วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 5-4


เลี้ยงลูกให้เป็นตัวของตัวเอง (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)


เด็กเล็กๆ ในช่วงขวบปีแรกยังต้องพึ่งผู้ใหญ่อยู่ เช่น จะต้องมีคนอุ้ม มีคนป้อนอาหารอาบนํ้าให้ จะต้องมีคนดูแลให้อยู่ในที่ที่ปลอดภัย แต่ยิ่งโตขึ้นลูกยิ่งต้องการพึ่งพาพ่อแม่น้อยลง

เมื่อถึงวัย 2 - 3 ขวบ ลูกจะเป็นนักผจญภัยมากขึ้น อยากออกไปสำ รวจโลกกว้าง แต่ในขณะเดียวกันก็อยากให้พ่อแม่อยู่ใกล้ๆ ด้วย ลูกจึงจะกล้าออกไปผจญภัยหรือเดินสำ รวจไปในที่ต่างๆ ด้วยความรู้สึกว่าปลอดภัย ความมั่นใจนี้จะนำ ไปสู่การเป็นคนที่รู้สึกเป็นอิสระ มั่นใจในตัวเอง จริงๆแล้วลูกจะต้องการความเป็นอิสระและการพึ่งพาผู้ใหญ่สลับไปสลับมาตลอดเวลา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเติบโตของลูก เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดชีวิตของคนเรา

พ่อแม่หลายคนคิดว่าการชมเชยลูกมากๆ จะช่วยให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเอง จริงๆ แล้วการชมเชยอย่างเดียวจะไม่ได้ผลเต็มที่ แต่เด็กจะต้องมีความรู้สึกว่าเขาได้ทำ อะไรสำ เร็จด้วย จึงจะทำ ให้เด็กรู้สึกดีกับตัวเองและเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเอง

พ่อแม่อาจจะสงสัยว่า ในเมื่อเราตอบสนองความต้องการของลูกทุกครั้งที่ลูกต้องการซึ่งทำ ให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่อยู่ใกล้ๆ ตลอดเวลา แล้วลูกจะไม่เป็นคนที่ติดพ่อแม่หรือไม่เป็นลูกแหง่หรอกหรือลูกจะแยกตัวออกมาเป็นตัวของตัวเอง เป็นผู้ใหญ่ได้อย่างไร

ข้อนี้ให้จำ ไว้ว่าการที่เราตอบสนองความต้องการของลูกไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำ ทุกอย่างให้ลูกหรือยอมให้ลูกทำ ทุกอย่างตามใจชอบ เช่น เรารู้ว่าลูกง่วงและถึงเวลานอนแล้ว เราก็จะต้องให้ลูกไปนอนแม้ว่าลูกยังอยากเล่นอยู่ก็ตาม คือ ตอบสนองตามความต้องการของเด็กได้ถูกต้องแต่ไม่ได้ตามใจ

เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน บางคนค่อนข้างเงียบ ไม่ค่อยชอบสังคมเหมือนเด็กอื่น เด็กบางคนโกรธง่าย หงุดหงิดง่าย ในฐานะพ่อแม่เราจะต้องช่วยให้เด็กขี้อาย เงียบ ให้ออกไปเข้าสังคมมากขึ้น แต่ไม่ใช้วิธีเคี่ยวเข็ญผลักดันมากไป สิ่งสำ คัญคือผู้ใหญ่ต้องยอมรับว่าเด็กเป็นอย่างนี้เองและช่วยส่งเสริมให้เด็กดีขึ้น แทนที่จะคาดหวังว่าเด็กในวัยนี้ควรจะเลิกพึ่งพาพ่อแม่ ควรจะเป็นตัวของตัวเองเสียที

ฝึกลูกให้มีระเบียบวินัย (เสื้อผ้าเด็ก macaroonies)


การฝึกระเบียบวินัยเป็นสิ่งสำ คัญมากต่อพัฒนาการของลูกในอนาคต เป็นพื้นฐานให้ลูกรู้จักขอบเขตที่เหมาะที่ควร รู้จักควบคุมตัวเอง และเป็นคนมีจริยธรรม การตอบสนองลูกทุกเรื่องทุกครั้งไม่ใช่สิ่งดี เพราะลูกจะเรียนรู้ว่าเขาจะได้รับการตอบสนองทุกครั้งที่เขาต้องการ ลูกจะไม่ได้เรียนรู้การปฏิเสธ จะทำ ให้ลูกนิสัยไม่ดีและเป็นคนที่มีความต้องการมาก เอาแต่ใจตัวเอง ไม่มีระเบียบวินัย

ลูกควรจะเรียนรู้ว่ามีกฎเกณฑ์และจะต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ ซึ่งพ่อแม่จะต้องสอนไม่ใช่ด้วยการทำโทษ และอย่าคาดหวังว่าเด็กเล็กๆ จะทำ ทุกอย่างที่เราสั่ง ปกติแล้วเด็กเล็กๆ ไม่มีความอดทน ถ้าไม่พอใจก็จะแสดงออก จะตี ตะโกน หรือแสดงความโกรธออกมา เด็กยังไม่สามารถควบคุมตัวเองได้

การจะสอนให้เด็กรู้จักควบคุมตัวเองเป็นกระบวนการระยะยาวที่ไม่ได้สำ เร็จภายในวันเดียวและเป็นเรื่องปกติที่เด็กจะทดสอบกฎเกณฑ์ด้วยการฝ่าฝืนกฎระเบียบ ถ้าพ่อแม่เข้าใจและตอบสนองอย่างเหมาะสมโดยสมํ่าเสมอ ก็จะทำ ให้เด็กมีความรู้สึกว่าเขาอยู่ในโลกนี้อย่างปลอดภัย

โดยทั่วไปแล้วการกำ หนดขอบเขต การตั้งกฎเกณฑ์ ถ้าทำ ด้วยความตั้งใจที่ดีว่าเพื่อช่วยสอนลูก ก็จะได้ผลดีกว่าการตั้งกฎระเบียบเพื่อทำ โทษลูก อธิบายเหตุผลให้ลูกฟังว่าทำ ไมจะต้องให้ทำอะไรในเวลานั้น เช่น "แม่รู้ว่าหนูกำ ลังสนุกมากที่นี่ แต่ถึงเวลาที่เราจะต้องกลับแล้วนะคะ" หรือพยายามเปลี่ยนความสนใจของลูกหรือกิจกรรมที่ลูกกำ ลังทำ อยู่ด้วยคำ พูดในแง่บวก เช่น "หนูเขียนที่ข้างฝาไม่ได้นะคะ นี่กระดาษ หนูวาดบนกระดาษดีกว่า วาดบนกระดาษสวยกว่าวาดบนฝาผนัง" หรือถ้าจะห้ามลูกไม่ให้ทำ อะไรก็ต้องแสดงออกด้วยว่าทำ ด้วยความรัก อย่างเช่น "แม่รักหนูนะจ๊ะ แต่ไม่ชอบที่หนูกำ ลังทำ อยู่" และให้เหตุผลด้วย อย่างเช่น "หนูอย่าวิ่งขณะที่ถือกรรไกรอยู่ ถ้าล้มกรรไกรจะทิ่มเอานะ"

ถ้าหากต้องการให้ลูกทำ อะไรก็ใช้คำ สั่งที่สั้นๆ ชัดเจน เข้าใจง่าย อย่างเช่น "หนูเก็บพวกตุ๊กตาสัตว์ให้หมดทุกตัว" แทนที่จะบอกว่า "ไปทำ ความสะอาดห้อง" หรือให้เด็กเข้าใจว่าเราเข้าใจความรู้สึกของเขา แต่ก็ต้องมีขีดจำ กัด เช่น "แม่รู้ว่าหนูหิวมากแต่ก็ยังกลับไม่ได้" หรือแสดงให้ลูกเห็นว่าพฤติกรรมของเขามีผลต่อคนอื่น อย่างเช่น "น้องหนูเขาโกรธที่หนูไปหยิกเขา เห็นมั้ย ถ้าเผื่อเขาหยิกหนูบ้างหนูจะรู้สึกอย่างไร" ช่วยให้เด็กใช้คำ พูดที่จะสื่อสารแสดงออกถึงความรู้สึกของเขา เช่น "ลองบอกพี่หนูสิว่าหนูไม่ชอบนะที่พี่มาตีหนูแบบนี้" ถ้าหากเด็กทำ ดีก็ต้องชม เช่น "หนูน่ารักมากที่เก็บตุ๊กตาเสียเรียบร้อย ขอบคุณนะคะที่ช่วย"

ไม่ควรใช้การตีหรือเขย่าลูกเวลาทำ โทษ เพราะจากการวิจัยพบว่าการทำ โทษหรือการฝึกระเบียบวินัยด้วยการทำ โทษวิธีนี้จะมีผลในทางลบมากกว่า การฝึกระเบียบวินัย คือ การเรียนรู้ แต่ถ้าใช้วิธีตีหรือเขย่าด้วยความโกรธ ลูกจะเรียนรู้ว่านี่คือความกลัว คือความอาย ความดุร้าย และลูกจะรู้สึกว่าความรุนแรงเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ลูกจะเรียนรู้ว่าเขาก็สามารถทำ รุนแรงได้เช่นกัน ถ้าหากผู้ปกครอง พ่อแม่ หรือคนเลี้ยงโกรธมากๆ ก็ต้องเดินออกไปจากที่นั้น นับ 1 - 10 หรือคุยกับเพื่อนหรือญาติหลังจากอารมณ์สงบลงแล้วจึงค่อยมาคุยกับลูก เวลาจะตาํ หนหิ รอื ทำ โทษจะต้องพดู ถงึ พฤติกรรมของลูก ไม่ว่าลูกเป็นคนไม่ดี แต่ต้องอธิบายว่าพฤติกรรมที่ลูกทำ นั้นมีผลเสียอย่างไร

การฝึกระเบียบวินัยให้ลูกมักจะทำ ให้ลูกโกรธ เพราะว่าลูกไม่สามารถทำ อะไรตามใจตัวเองได้ พ่อแม่จะต้องคำ นึงถึงความจริงข้อนี้ และจะต้องพยายามรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพ่อแม่และลูกไว้ เพื่อลูกจะได้รู้สึกว่าพ่อแม่ยังรัก ให้ความอบอุ่นเขา เมื่อไรที่พ่อแม่รู้สึกว่าตัวเองทำ เกินกว่าเหตุกับลูก ก็ควรขอโทษลูก

มีการถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องการฝึกระเบียบวินัยในเด็กว่าการตีเป็นสิ่งสมควรหรือไม่ ถ้าไม่ตีจะให้ทำ อย่างไร มีหลายความเห็น ฝ่ายหนึ่งบอกว่าถ้าตีจะทำ ให้เด็กฝันร้ายและเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นคนไม่แคร์ใคร แต่ถ้าหากไม่ตีไม่สอน ลูกจะมีนิสัยไม่ดี

นักจิตวิทยาบอกว่า การตีเป็นสิ่งที่ทำ ให้ลูกเชื่อฟังและได้ผลเร็ว แต่จะก่อให้เกิดความโกรธและความกลัว จากการวิจัยพบว่า เด็กที่ถูกตีตั้งแต่ก่อน 1 ขวบ เมื่ออายุ 4 ปีเด็กคนนั้นก็ยังต้องถูกตีอีก แสดงว่าการตีไม่ได้ทำ ให้เด็กหลาบจำ

อีกวิธีหนึ่งก็คือ ถ้าหากลูกทำ ผิด ให้จับลูกมานั่งตักนิ่งๆ สักพักหนึ่ง 1 - 2 นาที แล้วก็ปล่อยและอธิบายให้ฟังว่าเขาทำ ผิดอะไร

ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น