วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 4-2


บทที่ 4-2 สิ่งที่สร้างเสริมและบั่นทอนความฉลาดของลูก

สิ่งแวดล้อมมีผลต่อความฉลาดของลูก


ในเรื่องนี้วิทยาการใหม่ๆ เป็นข้อพิสูจน์ให้ความเชื่อของคนเราเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเฉพาะในเรื่องปัจจัยที่ทำ ให้ลูกมีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาดแต่เดิมเราเชื่อว่าสมองพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่มีสิ่งอื่นมากำ หนดได้ แต่ปัจจุบันเรามีข้อพิสูจน์แล้วว่า สมองพัฒนาไปโดยเป็นผลมาจากธรรมชาติหรือกรรมพันธุ์ ผสมกับสิ่งแวดล้อมหรือการเลี้ยงดู (เสื้อผ้าเด็ก macaroonies™)

พบว่า ประสบการณ์ในช่วงแรกของชีวิตลูกจะมีส่วนสำ คัญมากในการสร้างโครงสร้างของสมอง และมีผลต่อพัฒนาการของสมองต่อไปจนลูกโตเป็นผู้ใหญ่ สัมพันธภาพที่ดีระหว่างพ่อแม่กับลูก จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการและการเรียนรู้ที่ดี มีผลโดยตรงให้สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองด้วย

หรือแต่เดิมเราเชื่อว่าสมองพัฒนาเป็นเส้นตรง ความสามารถในการเรียนรู้ของคนเราตั้งแต่วัยเด็กเล็กจนโตเป็นผู้ใหญ่จะพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นเส้นตรง แต่ปัจจุบันพบว่าพัฒนาการและการเจริญเติบโตของสมองไม่ได้เป็นเส้นตรง แต่จะมีช่วงเวลาช่วงวัยของลูกที่เหมาะจะรับความรู้และทักษะแต่ละอย่างได้

หรือความคิดที่กล่าวว่า สมองของเด็กเล็กๆ ไม่ตื่นตัวเท่าเด็กมหาวิทยาลัย แต่ปัจจุบันนี้เราพบว่า เมื่อเด็กอายุ 3 ปี สมองจะตื่นตัวมากกว่าสมองผู้ใหญ่ถึง 2 เท่า และความตื่นตัวของสมองจะค่อยๆ ลดลงเมื่อถึงวัยรุ่น

การวิจัยค้นคว้าในเรื่องสมองทำ นองนี้ในช่วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ทำ ให้เราพบว่าสิ่งแวดล้อมมีส่วนทำ ให้สิ่งมีชีวิตมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน โดยเน้นการศึกษาถึงสิ่งแวดล้อมที่ทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสมอง โดยเฉพาะการเปลี่ยนโครงสร้างของสมอง เปลี่ยนสารเคมีในสมองและเปลี่ยนการทำ งานของสมอง

เช่น การวิจัยในหนูทดลอง 2 แบบ แบบแรก เอาหนูทดลองกลุ่มที่ 1 ไปเลี้ยงในกรงที่มีสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสิ่งกระตุ้น มีของเล่นที่จะกระตุ้นการเห็น กล้ามเนื้อ ความฉลาด กลุ่มที่ 2 เลี้ยงในกรงมาตรฐานทั่วไป และกลุ่มที่ 3 ค่อนข้างจะแยกออกมาอยู่ในกรงเล็กๆ ไม่มีสิ่งกระตุ้นการเห็นเท่าที่ควร กับการวิจัยแบบที่สอง แบ่งหนูทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นหนูที่ได้รับการฝึก อีกกลุ่มไม่ได้รับการฝึกเลย แล้วมาดูโครงสร้างของสมอง

พบว่า ในกลุ่มที่ได้รับการกระตุ้น นํ้าหนักของสมองจะมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการกระตุ้นเพราะมีการสร้างโปรตีนเพิ่มขึ้น กลุ่มที่ได้รับสิ่งกระตุ้นมาก สมองส่วนที่ใหญ่ขึ้นคือสมองส่วนที่เรียกว่า คอร์เท็กซ์ หรือพื้นผิวสมอง ซึ่งเป็นส่วนดูแลเกี่ยวกับการเรียนรู้และความฉลาด จะเพิ่มมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการกระตุ้น และพบอีกว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ได้รับการกระตุ้นแสดงว่าระยะเวลาหรือหน้าต่างเวลาในการให้การกระตุ้นเป็นสิ่งสำ คัญมากที่จะกระตุ้นสมองได้

หนูที่ได้รับการเลี้ยงดูในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสิ่งกระตุ้น สมองจะมีการสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองมากขึ้น และขนาดของเซลล์สมองก็ใหญ่ขึ้นด้วยประมาณร้อยละ 20 นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์พยุงหรือเกลียลเซลล์ด้วย

ที่น่าตื่นเต้นและสำ คัญกว่านั้นคือ หนูที่ได้รับการเลี้ยงดูในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสิ่งกระตุ้นโดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ของชีวิต จะมีเส้นใยสมองที่ยาวมากและมีจำ นวนมากขึ้นด้วย และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมสามารถที่จะกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงของจุดเชื่อมต่อของเส้นใยสมองได้ ซึ่งจะมีผลต่อพฤติกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเรียนรู้

การทดลองในสัตว์ทดลองที่เป็นฝาแฝดเหมือนยิ่งยืนยันถึงอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่มีผลต่อการพัฒนาสมอง เพราะฝาแฝดเหมือนจะมียีนหรือลักษณะทางพันธุกรรมที่เหมือนกันมาก เมื่อทดลองนำ สัตว์ทดลองที่เป็นฝาแฝดเหมือนไปแยกเลี้ยงดูในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันปรากฏว่าสิ่งแวดล้อมสามารถกระตุ้นให้สัตว์ทดลองฉลาดและสามารถเปลี่ยนโครงสร้างของสมองได้

นอกจากนี้ยังพบอีกว่า สมองของคนที่ถูกกระทบกระเทือนเมื่อตอนเป็นเด็กเล็ก ถ้าได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมมากๆ สมองส่วนที่ถูกกระทบกระเทือนก็มีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงและดีขึ้นได้อย่างเช่น การทดลองในหนูทดลองที่มีสมองส่วนคอร์เท็กซ์หรือพื้นผิวสมองที่ค่อนข้างบางซึ่งเป็นผลมาจากการได้รับความกระทบกระเทือนตอนแรกคลอด จะหนาขึ้นได้เมื่อเอาไปเลี้ยงในสิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งกระตุ้นมากๆ

หรือในเรื่องการสร้างบุคลิกภาพของลูก ก็มีตัวอย่างเช่น เด็กที่มีแนวโน้มจะเป็นคนขี้อายพบว่าหากเด็กได้รับการกอดบ่อยๆ พ่อแม่แสดงความรักบ่อยๆ จะโตขึ้นเป็นเด็กที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองและมองโลกในแง่ดี ทำให้มีความกล้ามากขึ้น

สิ่งแวดล้อมกับสมองลูกน้อยในครรภ์


มีการทดลองและการวิจัยหลายอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ลูกน้อยในครรภ์สามารถเรียนรู้ รับรู้หรือสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมรอบข้างได้แล้ว ยกตัวอย่างการได้ยิน มีการทดลองพบว่าในเด็กแรกเกิดสามารถแยกเสียงของแม่ออกจากเสียงคนอื่นได้ โดยสังเกตการดูดนมของเด็กทารกอายุ 4 วัน เด็กจะดูดนมค่อนข้างแรงถ้าหากว่าได้ยินเสียงพูดที่เป็นภาษาฝรั่งเศสซึ่งเป็นภาษาแม่ของเด็ก ต่างจากเวลาได้ยินเสียงภาษารัสเซีย เด็กจะดูดนมเบาลง แสดงว่าเด็กได้ยินเสียงแม่ตัวเองตั้งแต่อยู่ในครรภ์และจำได้

ในทางตรงข้าม อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีก็จะส่งผลถึงลูกในครรภ์ด้วย อาจจะทำ ลายหรือขัดขวางการเจริญเติบโตของสมองลูกได้ เพราะฉะนั้นแม่ตั้งครรภ์จึงต้องดูแลตัวเองให้ดี เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของสมองลูกให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ ดังนี้

1. รับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ ให้สารอาหารที่แม่ตั้งครรภ์ต้องการเป็นพิเศษ เช่น แคลเซียม ซึ่งต้องรับประทานให้มากโดยเฉพาะในช่วงท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ เหล็ก วิตามิน เกลือแร่ และที่สำ คัญคือสารอาหารที่เรียกว่า กรดโฟลิก (Folic Acid) ซึ่งมีความสำ คัญต่อการพัฒนาสมองลูกในช่วงปฏิสนธิและ 2 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ สามารถลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความพิการทางสมองของทารกในครรภ์ได้
2. ออกกำลังกายสมํ่าเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ
3. ฝากครรภ์และพบแพทย์เพื่อตรวจครรภ์ตามที่แพทย์นัดสมํ่าเสมอ
4. งดสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำ ให้คลอดก่อนกำ หนด เด็กที่คลอดออกมานํ้าหนักน้อยกว่าปกติ
5. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด ผลของแอลกอฮอล์และยาเสพย์ติดจะทำ ให้โครงสร้างและการทำงานของสมองผิดปกติ เด็กเกิดมามีสติปัญญาบกพร่องหรือบางครั้งรูปร่างของโครงสร้างสมองจะแหว่งๆ ขาดหายไปหรือผิดปกติ เพราะเซลล์ที่ทำ หน้าที่พยุงเซลล์สมองหรือเกลียลเซลล์จะถูกทำลาย โดยเฉพาะโปรตีนที่มีอยู่ในเกลียลเซลล์เหล่านี้จะผิดปกติ ผลคือสมองทำ งานผิดปกติ
6. ห้ามซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะยาบางชนิดมีผลต่อการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ และสมองทารกในครรภ์
7. ห้ามรับการฉายเอ็กซเรย์ เพราะจะมีผลต่อสมองและการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆของทารกในครรภ์
8. หลีกเลี่ยงความเครียด ถ้ามีปัญหาสุขภาพจิตโดยเฉพาะมีอารมณ์ซึมเศร้าและเครียดระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด จะมีผลต่อการเลี้ยงดูลูก ทำให้สัมพันธภาพระหว่างแม่และลูกไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการเจริญเติบโตของสมองลูก

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการดูแลสุขภาพทั้งกายและใจของแม่ตั้งครรภ์มีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองเด็กไปตลอดชีวิต ซึ่งพ่อเป็นผู้มีบทบาทและส่วนสำ คัญในการดูแลสุขภาพกายใจของแม่มากทีเดียว พ่อควรดูแลเอาใจใส่และให้กำ ลังใจแม่ เช่น ร่วมไปเป็นกำ ลังใจเมื่อแม่ไปตรวจครรภ์หรือมีหัตถกรรมต่างๆ เช่น เจาะตรวจนํ้าครํ่า อัลตร้าซาวนด์ คลอด (ควรเข้าไปอยู่ในห้องคลอดด้วย) หลังคลอดพ่อยังช่วยได้มากโดยช่วยแบ่งเบาภาระในการดูแลลูก เช่น ช่วยเปลี่ยนผ้าอ้อม ป้อนนม และอื่นๆ ทำ ให้ความสัมพันธ์พ่อแม่ลูกผูกพันกันแน่นแฟ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อพัฒนาการและความฉลาดของลูกด้วย

ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น