วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 3-2


บทที่ 3-2 ลูกฉลาดเพราะความสามารถของสมอง


ลูกมีความจำ


คนเรามีความจำ ก็เพราะการทำ งานของสมองส่วนเทมโพราลโลบ ปัจจุบันพบว่าความจำของคนเรายังมีอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ความจำ ระยะสั้น (Working Memory) ที่เมื่อได้รับข้อมูลมาแล้วก็จะเอาข้อมูลนี้มาใช้ในการทำ งานหรือส่งไปเก็บไว้ในสมอง (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)

สมองส่วนที่เก็บความจำ ระยะสั้น หรือเก็บข้อมูลใหม่ที่ยังไม่เคยรู้มาก่อน จะอยู่ในสมองด้านหน้าทางขวาและทางซ้าย อยู่ลึกเข้าไป 1 นิ้วจากหน้าผาก มีขนาดเท่าแสตมป์หรือมีขนาดไม่เกิน 1นิ้ว ทำ หน้าที่เป็นสมุดทดชั่วคราวในสมอง ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพ เสียง กลิ่น ข้อมูลทุกอย่างจะถูกส่งมาที่สมองส่วนนี้ก่อน หลังจากนั้นถ้าหากข้อมูลไม่ถูกใช้ก็จะถูกลบทิ้งไป หรือถ้าหากจะต้องเก็บไว้เป็นความจำ ระยะยาว ก็จะส่งต่อไปยังสมองส่วนลึกลงไป คือ ฮิปโปแคมปัส ที่ทำ หน้าที่เก็บความจำ ระยะยาว

ถ้าเราต้องการจะนึกเบอร์โทรศัพท์ หรือเมื่อเห็นหน้าคนคนหนึ่งแล้วพยายามจะนึกว่าคนนี้คือใคร หรอื แมแ้ ตก่ ารคดิ เลขหรือต้องการเขียนหนังสือเป็นประโยคก็ต้องใช้สมองส่วนที่เก็บความจำ ระยะสั้เหมือนกัน แล้วลงไปที่สมองส่วนลึกเพื่อค้นหาข้อมูล เพราะฉะนั้นสมองส่วนนี้จึงเรียกว่า ความจำระยะสั้น หรือเป็นสมุดทดของสมอง

มีการตั้งข้อสังเกตว่า ในเด็กสมาธิสั้นจะพบว่าสมองส่วนที่เป็นสมุดทดหรือความจำ ระยะสั้นจะไม่มีการตอบสนอง เด็กพวกนี้จะมีปัญหาในการจดงานในห้องเรียน หรือไม่สามารถจำ สิ่งที่อ่านได้เพราะว่าสมองส่วนนี้ไม่ทำงานเลย

สมองส่วนที่ทำหน้าที่เป็นสมุดทดนี้จะเก็บข้อมูลได้จำ กัด ถ้าหากว่ามีข้อมูลใหม่เข้ามาโดยที่ข้อมูลตรงนี้ยังไม่ได้ไปเก็บที่ความจำ ระยะยาว ข้อมูลเดิมจะถูกลบทิ้งไป อย่างเช่น ถ้าเราบอกให้คุณจำ ตัวเลข 7 ตัว 7969285 พูดทวนอีกครั้ง แล้วนับเลขถอยหลังทีละ 2 ตัว จาก 99 - 89 เช่น 99 - 97 -95 ไปเรื่อยๆ หลังจากที่นับจบแล้วถามกลับไปว่า จำ ได้ไหมว่าตัวเลข 7 ตัวที่บอกให้จำ คืออะไร จะพบว่าคุณไม่สามารถจะจำ ได้ เนื่องจากว่าข้อมูลนั้นถูกลบทิ้งไปเพราะมีข้อมูลใหม่เข้ามา

นอกจากนี้สมองส่วนสมุดทดยังสามารถเก็บข้อมูลเป็นกลุ่มก้อนได้ อย่างเช่น เบอร์โทรศัพท์แต่ละเขตจะมีกลุ่มหมายเลขขึ้นต้น 3 ตัว ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นเบอร์โทรศัพท์ในเขตไหน เช่น 587 สมองส่วนนี้ก็จะนับเอาตัวเลข 587 เป็นกลุ่มข้อมูล 1 กลุ่มก้อนเท่านั้น ไม่ใช่ตัวเลข 3 ตัวแยกกัน เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าเราอาจเปรียบเทียบสมองเราเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แต่มีความคล้ายคลึงกันมากคอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลทุกอย่างที่เราอยากเก็บไว้ได้ ในขณะที่คนเรามีความจำ ระยะสั้นที่จะถูกลบหายไป กับความจำ ระยะยาวที่เราจะเก็บไว้ จริงๆแล้วเราอยากจะเก็บข้อมูลทุกอย่างแต่ไม่สามารถจะเก็บได้หมดแต่ถ้าหากเราได้รับข้อมูลเดิมซํ้าๆ กลุ่มเซลล์สมองเดิมจะถูกกระตุ้นซํ้าๆ ทำ ให้เรามีความจำ ระยะยาวได้ แต่ถ้าหากว่าเราได้รับข้อมูลเข้าไปเพียงครั้งเดียวและเราไม่ได้ใช้อีกเลย ข้อมูลก็จะถูกลบเลือนหายไป

การท่องจำ ซํ้าๆ จะทำ ให้เราสามารถเก็บข้อมูลที่ได้รับเข้ามาให้เป็นความจำ ระยะยาวได้ แต่การตัดสินว่าจะเก็บข้อมูลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสมองส่วนฮิปโปแคมปัสหรือสมองที่มีหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ สมองส่วนนีทำหน้าที่เหมือนคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ที่เราจะเปิดปิดสวิทช์ว่าเราจะเก็บหรือไม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ปัจจัยด้วยกัน

ปัจจัยแรก คือ ข้อมูลนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับอารมณ์หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นชื่อไดโนเสาร์พันธุ์ต่างๆลูกจะจำได้เพราะข้อมูลผุดขึ้นมามาในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส เพราะเรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์มีความตื่นเต้นเร้าใจ เด็กจะจำ ได้ดีกว่าชื่อยุคสมัยต่างๆ ในหนังสือเรียนวิชาประวัติศาสตร์

ปัจจัยที่สอง คือ ข้อมูลที่เข้ามาใหม่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่รู้แล้วหรือไม่ ตรงนี้ต่างจากคอมพิวเตอร์ คือ ถ้าหากว่าเราเก็บข้อมูลใหม่ ไม่ว่าจะมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือไม่คอมพิวเตอร์ก็จะเก็บบันทึกไว้หมด แต่ในสมองเรามีความแตกต่าง อย่างเช่น ถ้าหากเด็กคนหนึ่งมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์มาก ในสมองจะมีเครือข่ายเส้นใยสมองที่มีข้อมูลตรงนี้อยู่มาก ถ้าเอ่ยชื่อยุคสมัยในประวัติศาสตร์ เด็กคนนี้จะสนใจ สมองส่วนฮิปโปแคมปัสของเขาก็สั่งให้เก็บข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลระยะยาว

การที่เราเลือกเก็บข้อมูลเฉพาะที่ตัวสนใจเป็นสิ่งที่ดี เพราะสมองของเราไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ทุกอย่าง ถ้าเราเก็บทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในสมอง เราจะไม่สามารถมุ่งความสนใจหรือมีความตั้งใจกับเรื่องใดได้เลย มีการผ่าตัดสมองของคนที่มีอาการชักอย่างรุนแรง เอาสมองส่วนฮิปโปแคมปัสออกปรากฏว่าคนคนนี้ยังสามารถมีความทรงจำ เก่าๆ ได้ แต่ไม่สามารถจะเก็บความจำ ใหม่หรือเหตุการณ์ปัจจุบันเข้าไปได้ อย่างเช่น ไม่สามารถบอกว่าเมื่อเช้ากินอะไร ไม่สามารถบอกว่าวันนี้เป็นวันอะไรหรือตัวเองอยู่ที่ไหน

ความจำ ของคนเราจะค่อยๆ ลดประสิทธิภาพลงเมื่ออายุมากขึ้น เพราะสมองส่วนนี้จะค่อยๆฝ่อไป ลดการทำ งานลง ดังนั้นเด็กๆ จึงมีความจำ ดีกว่าคนแก่

ลูกสามารถเรียนรู้ภาษา


ภาษาเป็นสิ่งที่ทำ ให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ กล้ามเนื้อของเรามีการเคลื่อนไหวตอบสนองต่อเสียงแบบอัตโนมัติที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทารกในครรภ์อายุประมาณ 7 เดือน และหลังคลอดสมองก็พร้อมที่จะทำ งานได้ทันที เพราะเส้นใยสมองและระบบประสาททั้งหลายมีพร้อมอยู่แล้ว ต้องการเพียงแค่สิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมเท่านั้นก็จะเกิดการเรียนรู้ภาษาขึ้น

การเรียนรู้ภาษาครั้งแรกของลูก เป็นการเรียนรู้วิธีพูด กว่าลูกจะพูดได้คำ แรกสมองของลูกจะต้องทำ งานล่วงหน้ามาก่อนแล้วทั้งสมองส่วนการได้ยินและการเห็น โดยเฉพาะการได้ยิน ถ้าลูกเกิดมาหูหนวกเสียแล้ว ก็จะทำ ให้ลูกเป็นใบ้ด้วย เพราะเกิดมาในโลกที่ไม่ได้ยินเสียง จึงไม่รู้ว่าเสียงที่คนเราพูดกันเป็นอย่างไร และการมองเห็นก็ทำ ให้ลูกสามารถเลียนแบบวิธีพูดจากแม่หรือคนรอบข้างรวมทั้งเกิดความเข้าใจว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นเรียกว่าอะไร

การพูดของคนเราเกิดจากการทำ งานของกลุ่มเซลล์สมองที่ติดต่อถึงกันหลายกลุ่ม เพราะคำแต่ละคำ มีความเกี่ยวเนื่องกับคำ อื่นๆ ด้วย แล้วในกลุ่มเซลล์สมองที่สร้างคำ พูดเป็นประโยคก็ยังแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ที่ใช้เรียกคำ แต่ละคำ เช่น นํ้า ดอกไม้ ข้าว ฯลฯ ด้วยการทำ งานติดต่อกันของกลุ่มเซลล์สมองทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อยแบบนี้จึงทำ ให้ลูกเกิดการเรียนรู้ภาษาขึ้น

ถ้าสมองเกิดได้รับอันตราย ทำ ให้กลุ่มเซลล์สมองเกี่ยวกับการพูดเสียหาย เช่น คนที่เป็นโรคสมองอักเสบ ก็จะทำ ให้คนนั้นสูญเสียความสามารถทางภาษาบางส่วนไป เช่น ไม่สามารถพูดคำ บางคำได้

การที่ลูกสามารถพูดได้ เรียกชื่อสิ่งต่างๆ ได้ ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่พ่อแม่คนรอบข้างป้อนเข้าไปถ้าเราสอนให้ลูกรู้ว่าสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรียกว่าอะไร โดยการชี้เรียกชื่อสิ่งนั้นให้ลูกฟังบ่อยๆ หรือพูดคุยกับลูกบ่อยๆ ก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้จะเข้าไปอยู่ในกลุ่มเส้นใยสมอง ทำ ให้ลูกจำ ได้ และค่อยๆ เรียนรู้จักคำต่างๆ

ยิ่งกว่านั้นถ้าผู้ใหญ่จะแสดงความรู้สึกต่อสิ่งนั้นด้วย ก็จะยิ่งทำ ให้ลูกเกิดความเข้าใจภาษาหรือความหมายของคำ ที่พูด เช่น ถ้าพ่อแม่สอนให้ลูกรู้จักว่า "นี่คือดอกไม้" พร้อมกับก้มลงดมดอกไม้ ยิ้มพอใจ ลูกก็จะเรียนรู้ว่าดอกไม้เป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจ ข้อมูลนี้ก็จะถูกเก็บเข้าไปในสมองเช่นกัน หรือถ้าลูกถามว่านี่อะไรแล้วชี้ไปที่สุนัขตัวใหญ่ ตัวสกปรก น่ากลัว พ่อแม่ทำ หน้าตาว่าน่ากลัวแล้วก็บอกว่า "อย่าเข้าไปใกล้นะ น่ากลัว อันตรายเดี๋ยวมันกัดเอา" ใส่ความรู้สึกน่ากลัวเข้าไปด้วยเด็กก็จะรับข้อมูลทั้งหลายนี้เข้าไปเก็บไว้ในสมองเช่นกัน

หลังจากนั้นเมื่อเราเอ่ยถึงสิ่งที่สอนลูกให้รู้จัก ลูกจะนึกถึงสิ่งนั้น พยายามมองหาสิ่งนั้น การที่เราพูดคุยหรือสอนให้ลูกรู้จักสิ่งต่างๆ บ่อยๆ เป็นการกระตุ้นเครือข่ายเซลล์สมองของลูก ทำ ให้เกิดการค้นหาข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในสมองตั้งแต่แรก หรือเรียกง่ายๆ ว่า ความจำ นั่นเอง

การเรียนรู้ภาษาของลูกในระยะเริ่มต้นนี้ยังเป็นในลักษณะรูปธรรม ลูกจะรับรู้ได้เฉพาะสิ่งที่จับต้องมองเห็นได้ ยังไม่เข้าใจภาษาในลักษณะนามธรรม เช่น คำ ศัพท์ที่มองไม่เห็นหรือจับต้องไม่ได้หรือรู้จักแต่คำ ง่ายๆ นั่นเอง เช่น ถ้าพูดกับเด็ก 2 ขวบว่า "มือ" เด็กจะยกมือขึ้นด้วย

การเรียนรู้ภาษานี้แม้จะเป็นการทำ งานของสมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์ก็จริง แต่ก็ต้องอาศัยสมองอาร์เบรนเป็นพื้นฐานด้วย และเมื่อลูกโตขึ้นสมองส่วนที่เกี่ยวกับทางอารมณ์ก็จะช่วยเสริมให้ลูกเรียนรู้ภาษาได้ดียิ่งขึ้น เข้าใจและรู้จักใช้ภาษาอย่างสลับซับซ้อนมากขึ้นด้วย

ลูกจะใช้ภาษาที่เป็นรูปธรรมไปจนถึงวัย 7 ปี หลังจากนั้นจึงจะรู้จักภาษาที่เป็นนามธรรมสามารถจะเอาคำ และสิ่งต่างๆ มาสัมพันธ์กัน ถือเป็นพัฒนาการทางภาษาอีกขั้นตอนหนึ่ง

เมื่ออายุประมาณ 11 - 12 ปี ลูกจะเข้าใจภาษาที่มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ต้องเกี่ยวข้องกับการใช้ความคิด สติปัญญา จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ด้วย เป็นการใช้สมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์ แต่ลูกจะมีพัฒนาการทางภาษาเป็นไปด้วยดีตามขั้นตอนนี้หรือไม่ สิ่งสำ คัญขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก พบว่าเด็กที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแม่มักจะมีพัฒนาการและทักษะทางภาษาที่ดี เพราะแม่มักจะพูดคุยกับลูกตลอดเวลา และหากแม่พ่อคนรอบข้างเป็นคนพูดเก่งด้วยยิ่งดีเพราะจะคอยกระตุ้นหรือมีข้อมูลส่งป้อนให้สมองส่วนที่เกี่ยวกับภาษาทำ งานบ่อยๆ ทำ ให้ลูกพูดเก่งไปด้วย รู้ภาษาได้เร็ว และฉลาด เพราะมีข้อมูลป้อนอยู่ตลอดเวลา ถ้าลูกมีคนพูดคุยด้วยตั้งแต่เล็กๆตลอดเวลา ก็จะพูดได้คล่องเมื่ออายุ 3 ขวบ


เด็กแต่ละคนอาจจะมีพัฒนาการทางภาษาเร็วช้าแตกต่างกัน แต่ก็พอมีข้อสังเกตได้ว่าพัฒนาการทางภาษาอาจจะไม่เป็นไปตามปกติ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางสมอง ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อทำ การรักษา หาสาเหตุของความผิดปกติและให้ความช่วยเหลืออย่างเช่นด้วยการฝึกพูดหรือวิธีอื่นๆ เป็นต้น

ต่อไปนี้เป็นอาการเตือนว่าเด็กมีพัฒนาการในการเรียนรู้ภาษาผิดปกติ


ในการเรียนรู้ภาษา ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาบอกว่าไม่จำ เป็นต้องใช้อุปกรณ์อะไรมากมาย ขอให้เป็นเด็กเท่านั้นก็จะเรียนรู้ได้ดี

สมองสร้างบุคลิกภาพให้ลูก


บุคลิกภาพของคนเราเป็นลักษณะประจำ ตัวที่ทำ ให้คนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน นับตั้งแต่ลักษณะนิสัย ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติมุมมองต่อสิ่งต่างๆ

บุคลิกภาพมีความสำ คัญต่อชีวิตเราอย่างยิ่ง ถ้าเรารู้ว่าเรามีบุคลิกหรือเป็นคนอย่างไร เราก็จะสามารถปรับตัวดำ เนินชีวิตได้อย่างมีความสุข มีจุดมุ่งหมาย และประสบความสำ เร็จในชีวิตได้เพราะฉะนั้นสิ่งสำ คัญที่สุดเราจะต้องค้นพบตัวเอง แล้วเป็นตัวของตัวเอง

การค้นพบตัวเอง การรู้ตัวเอง เป็นความฉลาดอย่างหนึ่ง และที่เราจะรู้ตัวเองหรือรู้พฤติกรรมของเราเองได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับเรามองตัวเราอย่างไรเมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมในโลกนี้ และเราจะสามารถควบคุมพฤติกรรมของเราได้อย่างไร ซึ่งความสามารถที่จะจัดการและควบคุมชีวิตเรานี้ เป็นความสามารถที่เรียกว่า ประสิทธิภาพส่วนบุคคล

คนที่มีประสิทธิภาพส่วนบุคคลสูง ก็จะมีความมั่นใจในการมีพฤติกรรมโต้ตอบที่ถูกต้อง แต่คนที่มีประสิทธิภาพในตัวเองตํ่าจะไม่มั่นใจในตัวเอง มีความวิตกกังวลเมื่อจะต้องมีการโต้ตอบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจจะอยู่นอกเหนือการควบคุมของคนคนนั้น

แล้วบุคลิกภาพเกิดจากอะไร มาจากไหน นักวิชาการบางคนบอกว่ารอยหยักบนพื้นผิวสมองนั่นเองเป็นตัวกำ หนดบุคลิกภาพของเรา เพราะสมองส่วนนี้ทำ ให้เราตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม มีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของเรา

ถ้าถามว่าบุคลิกภาพของลูกเราจะเป็นอย่างไร ก็คงจะขึ้นอยู่กับรอยหยักในสมองซึ่งถูกกำ หนดมาเรียบร้อยแล้วโดยกรรมพันธุ์ บวกกับการเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิดช่วยกันหล่อหลอมบุคลิกภาพประจำ ตัวลูก

จึงเป็นเรื่องจำ เป็นที่คนเป็นพ่อแม่จะต้องเลี้ยงดูลูกให้เป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่ดี เป็นคนมองโลกในแง่ดี รู้จักปรับตัว คิดวิเคราะห์แก้ปัญหา เพราะคนที่มีบุคลิกภาพที่ดีจะสามารถเอาข้อมูลที่มีอยู่มาชว่ ยในการตดั สินใจและชว่ ยใหแ้ สดงออกไดเ้ หมาะสม สามารถปรบั ตวั และทนตอ่ สิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีได้

สรุป


สมองมีโครงสร้างและการทำ งานที่ซับซ้อนละเอียดอ่อนมาก ควบคุมระบบการทำ งานของร่างกายที่สำ คัญๆ และระบบประสาททุกส่วน ซึ่งส่งผลต่อความสามารถด้านต่างๆ ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรม รวมถึงสติปัญญาและความฉลาดของคนเรา

ความรู้เรื่องโครงสร้างและการทำ งานของสมองนี่เอง จะทำ ให้พ่อแม่สามารถมองเห็นที่มาที่ไปของความรู้สึกคิด การเรียนรู้เรื่องต่างๆ และการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมของลูก เพื่อเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมพัฒนาทักษะและความสามารถของลูกได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป


ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น