วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 4-1


บทที่ สิ่งที่สร้างเสริมและบั่นทอนความฉลาดของลูก


คนเรามักเข้าใจกันว่าลูกฉลาดเพราะพ่อแม่ฉลาด นั่นเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว กรรมพันธุ์ที่ลูกได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ทาํ ใหล้ กู ฉลาด แต่ความจริงต้องอาศยั อกีปจั จัยหนงึ่ คอื สิ่งแวดลอ้ มและการเลี้ยงดูเขา้ มามีสว่ นรว่ มในการสรา้ งความฉลาดใหกั้บลูก (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)

ลักษณะทางกรรมพันธุ์ซึ่งเป็นเรื่องของธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมกับการเลี้ยงดูจะต้องเอื้ออำนวยซึ่งกันและกัน จึงจะทำ ให้สมองของลูกเจริญเติบโตเป็นปกติ คนเราเกิดมาในโลกนี้เหมือนกับต้นไม้ที่มีเมล็ดพันธุ์อยู่แล้ว แต่จะต้องอาศัยการรดนํ้าใส่ปุ๋ยเพื่อจะทำ ให้เมล็ดพืชเติบโตขึ้นมาเป็นต้นไม้ใหญ่ที่แข็งแรงสมบูรณ์ เปรียบเสมือนสมองของเราที่ธรรมชาติให้มา แต่จะต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ส่งเสริมให้สมองนี้เป็นสมองที่ฉลาดและมีประสิทธิภาพที่สุด จึงกล่าวได้ว่าไม่มีความสามารถหรือความฉลาดใดที่จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยปราศจากสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

กรรมพันธุ์เกี่ยวข้องกับความฉลาดของลูก


เรามาดูกันว่ากรรมพันธุ์จากพ่อแม่บรรพบุรุษที่ถ่ายทอดให้ลูก เกี่ยวข้องกับสติปัญญาและความฉลาดของลูกได้หรือไม่อย่างไร

ลักษณะทางกรรมพันธุ์ที่ลูกได้รับจากพ่อและแม่จะเป็นไปตามกลไกธรรมชาตินับตั้งแต่เริ่มแรกปฏิสนธิ และเป็นตัวกำ หนดให้สมองลูกก่อตัวเป็นรูปเป็นร่าง เจริญเติบโตจนพร้อมที่จะถือกำ เนิด

ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์กรรมพันธุ์จะเป็นตัวกำ หนดว่าสมองลูกจะเจริญเติบโตอย่างไร มีโครงสร้างอย่างไร ถ้าไม่มีผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม สมองของลูกก็จะเจริญเติบโตไปตามที่ลักษณะทางกรรมพันธุ์กำหนด

สิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสมองลูกในครรภ์ เช่น หากแม่ตั้งครรภ์รับประทานยาบางชนิดซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของสมอง จะทำ ให้เซลล์สมองบางส่วนไม่เจริญเติบโต สมองมีความผิดปกติ ลูกอาจมีความบกพร่องทางสติปัญญา เช่น ปัญญาอ่อน หรือเป็นอัมพาต หรือเป็นโรคชัก ฯลฯ นอกจากยาแล้ว การติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์โดยเฉพาะเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น หัดเยอรมัน ก็มีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองด้วย เนื่องจากเชื้อตัวนี้จะไปทำ ให้เกิดการอักเสบและทำ ลายเนื้อเยื่อสมองบางส่วน ทำ ให้ลูกมีสมองพิการ

จากการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์พบว่า กรรมพันธุ์หรือที่เราได้ยินนักวิทยาศาสตร์พูดกันถึงDNA หรือ ยีน ที่เป็นหน่วยทางพันธุกรรม ว่าคนเรามียีนทั้งหมดราว 1 แสนยีน และมียีนถึง 50,000ยีน ที่เป็นตัวกำ หนดโครงสร้างและคุณลักษณะของสมองและระบบประสาท

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบความสำ คัญของยีนต่อสมองมากมายหลายอย่างด้วยกัน เช่นในระยะที่สมองกำ ลังก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างอยู่ในครรภ์แม่ จะมียีนเป็นตัวกำ หนดให้เซลล์สมองเดินทางจากใจกลางเนื้อสมองไปยังพื้นผิวสมองในตำ แหน่งที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อทำ หน้าที่ต่างๆ ทำให้สมองและระบบประสาทต่างๆ ทำ งานเป็นปกติ

หรือมียีนเป็นตัวกำ หนดความเข้มข้นของโปรตีนในเซลล์สมอง และกำ หนดคุณลักษณะของเซลล์สมอง อยา่ งเชน่ เซลลส์ มองที่มีโปรตนี จากยนี ในปรมิ าณสูงกจ็ ะทาํ หนา้ ท่เี ปน็ เซลล์สมองเคลื่อนไหว คือเซลล์สมองส่วนที่ควบคุมการทำ งานของกล้ามเนื้อ ส่วนเซลล์สมองที่มีโปรตีนจากยีนในปริมาณน้อยๆ กจะเป็นเซลล์สมองเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองแต่ละตัว

หรือการค้นพบยีนที่สร้างโปรตีนซึ่งมีส่วนสำ คัญทำ ให้เซลล์สมองเคลื่อนไหวจากจุดหนึ่งไปยังตำ แหน่งที่ถูกต้องในสมอง อย่างเช่น เซลล์สมองที่เกี่ยวกับตาก็จะเดินทางไปอยู่ที่สมองส่วนหลังถ้าเซลล์สมองเดินทางไปยังตำ แหน่งที่ไม่ถูกต้อง ก็จะทำ ให้เกิดความผิดปกติ เช่น อาจจะทำ ให้เกิดเนื้องอกในสมอง หรือความบกพร่องในการเรียนรู้ (Learning Disability) หรือโรคจิตบางประเภท หรือโรคสมองเสื่อม เป็นต้น

หรือมียีนเป็นตัวกำ หนดเส้นทางการแผ่กิ่งก้านของเส้นใยสมอง เช่น ในสมองส่วนที่ทำ หน้าที่เกี่ยวกับการเห็นของคนเรา เส้นใยสมองของเซลล์สมองที่เกี่ยวกับการเห็นจะเรียงตัวเองเป็นชั้น เป็นแท่ง อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย และแบ่งว่าชั้นไหนหรือแท่งไหนที่มาจากตาซ้าย ชั้นไหนแท่งไหนมาจากตาขวา

หรือมียีนที่ชื่อว่าเคร็บยีน เป็นตัวกำ หนดถึงการเชื่อมโยงระหว่างพัฒนาการของสมองทารกในครรภ์ไปจนกระทั่งพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมองหลังคลอด โดยเฉพาะในเรื่องความจำ และการเรียนรู้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและในมนุษย  นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ความจาํ และการเรยี นรตู้ อ้ งอาศยั เครบ็ ยนี ซึง่ เขาทา ํ การทดลองโดยยบั ย้งั หรือหยดุ การทา ํ งานของยนี ตัวน้ใี นหอยทาก พบว่าเกิด กาเปลี่ยนแปลงในสมองของหอยทาก ทำ ให้หอยทากเรียนรู้ได้ในเวลาอันสั้น ไม่สามารถจะมีความจำ ระยะยาวได้ ดังนั้นถ้าหากว่าไม่มีความจำ ระยะยาว เราก็ไม่สามารถเรียนรู้อะไรได้มากกว่าทักษะง่ายๆ

นอกจากนั้นยังมียีนที่มีส่วนกำ หนดพฤติกรรมมนุษย์ เช่น ยีนที่ทำ ให้เกิดความสุข ยีนนี้จะเกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมองที่ชื่อว่าโดปามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำ ให้คนรู้สึกมีความสุข ถ้หากว่ายีนหรือหน่วยทางพันธุกรรมตัวนี้มีความผิดปกติขึ้น ก็จะทำ ให้การทำ งานของโดปามีนลดลงหรือทำ ให้บุคคลนั้นชอบดื่มเหล้า ติดยา หรือมีพฤติกรรมที่จะเพิ่มโดปามีนในสมอง คนที่มียีนตัวนี้ผิดปกติ ก็จะทำ ให้มีโอกาสที่จะเป็นคนติดบุหรี่ ติดเหล้า ติดการพนัน หรือติดยาเสพย์ติดได้ง่าย มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง

และยังมียีนอีกหลายต่อหลายตัวที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของสมอง การเรียนรู้และความจำ ซึ่งล้วนมีผลต่อสติปัญญา ความฉลาด และพฤติกรรมของคนเรา

ทั้งนี้ทั้งนั้น นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการทั้งหลายได้สรุปว่า การเจริญเติบโตพัฒนาการของสมองไม่ได้ขึ้นอยู่กับยีนหรือกรรมพันธุ์เพียงสิ่งเดียว แต่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ คือกรรมพันธุ์ และสิ่งแวดล้อมต้องเอื้ออำ นวยซึ่งกันและกัน

เพราะแม้ในขณะที่ลูกเป็นทารกอยู่ในครรภ์ ซึ่งเราเห็นว่าส่วนใหญ่จะมียีนหรือกรรมพันธุ์เป็นตัวกำ หนดโครงสร้างและคุณลักษณะของสมองดังได้กล่าวไปแล้วก็ตาม แต่กระนั้นสิ่งแวดล้อมก็มีผลต่อสมองลูกอยู่เหมือนกัน อย่างเช่น หากหญิงมีครรภ์ได้รับยาบางชนิด หรือดื่มเหล้า เสพยาเสพย์ติดได้รับการฉายรังสี ก็จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองลูก หรือเกิดความผิดปกติกับการเดินทางของเซลล์สมองในขณะที่สมองกำ ลังเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์ ทำ ให้ลูกเกิดมาอาจมีความบกพร่องทางสมองหรือปัญญาอ่อนได้

เช่น ในการวิจัยปัญหาดิสเล็กเซีย หรือมีปัญหาในการอ่าน โดยใช้หนูทดลอง พบว่า เซลล์สมองอยู่ในตำ แหน่งที่ไม่ถูกต้องประมาณร้อยละ 40 - 50 ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ขณะเป็นทารกอยู่ในครรภ์แม่ คือเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เซลล์สมองกำ ลังเดินทางไปยังตำ แหน่งต่างๆ ของสมอง แต่อาจจะเกิดเหตุการณบ์ างอยา่ งทำ ให้เซลล์สมองเหล่านี้ไม่สามารถเดินทางไปสู่จุดหมายได ้ หนูที่เกิดความผดิ ปกตเิ ชน่นีจ้ ะไมมี่ความสามารถในการเรียนรบู้ างอยา่ ง แตห่ ลังจากนาํ ไปเลยี้ งในสงิ่ แวดล้อมที่มีสิ่งกระตุ้นมากๆ ก็สามารทำ ให้การทำ งานของสมองหรือการเรียนรู้ของหนูตัวนี้ดีขึ้นมาเท่าหนูที่ปกติ

สำหรับคนที่เป็นโรคแอลดี (LD - Learning Disabilities) คือมีปัญหาในการเรียนรู้ เช่น ดิสเล็กเซียหรือมีปัญหาการอ่าน พบว่าคนไข้เหล่านี้มีความผิดปกติในสมองโดยเฉพาะส่วนคอร์เท็กซ์ คือเซลล์สมองที่ควรจะต้องไปอยู่ที่พื้นผิวสมองกลับไปอยู่ตามส่วนอื่นๆ ของสมองในตำ แหน่งที่ไม่ควรจะเป็น คนที่เป็นโรคเช่นนี้จะอ่านหรือเรียนรู้ได้ดีขึ้นหากได้รับการสอน การกระตุ้นที่เหมาะสม

สรุปแล้วกรรมพันธุ์จะเป็นเหมือนวัตถุดิบที่หล่อหลอมมนุษย์ขึ้นมาเป็นตัวเป็นตน แต่ประสบการณ์การเลี้ยงดูเป็นเหมือนเบ้าหลอมความรู้สึกนึกคิด จิตวิญญาณ โดยเฉพาะประสบการณ์ในวัยแรกเริ่มของชีวิตจะเป็นตัวกำ หนดโครงสร้างของสมอง ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ความคิด และพฤติกรรมของคนแต่ละคนไปตลอดชีวิต

ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น