วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 5-3


ส่งเสริมพัฒนาการทางสังคม (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)



ลูกจะเริ่มรู้จักเล่นกับคนอื่นเมื่ออายุราว 2 ขวบ ในวัยนี้ลูกเริ่มรู้จักแบ่งของเล่น และรู้สึกสนุกที่จะเล่นกับคนอื่น การเล่นนี้จะเป็นในลักษณะเลียนแบบซึ่งกันและกัน คือ ถ้าใครคนหนึ่งเล่นปรบมือทุกคนก็จะปรบมือ 

เมื่อลูกอายุ 3 ขวบก็จะเริ่มเล่นกับเพื่อนอย่างมีความสุขได้ บางครั้งอาจจะเกิดการแย่งของเล่นกันบ้าง แต่ในที่สุดลูกจะเรียนรู้ถึงการแก้ไขปัญหาร่วมกัน พ่อแม่ที่มีลูกวัยนี้ควรเตรียมของเล่นให้เพียงพอเมื่อมีเด็กคนอื่นมาเล่นกับลูกด้วย บางครั้งอาจจะต้องมีของเล่นแบบเดียวกัน 2 ชุดเพื่อเด็กจะได้ไม่แย่งกัน ทำ ให้ลูกรู้จักสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อน

การที่จะช่วยให้เด็กเล่นกันนั้น บางครั้งอายุที่แตกต่างกันจะไม่มีความสำ คัญมากนัก เมื่อเทียบกับลักษณะบุคลิกของเด็กที่จะเล่นด้วยกัน ถ้าเด็กบางคนชอบเป็นผู้นำ และเล่นกับเด็กที่เป็นผู้ตามก็จะไม่มีปัญหา แต่ถ้าเด็กแต่ละคนต่างมีลักษณะเป็นผู้นำ ก็จะทำ ให้เกิดปัญหาได้ถ้าเขาเล่นด้วยกัน

สิ่งสุดท้ายที่เป็นสิ่งสำ คัญที่จะช่วยสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนก็คือทัศนคติของพ่อแม่ การที่เด็กคนหนึ่งเอาขวดนมให้กับเพื่อนที่มาเล่นด้วย แสดงให้เห็นว่าในสมองของเด็กที่เกิดมามีส่วนของพัฒนาการที่เกี่ยวกับความรู้สึกเห็นใจผู้อื่น ชอบช่วยเหลือผู้อื่นอยู่แล้ว รวมทั้งทัศนคติของพ่อแม่ก็เป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าเราสอนลูกเราให้นึกถึงแต่ตัวเอง ให้นึกถึงว่าตัวเราจะได้อะไร จะเป็นผลเสียต่อการสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อน

เลี้ยงลูกให้มีทัศนคติที่ดีต่อตัวเอง


ปัญหาความก้าวร้าวรุนแรงทั้งหลายของวัยรุ่น การฆ่าตัวตาย เด็กสาวท้องก่อนวัย เป็นปัญหาที่กำ ลังเกิดขึ้นกับเด็กยุคใหม่ สาเหตุที่สำ คัญคือเด็กมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ไม่มีใครรัก ไม่มีใครต้องการ ไม่เป็นที่ยอมรับในครอบครัวหรือสังคม

2 - 3 ปีแรกของชีวิตเป็นช่วงสำ คัญมากที่พ่อแม่จะสร้างทัศนคติที่ดีต่อตัวเองให้กับลูก ดังตัวอย่างการตอบสนองของแม่ต่อลูกในลักษณะที่แตกต่างกัน แม่ที่ตอบสนองลูกด้วยความรัก เอาใจใส่อบอุ่น จะทำ ให้ลูกมีทัศนคติที่ดีต่อตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองมีความสำ คัญ มีค่า ตรงข้ามกับเด็กที่แม่ตอบสนองอย่างไม่ไยดี ไม่ให้การดูแลอย่างอบอุ่นเท่าที่ควร จะทำ ให้ลูกรู้สึกไม่มีคุณค่า ไม่มีความหมายกับใคร

ปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างแม่ลูกก็สำ คัญ เด็กเล็กแรกคลอด เสียงเบาๆ ของแม่จะทำ ให้เด็กสงบลง เด็ก 2 - 3 สัปดาห์จะเริ่มยิ้ม ถ้าหากว่ายิ้มแล้วมีคนยิ้มตอบ หรือเด็กส่งเสียงแล้วมีคนส่งเสียงตอบก็จะเริ่มมีปฏิกิริยาโต้ตอบกัน เล่นกัน ปฏิกิริยาเหล่านี้จะเป็นเชื้อเพลิงที่จะกระตุ้นให้สมองลูกพัฒนาไปทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางกล้ามเนื้อ ความฉลาด หรือพัฒนาการทางอารมณ์ ซึ่งจะทำ ให้ลูกเกิดความรู้สึกว่าตัวเองมีความสำ คัญ เกิดความรู้สึกไว้ใจโลกนี้และอนาคต

บางทีพ่อแม่อาจจะสงสัยว่า แล้วการที่ลูกชอบยั่วให้พ่อแม่โกรธล่ะ เป็นปฏิกิริยาแบบไหนพฤติกรรมแบบนี้เป็นวิธีที่ลูกพยายามพิสูจน์ว่าโลกนี้เป็นของเขา เขาสามารถจัดการได้ พัฒนาการแต่ละขั้นตอนจะเป็นส่วนกระตุ้นให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น เช่น เมื่อลูกพยายามจะเดินหรือเริ่มฝึกการขับถ่าย เริ่มอ่าน หรือเริ่มมีความคิดต่างๆ ความช่วยเหลือ ปฏิกิริยาของพ่อแม่จะเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำ ให้เด็กเป็นตัวของตัวเองและมีทัศนคติที่ดีต่อตัวเอง

ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำ ให้พัฒนาการทางด้านนี้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ คือปัจจัยภายใน อย่างเช่น ถ้าเด็กรู้ว่าตัวเองคลานได้ เดินได้ ครั้งแรกที่ทำ อะไรได้ ลูกจะทำ ท่าพออกพอใจเสียเหลือเกิน ราวจะอวดว่า "เห็นมั้ย ฉันทำ ได้ ฉันเก่งมั้ย" ประสบการณ์นี้เองจะส่งข้อมูลกลับเข้าไปในตัวลูกทำ ให้ลูกมีทัศนคติที่ดีกับตัวเองว่าเขามีความสามารถ นำ ไปสู่ความมั่นใจ ในความคิดของเด็กเล็กจะเกิดความรู้สึกว่าตัวเองได้ครองโลกนี้ นี่เองจะเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กพยายามที่จะมีพัฒนาการขั้นต่อไปเพื่อจะได้ค้นพบว่าตัวเองทำ อะไรได้บ้างและส่งข้อมูลกลับเข้าไปในตัวอีก

นายแพทย์บราเซลตัน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาการเด็ก ได้จัดทำ แบบทดสอบที่จะตรวจดูพฤติกรรมของเด็กแรกคลอด ซึ่งจะทำ ให้พ่อแม่เข้าใจว่าพฤติกรรมต่างๆ ของเด็กหมายความว่าอย่างไร ตรวจดูทัศนคติที่ดีต่อตัวเอง ความรู้สึกว่าตัวเองทำ ได้ ความคาดหวังว่าตัวเองจะประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ขวบปีแรก คุณหมอบราเซลตันบอกว่า เขาสามารถตรวจสอบเด็กอายุ 8 เดือนแล้วบอกได้ว่าเด็กคนนี้จะประสบความสำ เร็จหรือไม่ในอนาคต เช่น เอาบล็อกไม้สี่เหลี่ยม 2 อันมาชนกันให้เด็กดู แล้วดูซิว่าจะเกิดอะไรขึ้น เด็กที่จะประสบความสำ เร็จก็จะแกล้งปล่อยบล็อกอันหนึ่งลงไป แล้วจะดูว่าคุณหมอจะเก็บบล็อกขึ้นมาหรือไม่ หลังจากหยิบขึ้นมาให้เด็กเด็กก็จะทิ้งบล็อกอีกอันหนึ่ง แล้วดูอีกว่าจะเก็บขึ้นมาให้อีกไหม แล้วคุณหมอจะบอกให้เด็กเอาไม้บล็อก 2 อันมาชนกันเหมือนที่คุณหมอทำ ให้ดู เด็กก็จะเอาบล็อกไม้มาตีกัน มาชนกัน แล้วมองหน้าผู้ใหญ่เหมือนจะบอกว่า "เห็นมั้ย ทำ ได้แล้ว" ซึ่งเป็นท่าทางที่บ่งบอกว่า เด็กคนนี้มีความคาดหวังว่าตัวเองจะประสบความสำเร็จในอนาคต

อย่างไรก็ตาม สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำ คัญมากที่จะช่วยให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อตัวเอง ซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่ทำ ให้คนเราประสบความสำ เร็จทั้งการเรียนและอนาคต ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีเช่น ถูกทอดทิ้ง ถูกทำ ร้าย หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่หดหู่ซึมเศร้า เด็กจะเป็นคนขึ้โมโห ซึมเศร้าเป็นคนไม่มีความหวังตั้งแต่อายุเพียง 2 - 3 ขวบ อย่างไรก็ตามเด็กก็ยังมีโอกาสดีขึ้นได้ แต่ถ้าปล่อยให้โตมากเท่าไรก็ยิ่งแก้ไขยากขึ้นเท่านั้น

เพราะฉะนั้นจะรอช้าไม่ได้ พ่อแม่จะต้องเข้าใจเรื่องการสร้างทัศนคติที่ดีต่อตัวเอง และพยายามช่วยให้ลูกรู้สึกดีกับตัวเอง เช่น เมื่อไรที่ลูกสามารถทำ สิ่งต่างๆ ได้แม้เป็นสิ่งเล็กน้อยในชีวิตประจำ วัน พ่อแม่ควรจะชมเชยลูก "โอ้โฮ ขึ้นบันไดได้เองหรือนี่ เก่งจังเลย" พ่อแม่ที่ช่างสังเกตและมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ถูกต้องเหมาะสมกับพฤติกรรมของลูก ลูกจะมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเอง

ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น