วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 3-1

บทที่ 3-1 ลูกฉลาดเพราะความสามารถของสมอง

ตอนนี้คงเห็นภาพแล้วว่าสมองของลูกมีการเจริญเติบโตอย่างไรตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์แม่จนถึงหลังคลอดและยังต้องมีการเจริญเติบโตต่อไปอีก พอเกิดมาสมองของลูกก็มีโครงสร้างมาครบถ้วนและมีการทำ งานแล้วด้วย ถึงจะยังไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็เพียงพอที่จะทำ ให้ลูกแรกเกิดมีชีวิตอยู่ได้ มีความสามารถบางอย่าง เช่น ลูกสามารถมองเห็นในระยะใกล้ๆ ลูกสามารถได้ยินเสียง ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมได้ เช่น ถ้าร้อน หนาว เปียกแฉะ มดกัด ลูกก็จะร้องไห้ เป็นต้น

พ่อแม่จะเห็นว่าความสามารถของลูกจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นทีละน้อยตามวัย จนในที่สุดลูกจะเติบโตมีความสามารถมากมาย แต่ถ้ามองให้ลึกลงไป ความสามารถเหล่านี้เกิดจากการทำ งานของสมองทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นถ้าจะกล่าวว่าสติปัญญาและความฉลาดของลูกเกิดขึ้นได้เพราะความสามารถของสมองก็คงไม่ผิด

สมองทำให้ลูกมีความสามารถ

ดังได้กล่าวมาแล้วว่าสมองของลูกน้อยมีความมหัศจรรย์ มีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนและมีหน้าที่การทำ งานต่างๆ วิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำ ให้เราเข้าใจได้ว่าสมองที่สลับซับซ้อนของลูกมีความสามารถได้อย่างไร คราวนี้มาดูกันว่าสมองทำ ให้ลูกมีความสามารถต่างๆ ได้อย่างไร

ลูกเคลื่อนไหวได้

ได้พูดแล้วว่า กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของลูกแรกเกิดยังทำ งานแบบอัตโนมัติโดยไม่มีวัตถุประสงค์ ลูกวัย 1 - 2 เดือนจะยังไม่รู้จักไขว่คว้าของเล่น แต่ก็มีการเคลื่อนไหวแขน ขา มือ และเท้า ซึ่งเป็นการทำ งานขั้นพื้นฐานของสมองส่วนเซนซอรี่มอเตอร์คอรเ์ ท็กซ ์ ทาลามสั และเบซาลแกงเกลยี ซึ่งมีเส้นใยสมองและไขมันสมองค่อนข้างครบถ้วนแล้ว

วันเวลาผ่านไป ลูกเติบโตขึ้น สมองมีการเจริญเติบโต มีพัฒนาการมากขึ้น ก็จะทำงานอย่างมีวัตถุประสงค์มากขึ้น เช่น เด็ก 4 - 5 เดือนก็จะเริ่มรู้จักไขว่คว้าของเล่น ซึ่งต้องอาศัยการประสานงานของทั้งสมองที่ควบคุมการเห็นและการทำ งานของกล้ามเนื้อมือและแขน สมองข้างซ้ายจะควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อของร่างกายข้างขวา รวมถึงกล้ามเนื้อใบหน้า แขนขา ข้างขวา ส่วนสมองข้างขวาจะควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อของร่างกายข้างซ้าย รวมถึงกล้ามเนื้อใบหน้า การหลับตา การขยับปาก และแขนขาข้างซ้าย

การทำงานของกล้ามเนื้อในร่างกายลูก แบ่งออกเป็น การทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ตัวอย่างของการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การเดิน การยกมือ การขยับแขนขา การขึ้นลงบันได การถีบจักรยาน ในขณะที่การทำ งานของกล้ามเนื้อมัดเล็กจะเกี่ยวข้องกับการเขียนหนังสือ การติดกระดุม การผูกเชือก การวาดรูป การทำงานฝีมือ

การทำ งานของกล้ามเนื้อเหล่านี้แม้ว่าจะพัฒนาไปตามธรรมชาติ แต่หากขาดการฝึกฝนตั้งแต่เล็ก ลูกจะขาดทักษะและความชำ นาญในการใช้ร่างกายส่วนนั้นๆ ไป ยกตัวอย่างเช่น ถ้าขาดทักษะทางกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ลูกก็จะไม่คล่องแคล่วว่องไว ถ้าขาดทักษะทางกล้ามเนื้อมัดเล็ก ก็จะเขียนหนังสือได้ช้า หรือไม่มีความสามารถทำ งานที่ละเอียดประณีต

ลูกมองเห็นได้

ลูกมองเห็นได้ด้วยการทำ งานของประสาทตาหรือสมองส่วนที่ควบคุมการเห็น โดยอาศัยการมองเห็นภาพต่างๆ เข้าสู่สายตา ผ่านไปยังจอภาพข้างหลังตาซึ่งประกอบด้วยเซลล์สมอง ต่อจากนั้นเซลล์สมองก็จะส่งข้อมูลไปยังสมองที่เกี่ยวกับการเห็นหรือสมองส่วนออกซิปิทอลโลบโดยผ่านทางเส้นใยสมอง ผ่านจุดเชื่อมต่อ ทำ ให้เกิดปฏิกิริยาสร้างสารเคมีและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นหลังจากนั้นสมองส่วนของการมองเห็นจะแปลภาพที่เห็นออกมาให้มีความหมาย โดยอาศัยสมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์และสมองส่วนหน้า

นักวิจัยพบว่า ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสี รูปร่าง หรือการเคลื่อนไหวของวัตถุจะถูกป้อนไปยังสมองหลายส่วน ไม่ได้ป้อนข้อมูลไปที่เดียวกัน แต่สมองหลายๆ ส่วนก็สามารถเอาข้อมูลเหล่านี้มาประกอบกันออกมาเป็นรูปภาพ แต่ทำ ได้อย่างไรยังไม่มีใครทราบ

นักวิชาการบางคนเรียกการมองเห็นภาพว่าเป็นส่วนหนึ่งของความคิด เพราะแม้กระทั่งคนตาบอดแต่กำ เนิดก็สามารถจะคิด จินตนาการรูปภาพได้ การมองเห็นจึงขึ้นอยู่กับการทำ งานของสมอง ในขณะเดียวกันสมองก็ตอบสนองต่อการมองเห็นด้วย

การเห็นภาพต่างๆ ของคนเราเกิดจากตาเพียง 20 % ในขณะที่อีก 80 % เกิดจากการทำงานของสมองส่วนต่างๆ ที่ทำ หน้าที่เกี่ยวกับการเห็น ข้อมูลเกี่ยวกับการเห็นจะไปรวมกันที่ศูนย์กลางของการเห็นที่อยู่ตรงส่วนกลางของสมอง ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเห็น อย่างเช่น ในขณะที่เรามองหน้าคนคนหนึ่ง สมองของเราส่วนที่มองเห็นใบหน้าก็จะแปลภาพออกมาว่านี่คือใบหน้า และสมองส่วนอื่นจะแปลสีหน้าของคนคนนั้นว่าเป็นอย่างไร เช่น กำ ลังสุข หรือเศร้า หรือโกรธ ในขณะที่สมองอีกส่วนก็จะเชื่อมข้อมูลว่าคนหน้าตาแบบนี้คือใคร แล้วเอาข้อมูลต่างๆ มาผสมกันให้เรารับรู้ว่าคนหน้าตาอย่างนี้คือใคร ชื่ออะไร กำ ลังดีใจหรือเสียใจ หรือมีอารมณ์อย่างไร

การสร้างภาพหรือการมองเห็นภาพยังเกิดจากสมองส่วนใดส่วนหนึ่งทำ งานได้ด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามองภาพที่ต้องใช้ความคิด สมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์ก็จะทำ งาน แต่ถ้าภาพนั้นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา เป็นภาพเกี่ยวกับอารมณ์ ก็จะกระตุ้นให้สมองที่เกี่ยวกับอารมณ์หรือสมองลิมบิกทำงาน หรือถ้าเป็นภาพที่ค่อนข้างจะคงที่และสามารถส่งข้อมูลเข้าสายตาสู่ประสาทตาโดยตรงสมองส่วนอาร์เบรนก็จะทำ งาน

นอกจากนั้นสมองยังมีความสามารถที่จะจับจ้องหรือเลือกมองเห็นเฉพาะสิ่งที่สนใจเท่านั้นแม้ว่าสิ่งนั้นจะอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ก็ตาม

ลูกได้ยิน

เชื่อไหมว่าขณะที่แม่ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 4 เดือนครึ่ง อวัยวะที่เกี่ยวกับการได้ยินของลูกก็พัฒนาจนสมบูรณ์แบบแล้ว สมองส่วนเทมโพราลโลบซึ่งมีความสำ คัญที่สุดต่อการได้ยินได้พัฒนาขึ้นแล้ว และเมื่อแรกเกิด สมองส่วนนี้ของลูกก็มีไขมันห่อหุ้มเส้นใยสมองเรียบร้อยแล้ว ในขณะที่สมองส่วนอื่นยังเพิ่งเริ่มสร้างไขมันหรือมันสมองห่อหุ้มเส้นใยสมอง

นักวิทยาศาสตร์พบว่า ทารกในครรภ์ไม่ใช่เพียงได้ยินอย่างเดียว แต่สามารถที่จะพยายามเลียนเสียงหรือเรียนรู้เกี่ยวกับคำ พูด พยายามขยับกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการออกเสียงโดยเฉพาะในลักษณะของการร้องไห้ ซึ่งทำ ให้ลูกสามารถร้องไห้ได้ทันทีหลังคลอด

เสียงเต้นของหัวใจแม่เป็นสิ่งกระตุ้นที่สำ คัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการเกี่ยวกับการได้ยินของลูก เนื่องจากเป็นเสียงที่ใกล้ตัวลูก มีจังหวะค่อนข้างคงที่สมํ่าเสมอ และพบว่าทารกในครรภ์อายุ 7 เดือนมีการเคลื่อนไหวร่างกายตอบสนองต่อเสียงของแม่ เรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์บอกว่า เซลล์ผิวหนังทุกส่วนของร่างกายลูกมีส่วนเกี่ยวข้องกับการได้ยิน เนื่องจากเซลล์ผิวหนังสามารถรับคลื่นเสียงแล้วส่งต่อไปยังสมองได้

ในสมองที่ทำ หน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินยังมีการสร้างแผนที่สำ หรับเสียงต่างๆ ด้วย พบว่าเมื่อคนเราได้ยินเสียงที่มีความแตกต่างกัน เช่น เสียง “พ่อ” กับ เสียง “แม่” จะมีการทำ งานของเซลล์สมองเกิดขึ้นคนละที่ และถ้าได้ยินเสียงเดิมอีก เช่น เสียง "พ่อ" หรือ "แม่" สมองส่วนที่เคยได้รับเสียง "พ่อ" ก็จะทำงาน ถ้าเป็นเสียง "แม่ " สมองส่วนที่เคยได้รับเสียง "แม่" ก็จะทำ งาน ถ้าหากเสียงใกล้เคียงกันมาก เช่น เสียง "รา" กับ "ลา" สมองอาจจะไม่สามารถแยกได้ ทำให้เซลล์สมองที่รับผิดชอบสองเสียงนี้ทำงานขึ้นพร้อมๆ กัน เนื่องจากว่าเซลล์สมองระหว่างสองเสียงนี้จะอยู่ใกล้กันมาก ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้

พอลูกอายุประมาณ 1 ปี แผนที่การได้ยินในสมองจะมีโครงสร้างที่สมบูรณ์ เช่น เสียงนี้เซลล์สมองส่วนนี้รับผิดชอบ อีกเสียงหนึ่งเซลล์สมองอีกที่รับผิดชอบ เป็นต้น เมื่อเด็กโตขึ้นเขาจะไม่สามารถแยกเสียงที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนได้ เพราะไม่มีเซลล์สมองที่จะตอบสนองต่อเสียงนั้น เนื่องจากไม่เคยได้ยินมาก่อน เพราะฉะนั้นการที่เด็กยิ่งโต การเรียนรู้ภาษาก็จะเป็นได้ยากขึ้น เนื่องจากไม่มีเซลล์สมองที่ยังไม่ถูกจัดแผนที่เหลืออยู่ หรือไม่มีเซลล์สมองที่ยังไม่ถูกใช้งานเหลือไปใช้เรียนรู้ภาษาหรือคำใหม่ๆ ได้

การเรียนรู้คำ ศัพท์ก็เช่นกัน ถ้าลูกเล็กๆ มีแม่หรือคนรอบข้างเป็นคนพูดเก่ง ลูกจะรู้คำ ศัพท์
มากกว่าเด็กที่อยู่กับคนพูดไม่เก่ง

การทำงานของการได้ยินยังทำ งานควบคู่ไปกับการเห็น เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการอ่าน ที่เรียกว่า ดิสเล็กเซีย (Dyslexia) เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มของประสาทส่วนในของหูกับการเห็น คนไข้ที่อ่านหนังสือไม่ได้เหล่านี้จะไม่เห็นตัวหนังสือบนแผ่นกระดาษ แต่จะเห็นตัวหนังสือลอยละล่องไปมาอยู่บนกระดาษ บางครั้งเห็นตัวหนังสือกลับหัวกลับหางกลับข้าง ทำให้ไม่สามารถจะอ่านหนังสือได้ หมอชาวอังกฤษโบราณได้สังเกตว่าคนไข้เหล่านี้ถ้าหากว่าให้ยาแก้แพ้หรือยาแก้เมารถซึ่งมีผลต่อระบบประสาทที่เกี่ยวกับการทรงตัว คนไข้เหล่านี้อาการจะดีขึ้น แต่ในปัจจุบันยาแก้แพ้ไม่ใช่วิธีการรักษาคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องการอ่าน

การที่คนเราได้ยินเสียงต่างๆ นั้น เริ่มจากคลื่นเสียงจากภายนอกจะถูกส่งไปยังกลุ่มประสาทสัมผัสที่อยู่ด้านในสุดของหู คลื่นที่เข้าไปนี้จะปรับเปลี่ยนคลื่นเสียงที่มีอยู่ภายใน ทำ ให้เกิดเป็นคลื่นเสียงรูปลักษณ์ใหม่

คลื่นเสียงที่อยู่ภายในสังเกตได้ ถ้าหากเราอยู่ในที่เงียบๆ จะได้ยินเสียงเหมือนเสียงนกหวีดเบาๆ ซึ่งเป็นเสียงที่ค่อนข้างคงที่ และถ้าเรายิ่งตั้งใจฟัง เสียงนี้จะยิ่งดังขึ้น แต่พอเราได้ยินเสียงจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้ามา ก็จะเป็นคลื่นเสียงที่เข้าไปเปลี่ยนคลื่นเสียงภายใน ทำ ให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงของคลื่นเสียงที่เกิดขึ้นในตัวเรา แล้วจะถูกส่งไปยังกลุ่มเซลล์สมอง ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงเสียงเหล่านี้ให้เป็นกระแสไฟฟ้าและส่งไปที่สมองอาร์เบรน ก่อนจะถูกส่งต่อไปให้สมองทุกส่วน ทำ ให้เราสามารถเข้าใจเสียงที่ ได้ยินได้

อย่างเช่น เมื่อบีบแตรรถยนต์จะทำ ให้เกิดคลื่นเสียง คลื่นเสียงจะเข้าไปในประสาทหู เข้าไปในสมองทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้นในกลุ่มของเซลล์สมอง ประจุไฟฟ้าเหล่านี้จะเดินทางกลับไปที่หูส่วนในอีกครั้งหนึ่งเพื่อที่จะบอกว่าเสียงแตรนี้มาจากทิศไหน

จะเห็นว่าการได้ยินที่ทำ ให้เราเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ได้ เกิดจากการทำ งานของสมองหลายส่วนด้วยกัน นับตั้งแต่สมองส่วนลิมบิกที่จะตอบสนองต่อคลื่นต่างๆ ที่เข้ามาที่ตัวเราด้วยการอาศัยความช่วยเหลือจากสมองนีโอคอร์เท็กซ์แล้วแปลคลื่นออกมา ผลลัพท์ของการติดต่อของสมองส่วนต่างๆ ก็จะส่งไปที่ประสาทรับการได้ยินและการทรงตัวที่หูส่วนใน ซึ่งจะทำ ให้รู้ว่าเสียงต่างๆ เหล่านั้นมาจากที่ใด

นักวิจัยพบว่า ประสาทการได้ยินและประสาทสัมผัสมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดมาก โดยเฉพาะเสียงทุ้มหรือเสียงตํ่าจะใกล้ชิดกับประสาทสัมผัสมากกว่าเสียงแหลมสูง อย่างเช่น เด็กที่ขาดการสัมผัสมาตั้งแต่เล็กๆ จะชอบฟังเพลงที่ดังมากๆ ประเภทเพลงร็อกที่ดังสนั่น เพราะเสียงเพลงที่ดังมากๆ อย่างนี้ จะทำ ให้เกิดการสั่นสะเทือนที่ไปกระทบประสาทสัมผัส ซึ่งเด็กไม่ได้รับมาก่อนนั่นเอง

ลูกมีความฉลาดและความรู้สึกนึกคิด

เราไม่สามารถบอกได้ว่าสมองส่วนใดส่วนหนึ่งหรือจุดใดจุดหนึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับความฉลาดและความคิด แตเ่ ชอื่ กนั วา่ สมองนโี อคอรเ์ ทก็ ซม์ หี นา้ ทเี่ กยี่ วกบั ความฉลาดและความรสู้ กึ นกึ คดิ ของคนเรา

ความฉลาด เป็นความสามารถในการรู้สึกนึกคิด เรียนรู้ ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ถ้าสมองยิ่งสลับซับซ้อนมากและพัฒนาได้สมบูรณ์เท่าไร สมองจะมีความสามารถที่จะเรียนรู้และมีประสบการณ์มากขึ้น ขณะเดียวกันก็เก็บข้อมูลใส่กลับเข้าไปในสมอง ทำ ให้มีการเปลี่ยนแปลงภายในสมองตลอดเวลาทำให้พฤติกรรมการตอบสนองของเราต่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปตามประสบการณ์ที่เราได้รับมา

สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลกนี้ล้วนสามารถตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้ทั้งนั้น แม้กระทั่งไวรัสและแบคทีเรีย แต่เป็นการตอบสนองในรูปแบบง่ายๆ ขณะที่คนเรามีระบบประสาทที่สลับซับซ้อนที่ทำ ให้การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างสลับซับซ้อนมากกว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีปฏิกิริยาตอบสนองเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง ด้วยการใช้ความฉลาดเป็นตัวชี้นำ

สมองของเราเป็นสิ่งมหัศจรรย์มาก เซลล์สมองสามารถที่จะเก็บข้อมูล แปลข้อมูลที่เข้ามาเป็นคลื่นกระแสไฟฟ้าแล้วเก็บไว้เป็นประสบการณ์เข้าไปในสมอง เปรียบเสมือนคลื่นไฟฟ้าที่ทีวีรับมาแล้วแปลออกมาเป็นภาพบนจอให้เราเห็น คลื่นสมองหรือคลื่นไฟฟ้าที่เข้ามาในสมองจะเป็นตัวกำหนดธรรมชาติของสิ่งที่เรารับรู้ เช่น กายภาพ ความฉลาด อารมณ์ และความเป็นจริงเกี่ยวกับความคิด ความรู้สึกตัว และอื่นๆ

ความฉลาดหรือความสามารถเฉพาะด้าน อย่างเช่นภาษา เกิดจากวงจรของกระแสไฟฟ้าของเซลล์สมองในสมองของเรานั่นเอง เป็นพัฒนาการของสมองที่เอาข้อมูลจากสิ่งกระตุ้นและการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นเก็บเข้ามาเป็นโครงสร้างของความรู้ เหมือนเราเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเราสามารถจะเรียกขึ้นมาใช้เมื่อไรก็ได้ ธรรมชาติจะค่อยๆ ทำ ให้เรามีความสามารถหรือมีความฉลาดขึ้นเป็นลำ ดับตามช่วงเวลาของพัฒนาการหรือระยะเวลาที่เหมาะสม

ถ้าหากเราดูแลในเรื่องของสติปัญญาหรือความฉลาดของเด็กไม่เหมาะสม โดยเร่งมากเกินไปหรือปล่อยปละไม่สนใจให้เด็กได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสมตามวัย ก็จะทำ ให้มีปัญหาทางด้านสติปัญญาหรือความฉลาดได้ ยกตัวอย่างเช่น เนื้อสเต็กไม่เหมาะที่จะเป็นอาหารสำ หรับเด็ก เล็กที่ยังไม่มีฟัน หรือนมแม่ก็ไม่เหมาะสำ หรับเด็กวัยรุ่น เป็นต้น

สิ่งที่เด็กต้องการสำ หรับการพัฒนาสติปัญญาและความฉลาด คือ สิ่งแวดล้อมหรือการเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสม ผู้เลี้ยงดูเด็กควรมีความรู้ในการเลี้ยงดูเด็ก ให้โอกาสเด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลเข้าไปสร้างเป็นโครงสร้างความรู้ในสมอง แต่สิ่งสำ คัญก็คือจะต้องคำ นึงถึงความเหมาะสมกับวัยของเด็กด้วย

ถึงแม้เราจะไม่สามารถบอกได้ว่าความฉลาดอยู่ที่ส่วนใดของสมอง แต่สมองข้างซ้ายและสมองข้างขวาก็จะมีส่วนร่วมในการทำ งานที่เกี่ยวกับความฉลาดด้วย สมองข้างซ้ายและสมองข้างขวานอกจากจะควบคุมการทำ งานของกล้ามเนื้อและรับประสาทสัมผัสความรู้สึกจากร่างกายด้านตรงข้ามแล้ว ยังมีหน้าที่แตกต่างกันในเรื่องของการเรียนรู้ด้วย

สมองข้างซ้ายจะมีหน้าที่คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีสามัญสำ นึก การจัดระบบ การดูแลรายละเอียดและการทำ งานที่จะต้องทำ ทีละอย่าง การควบคุมเกี่ยวกับภาษา ตัวเลข สัญลักษณ์ต่างๆเป็นสมองส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับการแสดงออก (expression) การวิเคราะห์ การควบคุมเกี่ยวกับการพูด การเขียน

ขณะเดียวกันสมองข้างขวามีหน้าที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ สัญชาตญาณเป็นส่วนที่ค่อนข้างผ่อนคลาย เป็นสมองที่เป็นจิตใต้สำ นึกมากกว่า ในขณะที่สมองข้างซ้ายเป็นส่วนที่อยู่ในจิตสำ นึก สมองข้างขวาจะทำ หน้าที่สร้างกระบวนการต่างๆ อย่างรวดเร็ว สามารถทำ อะไรหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับสมองข้างซ้ายที่จะทำ ได้ทีละอย่าง สมองข้างขวาจะมองภาพแบบรวมๆ มากกว่าเจาะรายละเอียดเหมือนสมองข้างซ้าย สมองข้างขวามีหน้าที่เกี่ยวกับ
การรับรู้ความเข้าใจมากกว่าสมองข้างซ้ายที่จะทำ หน้าที่เกี่ยวกับการแสดงออก สมองข้างขวายังทำ
หน้าที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ ศิลปะ ดนตรี และเรื่องของมิติสัมพันธ์

ส่วนความฉลาดในลักษณะของการ "รู" การค้นพบสิ่งต่างๆ หรือหาคาํ ตอบใหก้ บั ปัญหาตา่ งๆไดอ้ ยา่ งมหศั จรรย ์ เชน่ การคน้ พบสาํ คญั ๆ ทเี่ กดิ ขนึ้ ในโลกไมว่ า่ จะเปน็ ในวงการวทิ ยาศาสตร์ ศิลปะหรืออื่นๆ ยังไม่สามารถชี้เฉพาะเจาะจงได้ว่าอยู่ที่สมองส่วนใด แต่มีขั้นตอนการ "รู้" ที่น่าสนใจอย่างมากคือ ขั้นตอนแรก เริ่มจากคนเรามีความคิดมุ่งหวังที่จะทำ โครงการอะไรสักอย่าง หลังจากนั้นจะต้องหาหนทางที่จะทำ ให้สำ เร็จ อาจจะประสบปัญหา ก็พยายามหาทางแก้ไขปัญหา บางครั้งอาจจะเหนื่อยล้าจนหมดกำ ลังใจถึงกับคิดจะวางมือ แต่จู่ๆ ในที่สุดคำ ตอบที่ดีและถูกต้องก็ผุดขึ้นมาเองโดยไม่คาดฝัน ขั้นตอนเหล่านี้อธิบายได้ว่าในสมองของเราขณะที่เราเบื่อหน่ายและอยากจะล้มเลิก จิตใต้สำ นึกของเราก็ค่อยๆ เอาชิ้นส่วนข้อมูลแต่ละอย่างมาประกอบกันเหมือนกับภาพต่อจิ๊กซอว์ แล้วในที่สุดก็ได้คำตอบออกมาเอง

ความคิดริเริ่มหรือความคิดสร้างสรรค์ของนักวิทยาศาสตร์หรือจิตรกรคล้ายกับความสามารถพิเศษของเด็กที่มีสติปัญญาบกพร่อง คือ อยู่ๆ ความคิดในลักษณะอัจฉริยะก็จะเกิดขึ้นเอง แต่มีความแตกต่างอยู่ที่ว่าความคิดสร้างสรรค์ของนักวิทยาศาสตร์จะสามารถนำ ไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ ในขณะที่เด็กที่มีสติปัญญาบกพร่องแต่มีความสามารถพิเศษเพียงแค่รู้คำ ตอบแต่ไม่สามารถนำ ความรู้ไปใช้อะไรได้มากไปกว่านั้น

ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น