วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 4-7


สิ่งที่ขัดขวางความฉลาดและการเรียนรู้ของเด็ก


หากสมองของลูกไม่ได้พิการมาแต่กำ เนิด หรือไม่ได้รับความกระทบกระเทือนจนสูญเสียความสามารถ ก็อาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำ ให้สมองลูกไม่อาจพัฒนาไปอย่างที่ควร ทำ ให้ด้อยความสามารถทางสติปัญญาและการเรียนรู้ ซึ่งหากพ่อแม่ได้ทราบสาเหตุก็จะได้แก้ไขหรือป้องกันได้ (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)

ความเครียดขัดขวางการเรียนรู้


ความเครียดและประสบการณ์ที่ไม่ดีเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างสมองและการเรียนรู้ ประสบการณ์ที่ไม่ดี การได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจในวัยเด็ก จะทำ ให้สมองเกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างไปในทางที่ไม่ดี

เด็กที่ได้รับประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ จะทำ ให้เด็กมีความหวาดกลัว เครียด สารเคมีที่ร่างกายปล่อยออกมาเมื่อกลัวหรือเครียดจะมีส่วนสำ คัญมากในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมอง และถ้าหากประสบการณ์นี้เกิดขึ้นซํ้าแล้วซํ้าเล่า ก็จะเปลี่ยนโครงสร้างของสมองไปโดยถาวร

ความกระทบกระเทือนนั้นจะทำ ให้เกิดการสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียดที่เรียกว่า คอร์ติโซล (Cortisol) จะทำ ลายสมองโดยเฉพาะสมองส่วนคอร์เท็กซ์หรือพื้นผิวสมอง ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับความคิด ความฉลาด กับสมองส่วนฮิปโปแคมปัสหรือสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความจำทำ ให้สมองส่วนนี้เล็กลงกว่าเด็กทั่วไปประมาณร้อยละ 20 - 30 และเมื่อผ่าสมองออกดู สมองนี้จะมีจุดเชื่อมต่อของเส้นใยสมองน้อยกว่าเด็กปกติที่ไม่ได้รับความกระทบกระเทือน

ความกระทบกระเทือนอาจเป็นแค่ความเครียดในจิตใจ ไม่จำ เป็นต้องเป็นความกระทบกระเทือนทางกายภาพ เช่น ถูกทุบศีรษะ ผู้ใหญ่ที่ตอนเด็กๆ ถูกทำ ร้ายบ่อยๆ ส่วนสมองที่เรียกว่าฮิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นสมองเกี่ยวกับความจำ ก็จะเล็กกว่าสมองผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ถูกทำ ร้ายตอนเป็นเด็ก เชื่อว่าเป็นผลมาจากพิษฮอร์โมนเครียดที่เรียกว่าคอร์ติโซลเช่นกัน

หากระดับฮอร์โมนเครียดหรือคอร์ติโซลสูงมากในช่วงของการเจริญเติบโตของสมอง คือช่วงที่ลูกอยู่ในวัยแรกเกิดถึง 3 ปี ก็จะไปเพิ่มการทำ งานของสมองส่วนที่ทำ หน้าที่เกี่ยวกับการตื่นตัวตลอดเวลา กับสมองที่เกี่ยวกับการระมัดระวังตัวตลอดเวลา ทำ ให้สมองเกิดการขยายเส้นใยสมองส่วนที่จะทำ ให้เป็นคนตื่นตัว ขี้กลัวอยู่ตลอดเวลา

สมองส่วนนี้จะถูกกระตุ้นหลังจากที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางร่างกายหรือจิตใจ และถ้าหากว่าเด็กฝันหรือคิดหรือได้รับความกระทบกระเทือนในเรื่องเดิมอีก อย่างเช่น ถ้าเด็กไปเห็นคนที่เคยทำ ร้ายเขามาก่อน ความเครียดแม้เพียงเล็กน้อยก็จะไปกระตุ้นสมองส่วนนี้ทันที ทำ ให้ฮอร์โมนเครียดเพิ่มระดับสูงขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคไฮเปอร์แอ็คทีฟ (Hyperactive)คือ เลิ่กลั่ก อยู่ไม่สุข เครียด และมีพฤติกรรมที่อดรนทนรออะไรไม่ได้

เด็กที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีความเครียดสูงจะมีปัญหาในการควบคุมสมาธิและการควบคุมตัวเอง การถูกทำ ร้ายไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ จะทำ ให้สารเคมีในสมองไปรบกวนเซลล์สมอง ทำ ให้เซลล์สมองบางตัวถูกกระตุ้น ในขณะที่เซลล์สมองบางตัวถูกยับยั้งการทำ งาน สารเคมีเหล่านี้เองเป็นสิ่งสำ คัญที่จะบอกว่าให้เซลล์สมองสร้างเส้นใยสมองไปในทิศทางใด ให้ไปเชื่อมต่อกับอะไร เด็กที่ได้รับความเครียดอยู่ตลอดเวลาหรือพบความเครียดที่ไม่สามารถจะคาดเดาได้ เช่น แฟนใหม่ของแม่อยู่ๆ ก็อารมณ์เสีย เสียงดัง ตบตีแม่ หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีลุงติดเหล้า ซึ่งวันหนึ่งอาจอารมณ์ดี อีกวันหนึ่งอารมณ์ร้าย เด็กจะขาดความสามารถที่จะเรียนรู้ ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะเด็กเกิดมาสมองเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้ แต่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ ความสามารถที่จะเรียนรู้ได้หายไปตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นสิ่งแวดล้อมจะต้องเอื้ออำ นวยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างสมบูรณ์ด้วย

อิทธิพลของโทรทัศน์


หากพ่อแม่ปล่อยให้ลูกได้ดูโทรทัศน์ หรือใช้โทรทัศน์เลี้ยงลูกเพราะสามารถสะกดลูกให้นั่งนิ่งๆ ได้นาน ลูกก็จะติดโทรทัศน์ได้อย่างรวดเร็ว แต่พ่อแม่อาจไม่ทราบว่าโทรทัศน์ได้ใส่อะไรในสมองของลูก และมีผลต่อการเรียนรู้ของลูกอย่างไรบ้าง

รายการโทรทัศน์มีอิทธิพลกับลูกมากโดยเฉพาะเด็กวัยประถม เนื่องจากเด็กวัยนี้ได้รับความกดดันจากเพื่อน เพื่อนมีอะไรก็ต้องมีบ้าง

ลักษณะการดูโทรทัศน์ของเด็กแต่ละวัยจะแตกต่างกัน โดยทั่วๆ ไปเด็กขวบปีแรกจะเดินผ่านมามองทีวีเพียงแวบเดียวแล้วผละออกไป จะใช้เวลาดูโทรทัศน์ไม่เกินร้อยละ 10 - 15 ของเวลาทั้งวันเพราะว่าเด็กเล็กๆ วัย 1 ขวบ จะไม่รู้ว่าภาพในโทรทัศน์คือสัญญาณภาพผ่านหลอดแก้ว จะไม่รู้ว่าภาพในโทรทัศน์ไม่ใช่ของจริง มีความรู้สึกว่าสิ่งต่างๆ ทั้งหลายในโทรทัศน์อาจจะหลุดออกมานอกโทรทัศน์ได้ อย่างเช่น สัตว์ประหลาดที่น่ากลัว เด็กจะเกิดความกลัวว่ามันอาจจะออกมาจากโทรทัศน์มาทำร้ายได้

เด็กที่ดูรายการโทรทัศน์ที่มีการต่อสู้ก้าวร้าวรุนแรง จะเป็นคนชอบต่อสู้ก้าวร้าวรุนแรง ในขณะที่เด็กที่ดูรายการโทรทัศน์ที่สร้างสรรค์จะเป็นคนสร้างสรรค์จะเล่นเกมแบบสร้างสรรค์

การดูโทรทัศน์จะมีผลต่อการเจริญเติบโตพัฒนาการของสมองโดยเฉพาะกระบวนการเรียนรู้เด็กที่ดูโทรทัศน์มากๆ จะไม่มีการเล่นแบบสมมุติซึ่งเป็นการเล่นที่สำ คัญต่อพัฒนาการของเด็ก

การดูโทรทัศน์ยังทำ ให้เด็กไม่ทำ อย่างอื่นที่ควรจะทำ ในช่วงเวลานั้นๆ เด็กที่ไม่ได้ดูโทรทัศน์มาก จะใช้เวลาที่เรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว สร้างโลกเล็กๆ ของตัวเองขึ้นมา เด็กกลุ่มนี้จะเป็นเด็กที่ให้ความร่วมมือดี เป็นผู้นำ ที่ดี และไม่ก้าวร้าว เด็กที่ดูโทรทัศน์มากเกินไปจะเป็นเด็กที่มีอารมณ์แปรปรวน ขี้โมโห ค่อนข้างเครียด ร้องไห้ง่าย เพราะฉะนั้นพ่อแม่จำ กัดเวลาลูกดูโทรทัศน์แค่ 1 - 2 ชั่วโมงต่อวัน และกำ หนดรายการโทรทัศน์ที่ลูกจะดูด้วย

สรุป

วิทยาการสมัยใหม่ให้ข้อสรุปว่า ปัจจัยที่ทำ ให้ลูกฉลาดหรือไม่อย่างไร มีอยู่ 2 อย่างด้วยกันคือกรรมพันธุ์หรือลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นสิ่งที่กำ หนดโครงสร้างและขั้นตอนการเจริญพัฒนาของสมองมาเรียบร้อยแล้วตั้งแต่แรกเกิด กับอีกปัจจัยหนึ่งคือสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดู ซึ่งสิ่งแวดล้อมมีผลต่อสมองลูกมาตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์ เช่น การที่แม่ได้รับยาบางชนิด ได้รับการฉายแสงเอ็กซเรย์ ได้รับความกระทบกระเทือน หรือขาดธาตุหรือสารอาหารบางชนิด ก็อาจส่งผลทำ ให้สมองลูกไม่สามารถเจริญเติบโตสมบูรณ์แบบได้ ทำ ให้ลูกเกิดมามีปัญหาสติปัญญาบกพร่อง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้

หลังคลอดสิ่งแวดล้อมที่สำ คัญคือการเลี้ยงดู โดยเฉพาะการเลี้ยงดูในช่วงแรกๆ ของชีวิต ที่แม่ลูกมีสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ลูกได้รับความรักความอบอุ่น การสนองตอบความต้องการอย่างถูกต้องเหมาะสม ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย สิ่งเหล่านี้ทำ ให้สมองลูกซึ่งโดยธรรมชาติแล้วจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วใน 3 ปีแรกของชีวิต ได้รับการกระตุ้นทำ ให้เกิดการขยายเครือข่ายเส้นใยสมอง มีการสร้างไขมันหุ้มล้อมรอบเส้นใยสมองอย่างมากมาย ยิ่งสมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองมากเท่าไร สมองลูกก็จะยิ่งพัฒนา ทำ ให้ลูกฉลาดมากขึ้นเท่านั้น

แม้ว่าลูกจะได้รับการกระตุ้น ส่งเสริมสมองให้พัฒนาดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่ในสิ่งแวดล้อมก็มีสิ่งที่ขัดขวางความฉลาดและการเรียนรู้ของเด็ก ที่สำ คัญคือ ความเครียด ซึ่งทำ ให้ร่างกายลูกหลั่งฮอร์โมนเครียด มีผลต่อสมองโดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับความจำ อีกสิ่งหนึ่งคือโทรทัศน์ ทำ ให้ลูกขาดโอกาสที่จะเรียนรู้จากการลงมือกระทำ ขาดการทำ กิจกรรมอื่นๆ ที่จะส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆพ่อแม่จึงต้องจำ กัดเวลาดูโทรทัศน์และเลือกรายการที่เหมาะสมให้ลูกด้วย

ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น