น

สมองเล็ก (Cerebellum)
สมองเล็ก อยู่บริเวณด้านหลังศีรษะ มีหนา้ ที่หลกั ๆ คอื ประสานงานใหก้ ลา้ มเนอื้ ทาํ งานได้
อย่างราบรื่น ถ้าสมองส่วนนี้ไม่ทำ งาน เช่น คนเมาเหล้า ซึ่งแอลกอฮอล์จะไปมีผลต่อการท ำงาน
ของสมองส่วนนี้ คนเมาจึงไม่สามารถเดินตรงๆ ได้ จะเดินเซไปเซมา หรือจากการค้นพบข้อมูลใหม่ๆ
พบว่าสมองส่วนนี้อาจมีหน้าที่เกี่ยวกับภาษาด้วย อย่างเช่น เด็กที่เป็นโรคออทิซึ่ม (Autism) พบว่ามี
ความผิดปกติในพัฒนาการของสมองส่วนนี้

สมองส่วนกลาง
สมองส่วนกลาง แกนสมอง หรือก้านสมอง อยู่ตรงใจกลางและติดต่อกันตั้งแต่สมองใหญ่ลงมาถึงสมองเล็กและเชื่อมต่อไปถึงไขสันหลังด้วย โดยทั่วๆ ไป สมองส่วนกลางมีหน้าที่เกี่ยวกับการดำ รงชีวิต อย่างเช่น ควบคุมการเต้นของหัวใจ การหายใจ ซึ่งเป็นระบบอัตโนมัติ เราไม่สามารถจะสั่งให้หัวใจหยุดเต้นหรือหยุดหายใจได้ สมองส่วนนี้มีเส้นใยสมองมาเรียบร้อยแล้วตั้งแต่แรกเกิด

ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญบางกลุ่มโดยเฉพาะด้านการศึกษา แบ่งโครงสร้างสมองแตกต่างออกไป แต่ก็แบ่งออกเป็น 3 ส่วนเหมือนกัน

สมองทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ สมองส่วนแรกเรียกว่า สมองของสัตว์เลื้อยคลาน หรือสมองอาร์เบรน (R-brian) สมองส่วนที่สองเรียกว่า สมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยเก่า หรือ สมองลิมบิกเบรน (Limbic brain) และสมองส่วนที่สามเรียกว่า สมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยใหม่ หรือนีโอคอร์เท็กซ์ (Neocortex)

ถ้าเปรียบเทียบโครงสร้างของสมองนี้กับโครงสร้างของสมองที่ได้กล่าวไปแล้ว สมองส่วนอาร์เบรน ก็คือสมองที่อยู่ที่แกนสมองหรือก้านสมองนั่นเอง ทำ หน้าที่เกี่ยวกับการเต้นของหัวใจ การหายใจ สมองส่วนลิมบิกเบรนหรือสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยเก่า ก็คือสมองส่วนฮิปโปแคมปัสเทมโพราลโลบ และบางส่วนของฟรอนทอลโลบ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับความจำ การเรียนรู้ พฤติกรรมความสุข อารมณ์ขั้นพื้นฐาน และสมองนีโอคอร์เท็กซ์หรือสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยใหม่ คือสมองใหญ่ทั้งหมดโดยเฉพาะบริเวณพื้นผิวของสมองที่ทำ หน้าที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้สติสัมปชัญญะ และรายละเอียดที่สลับซับซ้อน

สมองอาร์เบรน
สมองอาร์เบรนหรือสมองสัตว์เลื้อยคลาน มีหน้าที่ขั้นพื้นฐานที่ง่ายที่สุด เป็นการทำ งานในเด็กเล็กๆ ซึ่งค่อยๆ มีพัฒนาการตามมา สมองส่วนนี้ทำ หน้าที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสและสั่งงานให้กล้ามเนื้อมีการเคลื่อนไหว นอกจากทำ หน้าที่พื้นฐานง่ายๆ แล้ว สมองส่วนนี้ยังรับและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้จากสมองหรือระบบประสาทส่วนถัดไป และทำ ให้เกิดเป็นระบบอัตโนมัติขึ้น ทำ ให้เรามีปฏิกิริยาอย่างง่ายๆ ปราศจากอารมณ์ ปราศจากเหตุผล เช่น สัญชาตญาณการมีชีวิตอยู่เพื่อความอยู่รอด ความต้องการอาหาร ที่พักอาศัย หรือการมีเพศสัมพันธ์ในรูปแบบง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อน

สมองลิมบิกเบรน
สมองลิมบิกหรือสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยเก่า จะทำ หน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึกเช่น ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี โกรธหรือมีความสุข เศร้าหรือสนุกสนาน รักหรือเกลียด

สมองส่วนลิมบิกจะทำ ให้คนเราปรับตัวได้ดีขึ้น มีความฉลาดมากขึ้น และสามารถเรียนรู้โลกได้กว้างขึ้น เป็นสมองส่วนที่สลับซับซ้อนมากขึ้น ทำ ให้คนเรามีความสามารถในการปรับตัว ปรับพฤติกรรมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น ถ้าหากว่ามีสิ่งกระตุ้นที่ไม่ดีเข้ามา สมองส่วนนี้ก็แปลข้อมูลออกมาเป็นความเครียดหรือไม่มีความสุข

สมองส่วนลิมบิกยังมีความเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก เด็กกับครอบครัว เด็กกับสังคม หรือระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย เกี่ยวข้องกับความฝัน วิสัยทัศน์และจินตนาการ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยใหม่ด้วย

สมองนีโอคอร์เท็กซ์
สมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยใหม่ หรือ สมองนีโอคอร์เท็กซ์ เป็นสมองส่วนที่ทำ หน้าที่สูงสุดในบรรดาสมองทั้งหมด มีขนาดใหญ่กว่าสมองอีก 2 ส่วนถึง 5 เท่าด้วยกัน สมองส่วนนี้จะเป็น

ศูนย์รวมเกี่ยวกับความฉลาด ความคิดสร้างสรรค์ การคำ นวณ ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความรักความเสน่หา สมองส่วนนี้ทำ ให้มนุษย์เรารู้จักคิดหาหนทางเอาชนะธรรมชาติ หรือควบคุมสิ่งแวดล้อมในโลกนี้ สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา รวมถึงการมีอิทธิพลต่อคนอื่นด้วย สมองส่วนนี้ยังทำ หน้าที่เกี่ยวกับความคิดที่ลึกซึ้งทางด้านปรัชญาและศาสนา

อย่างไรก็ตาม สมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์ไม่สามารถที่จะทำ งานได้โดยปราศจากสมองส่วนอาร์เบรนกับลิมบิกเบรนมาช่วยด้วย หรือถ้าหากสมองส่วนอื่นทำ งานโดยไม่มีสมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์การตอบสนองก็จะเป็นไปโดยอัตโนมัติแบบเด็กแรกเกิด สมองทั้งสามส่วนนี้จึงต้องทำ งานประสานกันอย่างดี จึงจะทำ ให้คนเรามีความสามารถ ในการทำ งานของสมองนี้ บางขณะเราก็สามารถที่จะเลือกใช้สมองส่วนใดส่วนหนึ่งมากกว่าส่วนอื่น และเชื่อกันว่าสมองของเราส่วนใหญ่ยังไม่ได้พัฒนาให้เต็มขีดความสามารถ

สรุป

การได้ทราบถึงขั้นตอนการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมองลูกตั้งแต่แรกเริ่ม คือตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์ ทำ ให้พ่อแม่ได้รู้ว่าสมองลูกคือสิ่งมหัศจรรย์ ได้รู้ว่าช่วงเวลาใดเป็นช่วงเวลาสำ คัญของการเจริญเติบโตของสมองลูก สมองของลูกเริ่มทำ งานอย่างไร และทำ ให้เห็นว่าลูกมีศักยภาพ มีความสามารถตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา

หลังจากนั้น สมองเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งเมื่อหลังคลอด โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรก ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปของสมองทั้งปริมาณเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อ สารเคมีในสมอง รวมทั้งรอยหยักที่พื้นผิวสมอง ล้วนส่งผลต่อสติปัญญาและความฉลาดของลูก เพราะฉะนั้นในช่วง 3 ปีแรกของชีวิตลูก ที่สมองของลูกมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและพัฒนามากที่สุด พ่อแม่ควรถือเป็นโอกาสทองที่จะทำ การส่งเสริมสมองลูกให้มีศักยภาพมากที่สุด และสร้างพื้นฐานที่ดีงามให้ลูกในทุกๆด้าน

ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น