วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 4-3

บทที่ 4-3 สิ่งที่สร้างเสริมและบั่นทอนความฉลาดของลูก


สิ่งแวดล้อมในช่วงแรกเริ่มชีวิตลูก


เมื่อลูกคลอดออกมาจากครรภ์แม่แล้ว สิ่งแวดล้อมยิ่งมีบทบาทมากขึ้น เพราะช่วงหลังคลอดนี้ สมองลูกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรกของชีวิต (เสื้อผ้าเด็ก macaroonies™)

จากแรกเกิด สมองของลูกซึ่งมีเซลล์สมองอยู่ 1 แสนล้านเซลล์ แต่เซลล์สมองเหล่านี้ยังไม่มีการเชื่อมโยงกัน สมองของลูกแรกเกิดจึงเหมือนกับห้องว่างๆ ที่ยังไม่ได้ตกแต่ง ยังไม่มีเฟอร์นิเจอร์ส่วนของสมองที่ดูแลเกี่ยวกับความคิด ความจำ อารมณ์ และพฤติกรรมทางสังคมก็ยังไม่พัฒนา ต่อเมื่อลูกได้รับสิ่งกระตุ้นจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ จากสิ่งแวดล้อม สมองลูกก็จะสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองตอบสนองและเกิดการทำ งานขึ้น

สมองของลูกแรกเกิดทำ งานมากกว่าที่เราคิดมากนัก มีการเรียนรู้มากกว่าที่พ่อแม่เรียนรู้ลูกเป็นพันๆ เท่า ตั้งแต่การอุ้ม การโอบกอด เสียงเพลงที่พ่อแม่กล่อมให้นอน เสียงหัวเราะ หยอกเย้า เสียงที่พ่อแม่พูดคุยด้วย ล้วนเป็นข้อมูลที่พ่อแม่ป้อนให้ลูก ซึ่งจะไปกระตุ้นสมองลูก ทำ ให้เกิดเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อต่างๆ อย่างมากมายและรวดเร็วในช่วง 3 ปีแรกหลังคลอด

เมื่อลูกอายุ 3 ปี สมองจะมีจำ นวนเครือข่ายเส้นใยสมองนับล้านล้านเครือข่าย ล้านล้านล้านจุดเชื่อมต่อมากกว่าสมองผู้ใหญ่ 2 เท่า การสร้างจุดเชื่อมต่อและเครือข่ายเส้นใยสมองเหล่านี้จะมีต่อไปจนลูกอายุ 10 ปี หลังจากนั้นสมองจะเริ่มกำ จัดเครือข่ายเส้นใยสมองที่ไม่ได้ใช้ทิ้งไป เพื่อให้ส่วนที่เหลือมีความสามารถและมีประสิทธิภาพการทำ งานสูงสุด

จุดเชื่อมต่อและเครือข่ายเส้นใยสมองที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมากมายในช่วงต้นของชีวิตนี้หากได้รับการกระตุ้นหรือกลุ่มเซลล์สมองได้ทำ งานอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นในทางบวกหรือลบก็ตาม จะทำ ให้เซลล์สมองและเส้นใยสมองกลุ่มนี้คงทนอยู่ได้นาน ยิ่งถูกใช้งานซํ้าแล้วซํ้าเล่า ก็จะอยู่มั่นคงตลอดไป ถ้าไม่ถูกใช้เลยหรือใช้ไม่มากพอหรือไม่ได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสม ลูกจะขาดพัฒนาการด้านต่างๆ ทำ ให้เครือข่ายเส้นใยสมองที่สมควรจะมีก็ไม่เกิดขึ้น เช่น เด็กที่ไม่มีใครพูดคุยด้วย ไม่มีใครอ่านหนังสือให้ฟัง เด็กจะเสียความสามารถทางด้านภาษา หรือเด็กที่ไม่ได้รับการกระตุ้นด้วยการเล่น ด้วยการเข้ากลุ่มกับเด็กคนอื่น ก็จะเสียความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมเมื่อโตขึ้น เป็นต้น ผลระยะยาวของการขาดการกระตุ้น ขาดการเอาใจใส่ มีผลทำ ให้สมองไม่พัฒนา เช่น เด็กกำ พร้าที่ถูกทิ้งไว้ในสถานเลี้ยงเด็กกำ พร้าโดยที่ไม่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการสมองบางส่วนที่มีความสำ คัญต่อพัฒนาการก็จะไม่พัฒนา

ในทางตรงข้าม เด็กที่ได้รับความเอาใจใส่จากพ่อแม่และได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสมอยู่เสมอ ก็จะเติบโตเป็นเด็กที่มีความสามารถด้านต่างๆ เช่น อาจจะเป็นจิตรกร หรือนักกีฬาที่มีชื่อเสียง เช่น ไทเกอร์ วูด (Tiger Wood) นักกอล์ฟชื่อก้องโลก

การเลี้ยงดูที่ส่งเสริมให้ลูกฉลาด


การเลี้ยงดูที่ส่งเสริมให้ลูกฉลาดไม่ได้มีเคล็ดลับอะไรเลย เพียงด้วยความรักและความผูกพันที่พ่อแม่ลูกมีต่อกัน ก็สามารถกระตุ้นให้สมองลูกเกิดการสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองมาเชื่อมโยงเซลล์สมอง ทำให้สมองของลูกพัฒนาทำ งานได้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ

ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่แม่ป้อนนมลูก แม่จ้องมองตาลูกด้วยความรัก ในขณะที่พ่อเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกก็พูดคุยกับลูกน้อยด้วยเสียงที่อ่อนโยน นุ่มนวล ในขณะที่พี่เลี้ยงกล่อมเด็กให้นอนก็ร้องเพลงให้ฟัง เหล่านี้ดูเหมือนเป็นสิ่งปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นทุกวี่วันวันละหลายครั้ง แต่จริงๆ แล้วสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำ เป็นและมีความสำ คัญมากต่อการหล่อเลี้ยงสมองลูก เช่นเดียวกับร่างกายต้องการสารอาหารเพื่อการเจริญเติบโต

วิทยาการสมัยใหม่และข้อมูลใหม่ๆ ค้นพบแล้วว่า อารมณ์ที่มีความสุข สัมผัสที่นุ่มนวลอ่อนโยน และประสบการณ์ที่ลูกได้รับในช่วงแรกเกิดนี้สำ คัญมากต่อการที่จะช่วยให้สมองเด็กพัฒนาและมีผลต่อไปถึงอนาคตของลูก

ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น