วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 5-5


ส่งเสริมลูกให้เป็นคนดี มีจริยธรรม ซื่อสัตย์ รู้จักรับผิดชอบ ( เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)


พ่อแม่สามารถปลูกฝังให้ลูกเป็นคนมีจริยธรรมได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่ไม่ใช่ด้วยการพูดสั่งสอนเพราะลูกยังไม่รู้เรื่อง แต่ลูกจะซึมซับจากสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำ วันแต่ละวัน และจากการกระทำ ของพ่อแม่ เพราะฉะนั้นพ่อแม่ก็ต้องทำ ตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดี (เสื้อผ้าเด็ก)

บางครั้งพ่อแม่ก็สอนเรื่องจริยธรรมให้กับลูกโดยไม่รู้ตัว เช่น แม่คนหนึ่งสังเกตว่าลูกวัย 6เดือนของเธอพอกินนมเสร็จก็จะขว้างขวดนมทิ้ง แรกๆ แม่คิดว่าลูกยังไม่รู้ว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ หรือไม่แต่หลังจากนั้นแม่ก็เริ่มรู้สึกว่าลูกกำ ลังสนุกกับการโยนของทิ้ง แม่จึงหาวิธีแก้ไขด้วยการพยายามเล่นกับลูก เบี่ยงเบนความสนใจเมื่อลูกกินนมเสร็จ เอาของเล่นอย่างอื่นให้ แล้วค่อยเก็บขวดนมเปล่าออกไป เจ้าหนูก็หมดความสนใจที่จะขว้างขวดนมอีกต่อไป สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้เองเป็นการสอนระเบียบวินัย จริยธรรม การแยกแยะสิ่งดีไม่ดีให้กับลูก

ในตอนที่ลูกยังเล็กนั้น ลูกจะมีแต่ความเห็นแก่ตัวก่อนหรือนึกถึงแต่ตัวเองก่อน และคิดว่าสิ่งที่เขาต้องการเป็นสิ่งถูกต้อง อย่างเช่น เขาควรจะได้เค้กวันเกิดเยอะๆ เพราะว่าเขาชอบ ซึ่งพ่อแม่สามารถช่วยพัฒนาเรื่องจริยธรรมให้เกิดขึ้นได้ ด้วยการสอนลูกให้มีสัมพันธภาพที่ดีกับเด็กอื่น เช่นถ้าหากว่าไปแย่งของเล่นคนอื่น ก็ต้องสอนเด็กว่า "ถ้าคนอื่นเขามาแย่งของเล่นหนูไป หนูจะโกรธไหม"หรือ "อย่าไปตีพี่เขานะเพราะว่าแม่ไม่อยากให้พี่เขาเจ็บ ไม่อยากให้หนูไปทำ ร้ายพี่เขา" ขณะเดียวกันก็ต้องสอนให้ลูกมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เช่น "เห็นมั้ยพี่เขาเจ็บแค่ไหนหนูไปตีพี่เขา" อย่างนี้เป็นต้น

ถ้าหากลูกมีความรู้สึกที่ดีหรือใส่ใจความรู้สึกผู้อื่น พ่อแม่ก็ต้องชมเชยให้ลูกรู้ว่าสิ่งที่เขาทำนี้เป็นสิ่งที่ดี อย่างเช่น ถ้าเขาให้น้องอ่านหนังสือของเขาก็ต้องชมเชยว่า "แหมหนูน่ารักจังเลย ให้น้องอ่านหนังสือของหนู" หรือ "หนูน่ารักจังเลยที่ช่วยน้อง"

จะเห็นว่าเด็กเล็กๆ ก็สามารถจะแสดงความเป็นห่วง แสดงความเห็นใจ เข้าใจความรู้สึกคนอื่น เช่น ถ้าเด็กเห็นแม่โกรธ ก็จะยื่นขวดนมมาให้เพื่อจะให้แม่หายโกรธ พออายุ 3 - 4 ขวบขึ้นไป เด็กจะเริ่มแสดงออกถึงความรู้สึกห่วงใยคนอื่นได้มากขึ้น เช่น ถ้ารู้ว่าแม่หิวเขาก็จะไปหาของกินมาให้แม่กิน เป็นต้น

การฝึกระเบียบวินัยก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะส่งเสริมลูกให้พัฒนาในเรื่องของจริยธรรม ในวัยที่ลูกเริ่มคลาน เริ่มเดิน เริ่มออกเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในโลกกว้าง ลูกพยายามที่จะทดสอบขอบเขตของโลกใหม่ของเขาตลอดเวลา ซึ่งเราเรียกว่า ลูกพยายามที่จะเรียนรู้กฎเกณฑ์ของสังคม พ่อแม่ควรจะเข้ามาชี้แนะสิ่งที่ถูกที่ควรให้ลูกตั้งแต่วัยนี้

กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่พ่อแม่สอนลูกจะช่วยให้ลูกมีจริยธรรม รู้จักควบคุมความต้องการของตัวเอง รู้จักยับยั้งชั่งใจ มีความภูมิใจในตัวเองถ้าทำ สิ่งที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันถ้าทำ ผิดก็จะมีความละอายเพราะทำ สิ่งที่ไม่เป็นที่ยอมรับของพ่อแม่ ความละอายนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตเป็นคนรู้จักผิดชอบชั่วดี อย่างเช่น ถ้าลูกรังแกสัตว์เลี้ยงในบ้านซึ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ พ่อแม่ก็จะต้องสอนให้ลูกรู้ว่าการกระทำ นั้นเป็นสิ่งที่น่าละอาย เป็นสิ่งไม่ดี ถ้าลูกไม่เกิดความรู้สึกละอาย จะมีปัญหามากขึ้นเมื่อลูกอายุ 2 - 3 ปีขึ้นไป แต่ก็ควรระวังไม่ให้ลูกกังวลว่าแม่หรือพ่อจะไม่รักเขาเมื่อเขาทำ อะไรผิดเพราะฉะนั้นผู้ใหญ่จะต้องแยกความรู้สึกนี้ให้ได้ จะต้องแสดงให้เด็กเห็นความแตกต่าง เช่น "แม่รักหนู แต่แม่ไม่ชอบที่หนูโยนของทิ้ง" เป็นต้น

เมื่อลูกเริ่มหัดพูด พ่อแม่สามารถสอนลูกให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีมารยาท อย่างเช่น "ไหนลองพูดขอบคุณซิคะ" พร้อมกับพ่อแม่ต้องทำ ตัวเป็นตัวอย่างที่ดีด้วย ลูกก็จะเรียนรู้พฤติกรรมที่ถูกต้อง ได้ผลดีกว่าสั่งให้ลูกพูดโดยไม่ทำ ตัวเป็นตัวอย่าง และควรเริ่มสอนลูกตั้งแต่เล็กๆ ลูก 2 ขวบก็สามารถจะเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ได้ดี

ลูกเรียนรู้เรื่องจริยธรรมตลอดเวลาแม้กระทั่งจากการพูดจาของคนในบ้าน ลูกจะได้แบบอย่างจากพ่อแม่ ลองคิดดูซิว่าจะมีผลต่อลูกอย่างไร ถ้าพ่อไม่อยากรับโทรศัพท์แล้วให้ลูกบอกว่าพ่อไม่อยู่ ทำ ให้ลูกได้เรียนรู้การโกหก เขาจะเลียนแบบ หรือถ้าพ่อพูดกับแม่ว่า "ขอบคุณนะครับที่ช่วย" หรือ

แม่บอกพ่อด้วยคำ พูดแบบเดียวกัน เด็กน้อยก็จะเลียนแบบเช่นกัน พ่อแม่ควรนึกอยู่เสมอว่าลูกเรียนรู้เรื่องจริยธรรมจากพ่อแม่ในการใช้ชีวิตประจำ วันทุกเวลานาที

ต่อไปนี้เป็นวิธีเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี มีจริยธรรม ซื่อสัตย์ รู้จักรับผิดชอบ

1. จะต้องตอบสนองความต้องการของลูก ให้ลูกมีความสบาย ต้องให้ความสนใจกับลูก รับฟังลูกและให้สิ่งกระตุ้นที่ถูกต้อง ลูกจึงจะให้ความร่วมมือด้วยดี

2. ควรตั้งกฏระเบียบสำ หรับลูกตั้งแต่วัย 2 - 3 ขวบ แต่จะต้องมีเหตุผลที่ดี ต้องยุติธรรม และจะต้องเอาจริงกับกฎที่สำ คัญซึ่งอาจทำ ให้เกิดอันตรายกับลูก เช่น ห้ามลูกเล่นไม้ขีด ข้อห้ามเช่นนี้จะต้องห้ามลูกทำ อย่างเด็ดขาด

3. สอนให้ลูกรู้จักขอโทษและให้โอกาสแก้ตัวที่จะทำ สิ่งที่ถูกต้อง และแทนที่จะสอนถึงความซื่อสัตย์ด้วยปากเปล่า พ่อแม่ควรทำ ตัวเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็นด้วย
4. สอนให้ลูกเกิดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น พยายามสนใจกับความรู้สึกของลูก และให้ลูกรู้จักสนใจหรือเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น
5. พ่อแม่เป็นตัวอย่างในเรื่องของการสงบสติอารมณ์ไม่โวยวายเมื่อเกิดความเครียด
6. สอนให้ลูกเรียนรู้ว่าผลของการกระทำ ที่ตามมาจะเป็นอย่างไร เช่น ถ้าหากลูกขว้างของบ่อยๆ ก็ต้องบอกว่า "ถ้าหนูขว้างของบ่อยๆ มันจะแตก หนูก็จะไม่มีเล่นอีกแล้ว"
7. ที่สำคัญที่สุดจะต้องทำ ให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่รักเขา

ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น