วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การดูแลสุขภาพและสุขอนามัยในเด็ก (ภาค 5)


5. การสร้างความผูกพัน ภูมิคุ้มกันทางจิตใจ

ระยะตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ถึงอายุ 5 ปี เป็นช่วงเวลาสำ.คัญที่สุด ของการสร้างรากฐาน ชีวิตจิตใจของมนุษย์ นอกจากร่างกายและสมองจะเจริญเติบโตสูงสุด ในช่วงนี้ เด็กยังมีความรู้สึก รับรู้สัมผัสทั้งรูป รส กลิ่น เสียง กายสัมผัส และยังเลียนแบบอย่างตั้งแต่แรกเกิด เด็กเล็กๆ เรียนรู้จากประสบการณ์ การเลี้ยงดู และภาวะแวดล้อมได้เร็ว และฝังลึกในจิตใจ (เสื้อผ้าเด็ก)

การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่หรือผู้ปกครอง ก่อให้เกิดจุดเริ่มต้นของความผูกพัน ซึ่งผู้ปกครองสามารถสร้างความรักความผูกพันผ่านทางการให้อาหาร การสัมผัสโอบกอด การสื่อสารพูดคุย การมองและการพูดคุยเล่านิทาน เล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกันซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะช่วยสร้างสายสัมพันธ์ให้แก่เด็ก ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์
และพัฒนาทักษะทางสังคม

หากการเลี้ยงดูเด็กวัยนี้ ผู้ปกครองให้ความรักเอาใจใส่ ใกล้ชิด อบรมเลี้ยงดู โดยเข้าใจดูแลอย่างใกล้ชิดให้มีความสมดุลกันทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา และสังคมแล้ว เด็กก็จะเติบโตอย่างแข็งแรงใฝ่รู้และใฝ่ดี พร้อมทืั้จะพัฒนาตนเองเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต ให้เป็นคนเก่ง คนดี อยู่อย่างมีความสุขและไม่ลืมที่จะเผื่อแผ่ความช่วยเหลือให้กับผู้อื่นในสังคมด้วย

ผู้ปกครองควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก ซึ่งจำเป็นต้องให้เวลาและเอาใจใส่อย่างสมํ่าเสมอ เพื่อสร้างความผูกพันระหว่างกัน ความมั่นคงทางใจ ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันทางจิตใจจะมีความสำคัญต่อชีวิตของเด็กมาก

6. การระวังอุบัติเหตุและสารพิษ

การที่สมองเด็กได้รับความกระทบกระเทือนแรงๆ หรือได้รับการกระแทกบ่อยๆ จากอุบัติเหตุ จากการเล่นหรือจากการถูกจับเขย่า จะมีผลต่อสมอง อาจทำให้สมองช้ากระทบ
ต่อความจำและทักษะการเคลื่อนไหวซึ่งขึ้นอยู่กัยส่วนของสมองที่ได้รับการกระทบกระแทกเนื่องจากเนื้อสมองที่ละเอียดและซับซ้อนเป็นส่วนที่เปราะบางเป็นพิเศษ

ในเรื่องของสารพิษ สมองเด็กจะมีความเสี่ยงต่อสารพิษที่ละลายในนํ้า เช่น สารปรอท สารตะกั่ว เพราะร่างกายของเด็กยังพัฒนาแผ่นกรองพิเศษที่จะป้องกันสมองจากสิ่งเหล่านี้ไม่สมบูรณ์ จึงเป็นอันตรายเพราะมีผลทำให้สมองถูกทำลายได้ถ้าสมองถูกทำลายประสิทธิภาพในการเรียนรู้จะลดลงตามไปด้วย

เรียบเรียงโดย W. Bond

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น