วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 4-4



บทที่ 4-4 สิ่งที่สร้างเสริมและบั่นทอนความฉลาดของลูก


สายสัมพันธ์แม่ลูก..พื้นฐานชีวิต


สิ่งกระตุ้นที่สำ คัญที่สุดสำ หรับลูกแรกเกิดคือประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากความรักที่แม่มีต่อลูก จากการที่ลูกมองจ้องตาหรือดูสีหน้าอารมณ์ของแม่ หรือได้ยินเสียงคุย เสียงร้องเพลง เสียงที่อ่านหนังสือ หรือสัมผัส โอบกอด เห่กล่อม แม้กระทั่งการเลียผิวหนังของเด็กหรือของแม่ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าเล็กๆ ขึ้นในเซลล์สมอง ส่งข้อมูลไปตามเครือข่ายเส้นใยสมอง และทำ ให้ประจุไฟฟ้าครบวงจร เซลล์สมองเกิดการเชื่อมโยงกันเพื่อทำ หน้าที่ต่างๆ เช่น การเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การแสดงออกทางอารมณ์ เพราะฉะนั้นการอุ้มการสัมผัสอย่างอ่อนโยนนอกจากเป็นสิ่งเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกแล้ว ที่สำ คัญกว่านั้นยังกระตุ้นสมองเด็กให้สร้างฮอร์โมนที่สำคัญออกมา ฮอร์โมนเหล่านี้จะทำ ให้เด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการทางสมองอย่างมาก (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)

เด็กที่มีสัมพันธภาพที่ดีมีความผูกพันกับแม่ จะเป็นเด็กที่สามารถปรับตัวได้กับความเครียดในชีวิตประจำวันทั้งในปัจจุบันและอนาคต เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีความรักและความอบอุ่น จะสามารถควบคุมสถานการณ์เมื่อเกิดความเครียดได้ ความเครียดจะก่อให้เกิดฮอร์โมนคอร์ติโซล(Cortisol) ซึ่งมีผลต่อภูมิคุ้มกันและสมอง เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่อบอุ่นจะมีฮอร์โมนตัวนี้น้อย ทำ ให้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เพราะถ้าระดับฮอร์โมนคอร์ติโซลสูงจะมีผลทำ ลายเซลล์สมองและลดจำนวนเครือข่ายเส้นใยสมองด้วย

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนยังเชื่อว่าเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่และได้รับการสัมผัสตั้งแต่แรกคลอดจะฉลาด มีไอคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับนมแม่หรือขาดการกระตุ้นหรือขาดการสัมผัสตอนแรกคลอด การเลี้ยงลูกและให้นมลูกยังเป็นการเว้นระยะทิ้งช่วงห่างขึ้นของการมีลูกคนต่อไป ซึ่งเป็นผลดีเพราะจะได้มีเวลาดูแลลูกและกระตุ้นให้ลูกมีพัฒนาการที่สมบูรณ์และฉลาดมากที่สุด

เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าการที่แม่กระตุ้นประสาทสัมผัสต่างๆ ของลูก ทั้งทางด้านการสัมผัสโอบกอดการมองจ้องตา การพูดคุยกับลูก ล้วนมีส่วนกระตุ้นกลุ่มเซลล์สมองและทำ ให้สมองเกิดการขยายเครือข่ายเส้นใยสมอง สมองเกิดการทำ งาน ทำ ให้ลูกพัฒนาความฉลาด ขณะเดียวกันลูกก็จะไม่เกิดปัญหาหรือมีความเครียดจากการต้องแยกจากแม่อันเป็นผลเสียต่อพัฒนาการ ฉะนั้นความรักความผูกพันระหว่างแม่ลูกในวัย แรกเริ่มจึงเป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิตลูก

ประสบการณ์ซํ้าๆ สร้างไขมันล้อมรอบเส้นใยสมอง


หากประสบการณ์ต่างๆ เข้ามาในสมองลูกซํ้าแล้วซํ้าเล่า ไม่ว่าจะเป็นการอุ้ม การสัมผัสการโอบกอด ก็จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างไขมันล้อมรอบเส้นใยสมองด้วย ทุกครั้งที่ลูกได้ยินเสียงแม่ จะมีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อที่จะใช้พูด ยิ่งได้ยินเสียงบ่อยเท่าไรก็จะยิ่งมีการสร้างไขมันสมองมากขึ้นเท่านั้น ไขมันสมองที่ล้อมรอบเส้นใยสมองนี้ จะทำ ให้การเคลื่อนไหวของกระแสไฟฟ้าในเส้นใยสมองเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำ ให้ลูกฉลาดมากขึ้นนั่นเอง

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการที่เราหมั่นฝึกฝนอยู่เสมอ ทบทวนบ่อยๆ จะทำ ให้เกิดการสร้างไขมันล้อมรอบเส้นใยสมองที่อยู่คงนาน และเครือข่ายเส้นใยสมองที่ถูกใช้งานบ่อยๆ ก็จะอยู่ตลอดไป

ส่งเสริมตามช่วงวัยที่เหมาะสม


โครงสร้างที่สลับซับซ้อนของเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อเหล่านี้ซึ่งทำ ให้สมองเกิดการทำงาน ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างพร้อมเพรียงในเวลาเดียวกัน สมองแต่ละส่วนจะมีพัฒนาการสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองที่ทำ ให้เกิดความสามารถในด้านต่างๆ ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน

นาทีทองหรือช่วงจังหวะในการเกิดพัฒนาการด้านต่างๆ เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังคลอด บางช่วงอาจจะเกิดขึ้นภายในเวลาสั้นๆ บางช่วงอาจจะยาวนาน อย่างเช่น ถ้าสมองไม่ได้รับประสบการณ์จากการเห็น คือไม่ได้เห็นเลยในช่วงขวบปีแรก ลูกก็จะไม่สามารถมองเห็นได้เลยเนื่องจากสมองส่วนการเห็นไม่ได้พัฒนา หรือนาทีทองสำ หรับการเรียนรู้เรื่องภาษาอาจจะอยู่ในช่วง 10 ปีแรกของชีวิต ดังที่เราเห็นว่าเด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามเมื่อเราพูดถึงนาทีทองหรือช่วงจังหวะสำ คัญจะต้องนึกไว้เสมอว่า ไม่มีคำ ว่าสายเกินไปที่จะช่วยให้เด็กเรียนรู้และพัฒนา เพียงแต่ถ้าช่วยเหลือเด็กช้าไป อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงมากและใช้เวลานานมากเมื่อเทียบกับการช่วยเหลือในช่วงเริ่มแรกของชีวิต

ปฏิกิริยาระหว่างประสบการณ์ที่เด็กได้รับในช่วงวัยแรกเริ่มของชีวิตนี้เองกับกรรมพันธุ์ที่เด็กได้รับจากพ่อแม่ ทำ ให้คนเราฉลาดหรือไม่ฉลาด รู้สึกมีความสุขหรือสิ้นหวัง ทำ ให้เราตอบสนองผู้อื่นด้วยความรักหรือด้วยความโกรธเกลียดชัง ทำ ให้เราใช้เหตุผลหรือไม่ใช้เหตุผล

ตอบสนองลูกอย่างถูกต้องเหมาะสม


ลูกเล็กๆต้องการเวลาต้องการความสนใจจากผู้ใหญ่ต้องการการดูแลเอาใจใส่โดยไม่จำเป็นต้องมีของเล่นที่แพงๆ หรือข้าวของเครื่องใช้ที่ดีเลิศหรูหรา ธรรมชาติการเลี้ยงดู การสัมผัส ความอบอุ่นเป็นสิ่งสำ คัญที่สุด

พ่อแม่ควรถือโอกาสนี้ใช้ความอยากรู้อยากเห็นของเด็กให้เป็นประโยชน์ เพราะเด็กก็เหมือนเครื่องจักรที่ต้องการเรียนรู้ตลอดเวลา มีความสนใจทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นเงาตามถนนเสียงสุนัขเห่า เสียงโทรศัพท์ เพราะฉะนั้นถ้าเราร่วมเรียนรู้ไปกับลูก ลูกจะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ เพราะลูกจะรู้ว่าตอนเล็กๆ มีคนฟังเขา สนใจเขา เมื่อโตขึ้นเขาก็ทำ แบบเดียวกัน

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างให้เห็นว่า การเลี้ยงดู การตอบสนองของพ่อแม่ หรือประสบการณ์ในวัยแรกเริ่ม มีผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการทางอารมณ์ของลูกอย่างไร

ตัวอย่างแรก แม่ซึ่งมีลูกอายุ 5 สัปดาห์ ตื่นขึ้นกลางดึกเพราะได้ยินเสียงลูกร้อง แม่รู้ว่าถึงเวลาให้นมแล้ว ลูกคงหิวแล้ว จึงเดินไปเปิดไฟ ลูกเมื่อรู้ว่าไฟเปิด ได้รับการสัมผัสโอบอุ้มของแม่ ถึงแม้จะหิวแต่ก็ค่อยๆ สงบลง เพราะรู้ว่าความหิวกำ ลังจะสิ้นสุดลงแล้ว ระหว่างที่แม่ป้อนนมลูกอยู่ครึ่งชั่วโมง แม่มองตาลูก พูดคุยด้วยเสียงเบาๆ ไปเรื่อยๆ ลูกก็ยิ้มจ้องมองตอบ "ว่าไงจ๊ะคนสวยของแม่ หิวใช่มั้ย เอาอีกมั้ยจ๊ะ เดี๋ยวเรอซะก่อนนะ แม่รักหนูจังเลย" เมื่อป้อนนมจนลูกอิ่มนอนหลับ แม่อุ้มลูกกลับไปนอนที่เตียงลูก จูบเบาๆ ห่มผ้าให้ กระซิบเบาๆ ว่า "ฝันดีนะลูกนะ"

กิจกรรมและความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกที่เกิดขึ้นเป็นกิจวัตรประจำ วันเช่นนี้ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาๆ ไม่มีความหมายอะไร แต่จริงๆ แล้วสิ่งเหล่านี้วิเศษเกินธรรมดา เพราะเป็นสิ่งที่ทำ ให้ลูกน้อยรู้ว่าเมื่อมีคนมาป้อนนมก็จะได้รับสัมผัสที่อ่อนโยน ได้เรียนรู้ว่าการร้องจะได้รับการตอบสนองที่ตรงกับความต้องการ จะเริ่มรู้สึกถึงสัมผัส มีการแลกเปลี่ยนความรู้สึกกับแม่ เรียนรู้ว่าตัวเองนั้นมีค่า มีคนตอบสนอง เห็นความสำ คัญ เกิดความไว้ใจในสิ่งแวดล้อมว่าอย่างน้อยมีคนที่เด็กจะเชื่อใจได้มีคนคอยช่วยเหลือเมื่อเกิดความไม่สบายกายใจ

ตรงข้ามกับอีกตัวอย่างหนึ่ง แม่ซึ่งเพิ่งทะเลาะกับสามีและหลับไปได้ไม่นาน ตื่นขึ้นด้วยความโมโหเมื่อได้ยินเสียงลูกวัย 5 สัปดาห์ร้องกลางดึก ลูกยิ่งร้องแม่ยิ่งโกรธ แม่ตะโกนใส่ลูกว่า "หุบปากซะที ทนไม่ไหวแล้ว" ลูกยิ่งร้องดังขึ้น เพื่อนบ้านก็ตะโกนแทรกขึ้นมา "ให้เด็กหุบปากซะที หนวกหูชาวบ้าน" แม่โกรธจัด ทุบกำ แพงตะโกนด่ากลับไปว่า "หุบปากตัวเองสิ" ในขณะเดียวกันกระโดดจากเตียงไปที่เตียงลูกพลางตะโกนใส่ลูก "มาแล้ว มาแล้ว หุบปากซะที" แม่จับลูกขึ้นมาดูและตะคอกใส่ "นึกว่าร้องแล้วจะได้ทุกอย่างที่ต้องการรึไง เอ้า..หิวก็จะให้กิน" ขณะที่ป้อนนมลูก แม่ยังไม่หายโกรธ ตาจ้องไปที่ผนัง นึกถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งทะเลาะกับสามี ยิ่งเกิดอารมณ์เครียดมากขึ้น อ้อมแขนที่อุ้มลูกอยู่เกร็งโดยไม่รู้ตัว ทำ ให้ลูกรู้สึกไม่สบาย เริ่มร้องอีก ไม่ยอมดูดนม แม่ก็ไม่เข้าใจ ตะโกนใส่ลูก "ไม่อยากกินก็ไม่ต้องกิน" แล้วอุ้มลูกกลับไปนอนที่เตียง เดินออกจากห้องไปที่ครัว เปิดเพลงเสียงดังลั่นกลบเสียงลูกลูกก็ร้องจนเหนื่อยหลับไปเอง

สำหรับตัวอย่างนี้เด็กก็ได้เรียนรู้ แต่เป็นการเรียนรู้ว่า การอุ้มการกอดเป็นสิ่งที่ไม่สบาย ไม่น่าพอใจ การร้องของเขาได้รับการตอบสนองด้วยเสียงแหลมๆ ที่แสดงอารมณ์โกรธของแม่ และเรียนรู้อีกว่าความต้องการของเขาไม่สำ คัญ และในโลกนี้ไม่มีใครเลยที่เขาจะเชื่อใจไว้ใจได้

จริงๆ แล้วอาจมีเด็กบางคนที่ร้องไม่หยุดแม้จะได้รับการกอด การป้อนนมอย่างอ่อนโยน แต่จากการวิจัยและข้อมูลการศึกษา พบว่าส่วนใหญ่เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรัก ให้การตอบสนองที่ถูกต้อง จะร้องน้อยกว่า กลางคืนจะหลับดีกว่า

เด็กทั้งสองตัวอย่างนี้ถ้าได้รับประสบการณ์แบบเดียวกันซํ้าแล้วซํ้าเล่าจะมีผลต่อการเจริญเติบโตพัฒนาการของสมองโดยเฉพาะทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกต่อตัวเอง ต่อโลกรอบข้างในลักษณะที่แตกต่างตรงกันข้าม ตัวอย่างหนูน้อยคนที่สองจะเรียนรู้ว่าความต้องการของเขาไม่สำ คัญไม่สามารถไว้เนื้อเชื่อใจใครได้เลย

เพราะฉะนั้นปฏิกิริยาและการตอบสนองอย่างถูกต้องของพ่อแม่พี่เลี้ยงที่มีต่อเด็กในชีวิตประจำ วันจึงมีความสำ คัญอย่างยิ่งในการทำ ให้เครือข่ายวงจรเส้นใยสมองของลูกอยู่คงทนและแข็งแรง เครือข่ายเส้นใยสมองและประสบการณ์เหล่านี้จะมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง ตลอดจนบุคลิกภาพ พฤติกรรม และการเรียนรู้ของเด็กในเวลาต่อมา

สำหรับพ่อแม่ที่ทำ งานนอกบ้าน คงมีปัญหาว่าทำ อย่างไรจึงจะมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของสมองลูก โดยธรรมชาติพัฒนาการของสมองเป็นไปโดยไม่หยุดยั้ง เป็นไปตลอดเวลาไม่ว่าในช่วงเวลาที่ลูกอยู่กับพ่อแม่หรือเวลาที่พ่อแม่ออกไปทำ งาน ดังนั้นสำ หรับพ่อแม่ที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านหรือมีความจำ เป็นไม่สามารถเลี้ยงลูกเองได้ ผู้ที่มีบทบาทสำ คัญแทนพ่อแม่ คือคนเลี้ยงดูเด็ก ไม่ว่าจะเป็นญาติ เพื่อนบ้าน หรือพี่เลี้ยงที่จ้างมาก็ตาม บุคคลเหล่านี้จะต้องมีประสิทธิภาพสูงและเข้าใจวิธีเลี้ยงดูเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องรู้จักการให้สิ่งกระตุ้นที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของสมองเด็ก

ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น