วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่) บทที่ 5-6

ฝึกลูกให้มีทักษะทางด้านภาษา (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)


นักภาษาศาสตร์บอกว่าเสียงที่แม่พูดกับลูกตอนเล็กๆ มีผลอย่างมากต่อพัฒนาการทางภาษาของลูก เสียงสูงๆ ของแม่เวลาพูดหยอกเย้ากับลูกจะทำ ให้ลูกตั้งใจและสนใจฟัง การพูดช้าๆ ด้วยคำสั้นๆ จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ภาษาได้ดี เพราะจะทำ ให้ลูกรู้ถึงความแตกต่างของคำ และโดยเฉพาะถ้าพูดซํ้าๆ ก็จะให้ผลดียิ่งขึ้น เช่น ถ้าเด็กพูดว่า "อุ๊ย นก นก" แม่ก็ต้องพูดว่า "ใช่แล้วลูก นก นก" เพื่อยํ้าให้ลูกเข้าใจว่าที่ลูกพูดนั้นถูกต้องแล้ว

พ่อแม่สามารถพัฒนาลูกเล็กให้มีทักษะทางภาษาได้ตลอดเวลาที่ดูแลใกล้ชิดเขา เช่น ในระหว่างป้อนอาหาร เปลี่ยนผ้าอ้อม แต่งตัว และพยายามให้ลูกสื่อสัมพันธ์กับเรา แม้ว่าลูกเล็กๆ ยังไม่เข้าใจภาษาที่พ่อแม่พูดก็ตาม แต่เสียงพูดของพ่อแม่จะทำ ให้สมองลูกพัฒนาโดยเฉพาะทางด้านภาษา

เมื่อลูกได้ยินเสียงพ่อแม่พูดซํ้าแล้วซํ้าเล่า สมองส่วนที่ดูแลเรื่องภาษาและคำ พูดจะพัฒนา ให้พยายามถามคำ ถามที่ลูกจะตอบได้กว้างๆ เพื่อที่จะส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา อย่างเช่น "นี่หนูคิดว่าหนูจะไปไหนหรือจ๊ะ" หรือว่า "หนูคิดว่าคุณยายจะพูดว่ายังไงคะ"

การอ่านหนังสือก็จะเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อสมาธิ ความจำ เพราะฉะนั้นการที่พ่อแม่พยายามพูดคุยสื่อสารกับลูกและการอ่านหนังสือให้ลูกฟังหรืออ่านหนังสือกับลูก จะเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและเพิ่มทักษะทางด้านภาษาและการอ่าน ช่วยให้อ่านหนังสือได้เร็วและเข้าใจได้ดี

มีพ่อแม่บางคนเข้าใจผิด คิดว่าโทรทัศน์จะสอนให้ลูกพูดเก่งจากรายการโทรทัศน์ที่มีคนมาพูดเจื้อยแจ้วอยู่หน้าจอทั้งวัน แต่โทรทัศน์ไม่สามารถสอนภาษาให้ลูกได้ ไม่สามารถสอนให้ลูกรู้จักสื่อสารได้

ต่อไปนี้คือวิธีส่งเสริมลูกวัยต่างๆ ให้มีทักษะทางภาษาและการอ่าน

6 - 12 เดือน : เด็กจะชอบหนังสือเล่มใหญ่ๆ มีรูปภาพมากๆ มีรูปภาพที่เด็กคุ้นเคย เช่น ขวดนม ลูกบอล เด็กเล็กๆ ชอบเพลงและหนังสือภาพ

12 - 24 เดือน : เด็กจะชอบหนังสือที่มีภาพเด็กกำ ลังทำ สิ่งต่างๆ ที่เขาคุ้นเคย เช่น ภาพเด็กกำ ลังหลับ เด็กกำ ลังเล่นกับสัตว์เลี้ยง หนังสือที่เกี่ยวกับเรื่องการ "สวัสดี" "ลาก่อน" หนังสือที่มีตัวหนังสือน้อยๆ ใช้คำ คล้องจองที่เด็กสามารถเดาคำ ต่อไปได้ พ่อแม่ควรจะเล่านิทานให้เด็กฟังทุกวันจนกว่าเด็กจะบอกหรือแสดงว่าไม่อยากฟังนิทานอีกแล้ว

2 - 3 ขวบ : เด็กจะชอบหนังสือที่เล่าเรื่องประสบการณ์ชีวิตประจำ วัน เช่น ไปโรงเรียน ไปหาหมอ โดยเฉพาะคำ ง่ายๆ ที่เด็กสามารถจะจำ หรืออ่านได้ เด็ก 2 ขวบส่วนใหญ่สามารถนั่งฟังได้นาน5 - 10 นาที การอ่านหนังสือจะช่วยฝึกให้เด็กมีสมาธิได้ดี บางครั้งอาจจะเป็นสิ่งน่าเบื่อสำ หรับพ่อแม่ที่ต้องเล่านิทานเรื่องเดิมซํ้าๆ เพราะเด็กมักจะชอบฟังนิทานเรื่องเดิมๆ ซํ้าแล้วซํ้าเล่าจนเดาได้ว่าคำต่อไปจะเป็นอะไร เมื่อเราเล่านิทานซํ้าๆ ก็ควรให้เด็กช่วยเล่าด้วย

ฝึกลูกให้เป็นจิตรกรและนักกีฬา



เด็กที่เดินเป็นเร็วไม่ได้หมายความว่าเด็กคนนั้นจะเป็นนักกีฬาที่ดีแต่นักกีฬาที่มีชื่อเสียงก้องโลกส่วนใหญ่เริ่มฝึกทักษะมาแต่เล็กแต่น้อยอย่างเช่น ไทเกอร์ วูด นักกอล์ฟผู้ยิ่งใหญ่ลูกครึ่งไทย-อเมริกัน เริ่มจับไม้กอล์ฟ หวดไม้กอล์ฟ ตั้งแต่อายุ 10 เดือน เรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าอายุน้อยแค่ไหนที่จะเริ่มฝึกทักษะความสามารถต่างๆ ได้

แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับกันว่า ถ้าอายุเกิน 12 ปีไปแล้วโอกาสที่ลูกจะมีทักษะด้านต่างๆจนเป็นผู้มีชื่อเสียง เป็นผู้เชี่ยวชาญคงเป็นไปได้ยาก เพราะทักษะในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กกล้ามเนื้อมัดใหญ่ต้องอาศัยการทำ งานของสมอง โดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองและการสร้างไขมันหุ้มรอบเส้นใยสมองจะต้องอาศัยการขยับหรือเคลื่อนไหวซํ้าๆ การทำ ซํ้าๆ จะทำ ให้เครือข่ายเส้นใยสมองอยู่มั่นคงขึ้น ทำ ให้เกิดทักษะ สรุปได้ว่าสมองของเด็กวัย 2 - 11 ปี จะเป็นวัยที่จะฝึกให้มีความเชี่ยวชาญต่างๆ ได้ แต่หลังจากอายุ 11 - 12 ปีแล้วก็ยากที่จะฝึกให้ชำ นาญได้ แต่สิ่งสำ คัญที่สุดคือเด็กจะต้องมีความชอบและมีความสุขที่จะทำ สิ่งนั้น

ยกตัวอย่างเช่นในกรณีของ เยา เช็ง มา ( Yeou-Cheng Ma) ซึ่งเริ่มฝึกไวโอลินเมื่ออายุ 2 ขวบครึ่ง โดยพ่อของเธอเป็นคนฝึกสอน เธอชนะเลิศไวโอลินสำ หรับเด็กวัยรุ่น น้องชายของเธอคือ โยโย(Yoyo) ก็เรียนเชลโลตั้งแต่อายุ 4 ขวบครึ่ง แต่ว่า เยา เช็ง มา หันหลังให้กับการเล่นไวโอลินเมื่ออายุ15 ปี เพราะไม่สามารถจะเป็นนักโซโลไวโอลินได้ เธอจึงเลิกเป็นนักดนตรี หันเป็นกุมารแพทย์แทนเธอไม่ได้เกลียดดนตรี เธอได้ตั้งวงดนตรีออร์เคสตร้าสำ หรับเด็กขึ้น เธอได้ให้ความเห็นว่าพ่อแม่ไม่ควรกดดันลูกมากนักในเรื่องของการฝึกทักษะหรือพรสวรรค์ด้านนี้ หน้าที่ของเด็กคือเล่น เด็กจะต้องมีเวลาเล่นสนุกสนาน ถ้าหากถูกกดดันมากเกินไป เด็กก็จะไม่มีความสุขที่จะฝึกทักษะนั้นๆ

สรุป

นอกเหนือจากแนวทางในการพัฒนาลูกในช่วง 3 ปีแรกของชีวิต และการส่งเสริมพัฒนาการลูกตามวัยแล้ว พ่อแม่ยังควรรู้จักแนวทางในการเลี้ยงดูลูกสำ หรับโลกยุคใหม่ที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมากมาย เพื่อพัฒนาลูกให้มีความสามารถรับมือกับสิ่งแวดล้อมนั้นได้

ในโลกสมัยใหม่นั้นการเลี้ยงดูลูกให้เป็นคนฉลาดเป็นคนเก่งอย่างเดียวก็ยังไม่เพียงพอ ลูกจะต้องมีคุณสมบัติด้านอื่นๆ ด้วย ต้องมีทักษะชีวิต รู้จักคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข่าวสาร รู้จักแก้ปัญหามีความรับผิดชอบ เป็นคนมองโลกในแง่ดี สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี และที่สำ คัญจะต้องมีจริยธรรม หรืออาจกล่าวได้ว่าพ่อแม่ยุคใหม่จะต้องเลี้ยงลูกให้เป็นทั้งคนเก่ง คนดี มีความสุข ลูกจึงประสบความสำ เร็จในชีวิต

แนวทางการเลี้ยงลูกยุคใหม่ที่หยิบยกมาเป็นแนวทางให้พ่อแม่ ที่กล่าวถึงกันมาก คือ การเลี้ยงลูกให้มี อีคิว หรือมีความสามารถในการพัฒนาทางอารมณ์ นอกจากนี้ยังมีเทคนิควิธีที่จะเลี้ยงดูลูกให้ประสบความสำ เร็จในชีวิต อย่างเช่น เลี้ยงลูกให้มีทัศนคติที่ดีต่อตัวเอง เลี้ยงลูกให้เป็นตัวของตัวเอง การฝึกลูกให้มีระเบียบวินัย การส่งเสริมลูกให้เป็นคนดี มีจริยธรรม ซื่อสัตย์ และรู้จักรับผิดชอบ

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นข้อมูลความรู้ที่จะช่วยให้พ่อแม่และคนในครอบครัวได้นำ ไปพัฒนาลูกหลานให้เติบโตเป็นคนที่ประสบความสำ เร็จในชีวิต และเป็นคนที่มีคุณภาพของสังคม สามารถสร้างสรรค์สังคมนี้ให้น่าอยู่และเจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

ขอบคุณบทความดีๆจาก จากรายงานการวิจัย เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร" โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รศ.พ.ญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์

โพสต์โดย W. Bond

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น