วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 4-6


นมแม่กับการเพิ่มไอคิว (IQ)


นมแม่เป็นอาหารธรรมชาติที่ประเสริฐที่สุดที่จะทำ ให้เด็กในช่วง 4เดือนแรกสามารถจะมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่จำ เป็นต้องมีอาหารเสริมหรือนมกระป๋อง และนมแม่โดยเฉพาะนมหยดแรกที่มีสารโคลอสตรัม ยังมีภูมิคุ้มกันที่สามารถต้านทานโรคต่างๆ เด็กที่กินนมแม่จะมีอาการหูอักเสบเป็นหวัด เป็นผื่น หรือเป็นภูมิแพ้ น้อยกว่าเด็กที่กินนมกระป๋องหรือนมวัวส่วนตัวแม่ที่ให้นมลูกก็จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมน้อยกว่าแม่ที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และจะลดนํ้าหนักหลังคลอดได้ดีกว่า ขณะเดียวกันการให้ลูกกินนมแม่ยังเป็นการคุมกำ เนิดแบบธรรมชาติได้ด้วย (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)

แต่มีการตั้งข้อสงสัยว่า นมแม่สามารถเพิ่มความฉลาดหรือไอคิวให้ลูกได้หรือไม่ ตรงนี้ยังมีข้อมูลไม่ชัดเจนนัก มีการวิจัยใหม่ๆ หลายการวิจัยบ่งชี้ว่าเด็กที่กินนมแม่จะมีไอคิวสูงกว่า เรียนหนังสือได้ดีกว่าเด็กที่กินนมกระป๋องหรือนมวัว โดยดูจากการทดสอบไอคิวและผลการเรียน

แม้จะยังไม่มีใครชี้ชัดว่าทำ ไมนมแม่ถึงดีกว่านมวัวหรือนมกระป๋อง แต่ที่สำ คัญคือเอนไซม์ต่างๆ ที่เป็นตัวย่อยอาหาร หรือกรดไขมัน หรือโปรตีนที่อยู่ในนมแม่ค่อนข้างที่จะสลับซับซ้อน และอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสมอง สารบางตัวจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของประสาทตา ทำ ให้เชื่อว่าเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่มีความสามารถในการเห็นดีกว่าเด็กที่เลี้ยงด้วยนมวัว

อย่างไรก็ตามมีคำ ค้านจากนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งว่าอาจไม่ใช่เพราะสารอาหารในนมแม่ที่วิเศษ แต่เนื่องจากแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเป็นแม่ที่รักเอาใจใส่ลูก เด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่จะได้รับการสัมผัสโอบอุ้มตลอดเวลา จึงมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคม ดีกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่

ของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการสมองและความฉลาด


พ่อแม่ส่วนใหญ่มักคิดว่าของเล่นที่ออกแบบอย่างซับซ้อน ราคาแพง จะสามารถพัฒนาลูกให้ฉลาดได้

ปัจจุบันมีการวิจัยว่าโมบายล์สีขาวดำ ช่วยพัฒนาการมองเห็นของลูกแรกเกิดได้ดี หรือเพลงคลาสสิคของโมซาร์ตจะช่วยพัฒนาสมองและพัฒนาการของลูก แล้วสิ่งเหล่านี้สามารถพัฒนาลูกให้ฉลาดได้จริงหรือไม่ เราสามารถจะกระตุ้นเด็กให้เป็นไอน์สไตน์อีกคนหนึ่งได้หรือไม่

จริงๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นใดๆ ก็ตาม ที่สำ คัญที่สุดคือ ต้องกระตุ้นอย่างเหมาะสมไม่มากไม่น้อยเกินไป หรือผิดวิธี และต้องเป็นไปตามช่วงวัยของลูก ผู้เชี่ยวชาญหลายๆ คนแนะนำ ให้พ่อแม่อย่าตื่นเต้นที่จะกระตุ้นลูกให้มากนัก เพราะจริงๆ แล้ว ของเล่นที่วิลิศมาหราหรือข้าวของเครื่องใช้ที่หรูหราไม่สำ คัญเท่าการพูดคุยกับเด็ก ให้เวลาคุณภาพกับเด็ก ข้าวของเครื่องใช้ที่มีรอบตัวภายในบ้านก็ใช้เป็นของเล่นได้ดี เช่น หม้อข้าว จาน ช้อน ฯลฯ

นักวิชาการบางคนมีความเห็นเกี่ยวกับการกระตุ้นสมองลูกว่า สมองเด็กเจริญเติบโตอยู่แล้วตามธรรมชาติ การช่วยกระตุ้นเป็นเพียงการเสริมสร้างเท่านั้น และนักวิชาการอื่นๆ ก็สนับสนุนว่าการกระตุ้นเด็กที่ดีที่เหมาะสม คือ การเลี้ยงเด็กแบบสมัยโบราณนั่นเอง ด้วยการพูดคุย เล่นกับเด็ก โดยเฉพาะการพูดด้วยเสียงสูงๆ ของแม่ เมื่อเวลาหยอกล้อกับลูก จะกระตุ้นสมองที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาได้ดี

นักวิจัยกล่าวว่า ของเล่นง่ายๆ อย่างเช่น บล็อกไม้สี่เหลี่ยม ลูกปัดการเล่นจ๊ะเอ๋ ที่พ่อแม่ในสมัยโบราณใช้เลี้ยงดูลูกเป็นสิ่งวิเศษที่สุดในการเพิ่มพัฒนาการของกล้ามเนื้อ ภาษา และความฉลาด

และทางที่ดีที่สุดควรป้องกันสมองลูกไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน ซึ่งจะป้องกันการสูญเสียเซลล์สมองหรือการมีพัฒนาการที่ผิดปกติ

สิ่งอื่น ๆ ที่ช่วยพัฒนาสมองลูก


สิ่งอื่นๆ ที่จะช่วยสร้างเส้นใยสมองให้ลูกหรือทำ ให้ลูกฉลาด คือเสียงดนตรี มีการวิจัยพบว่าดนตรีสามารถเพิ่มความคิดอย่างมีเหตุผลได้

การนึกคิด จินตนาการที่เป็นเหตุเป็นผลนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในเรื่องของเลขคณิต วิศวกรรมและการเล่นหมากรุก

มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าดนตรีสามารถทำ ให้เด็กมีความคิดเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น จากการทดสอบเด็กที่เรียนเปียโนอย่างขะมักเขม้น พบว่ามีคะแนนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนเปียโน แต่ผลที่พัฒนาขึ้นนี้ไม่พบในเด็กที่เรียนคอมพิวเตอร์ หรือใช้คีย์บอร์ด หรือใช้เมาส์ หรือไปเรียนร้องเพลง

นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า การเรียนเปียโนทำ ให้เราเห็นภาพการทำ งานในช่วงเวลานั้นๆยกตัวอย่างเช่น การที่นิ้วมือขยับไปและการที่คีย์หรือรูปแบบของโน้ตดนตรีทำ ให้เกิดเสียงดนตรีนั้นจะทำ ให้สมองสร้างเส้นใยสมองขึ้นมาเพื่อคิดเชื่อมโยงระหว่างตำ แหน่งของคีย์เปียโนกับเสียงที่เกิดขึ้น ซึ่งการใช้ดนตรีนี้เองจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระยะยาวของเส้นใยสมอง แต่ที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ คือ ผลของการเรียนหรือเล่นดนตรีในช่วงเด็กเล็กๆ นี้ จะทำ ให้เด็กเติบโตเป็นอัจฉริยะในช่วงมัธยมปลายหรือไม่

ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น